ปั้นหุ่นยนต์รับสังคมสูงอายุ-ลดนำเข้ากว่า 2 แสนล้าน


เพิ่มเพื่อน    

 

26 ก.ค. 2562 นายสุรพล ชามาตย์ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สมาพันธ์หุ่นยนต์นานาชาติคาดการณ์ว่าความต้องการใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรมของโลกจะขยายตัวอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 15% ต่อปี และจะมีการใช้หุ่นยนต์มากกว่า 5 แสนตัวในปี 2563 ขณะที่ประเทศไทยยังมีระดับการใช้หุ่นยนต์ไม่ถึง 10% ถือว่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลกเมื่อเทียบกับประเทศสำคัญ ในภาวะที่ประชากรไทยกำลังจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในปี 2564 โดยประชากรในกลุ่มอายุมากกว่า 60 ปี คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 20% ของประชากรไทยทั้งหมด

นอกจากนี้ อัตราแรงงานขั้นต่ำมีแนวโน้มสูงขึ้น ทำให้มีแนวโน้มการขาดแคลนแรงงานในอนาคต ดังนั้นการปรับเปลี่ยนมาใช้ระบบอัตโนมัติเป็นปัจจัยที่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องพิจารณาเพื่อให้เกิดความคุ้มค่าและสามารถช่วยลดต้นทุนแรงงานระยะยาว ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้อย่างก้าวกระโดด โดยกระทรวงได้คัดเลือกผู้ประกอบการต้นแบบดีเด่น เพื่อยกระดับเทคโนโลยีและพัฒนาต้นแบบต่อยอดการผลิตเชิงพาณิชย์

ทั้งนี้มีผู้ประกอบการได้รับคัดเลือกต้นแบบดีเด่น 8 ต้นแบบ จาก 85 ต้นแบบ แบ่งเป็นด้านนวัตกรรม 3 ต้นแบบ ได้แก่ บริษัท อาตาปี จำกัด, พีทีดับบลิว เทคโนโลยี, ทรัพย์ไพศาลรีไซเคิล ด้านการขยายผลเชิงพาณิชย์ 3 ต้นแบบ ได้แก่ เจ็นเชิฟ, มหาธานีอุตสาหกรรม, ฟิโก้ โรโบติก และด้านการนำไปใช้ประโยชน์ 2 ต้นแบบ ได้แก่ ไดมอน ไดเมนชั่น, มารีน ไบโอ รีซอสเซส และการพัฒนาส่งเสริมกิจการผลิตเครื่องจักร อุปกรณ์และชิ้นส่วนหุ่นยนต์สำหรับผู้ประกอบการใหม่ดีเด่น 6 กิจการ จาก 35 กิจการได้แก่ โคแทงค์, เอ็นเนอร์จี้ เรสปอนส์, พี.เค.แอนด์ เค.เอส. คอนซัลแทนท์, ซิมเพล็กซิตี้(ประเทศไทย), สืบพงษ์ มาตรเลี่ยม และ ออโตเมชั่น เครซี่

นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่าเบื้องต้นปี 2563 ตั้งเป้าหมายส่งเสริมกิจการผลิตเครื่องจักร อุปกรณ์และชิ้นส่วนหุ่นยนต์สำหรับผู้ประกอบการรายใหม่ 300 ราย จากปัจจุบันมี 571 ราย 85 ต้นแบบ และปี 2565 มีผู้ประกอบการรายใหม่ 1,400 ราย 2,500 ต้นแบบ คาดผลตอบแทนจากการลงทุนไม่ต่ำกว่า 30% ภายใน 6 ปี ช่วยลดมูลค่าการนำเข้าเครื่องจักร อุปกรณ์และชิ้นส่วนหุ่นยนต์ได้ 200,000 ล้านบาท

อย่างไรก็ตามทำให้เกิดการใช้งานหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในการพัฒนาอุตสาหกรรมอยู่ที่ 75 ตัวต่อจำนวนแรงงานภาคอุตสาหกรรม 10,000 คนให้ได้โดยเร็วที่สุด ตั้งเป้ากระตุ้นอัตราการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมให้เติบโตได้ 8% ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติที่กระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกับเครือข่ายความร่วมมือของหน่วยงานวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติชั้นนำของประเทศ 15 เครือข่ายดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล

ทั้งนี้ จากข้อมูลขององค์กรวิชาชีพเพื่อส่งเสริมเสริมสร้างปกป้องอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ทั่วโลก(IFR) พบว่าประเทศไทยยังมีการใช้งานหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในการพัฒนาอุตสาหกรรมอยู่ที่ประมาณ 50-60 ตัวต่อจำนวนแรงงานภาคอุตสาหกรรม 10,000 คน ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลกที่มีอัตราการใช้หุ่นยนต์อยู่ที่ 74 ตัวต่อจำนวนแรงงานภาคอุตสาหกรรม 10,000 คน ไทยจึงมีความต้องการที่จะใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพื่อสนับสนุนภาคการผลิตทั้งภาคการเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"