กนอ.บี้กัลฟ์-PTT เร่งสรุปส่วนแบ่งรายได้


เพิ่มเพื่อน    

30 ก.ค. 2562 น.ส.สมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.)เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดเฟส 3 (ช่วงที่1) ว่า   กนอ.ได้กำหนดให้เอกชนผู้ชนะการประมูลคือ บริษัทกลุ่มกิจการร่วมค้ากัลฟ์ และพีทีที แทงค์ ซึ่งเป็นการร่วมกลุ่มกันระหว่าง บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มินอล สรุปความชัดเจนเกี่ยวกับการแบ่งปันผลประโยชน์เพิ่มเติมจากการได้รับใบอนุญาตการจัดหาและค้าส่งก๊าซให้กับกนอ.ภายใน1สัปดาห์ เนื่องจากภายในเดือนสิงหาคม 2562นี้ ทางกนอ.จะเข้าที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่พิเศษภาคตะวันออก(กพอ.) ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน

"ขณะนี้กนอ.ได้นำข้อคิดเห็นจากหน่วยงานต่างๆมาปรับปรุงร่างสัญญาร่วมทุนเสนอเข้าที่ประชุกพอ.)ภายในต้นส.ค.จากนั้นจะนำเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)เห็นชอบปลายเดือนส.ค.เพื่อลงนามสัญญาร่วมทุนกับกลุ่มกิจการร่วมค้ากัลฟ์และพีทีทีแทงค์ภายในก.ย.นี้"น.ส.สมจิณณ์ 

น.ส.สมจิณณ์ กล่าวว่า กนอ.ได้ทำร่างสัญญาร่วมลงทุนและส่งให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจเสร็จเรียบร้อยแล้วโดยระหว่างที่จะนำเสนอกพอ.อีกครั้งนั้นได้ให้หน่วยงานต่างๆมาให้ข้อคิดเห็นซึ่งก็มีหน่วยงาน 4-5 หน่วยงานให้ข้อคิดเห็นกลับมาเราก็นำมาปรับปรุงเรียบร้อยแล้วเพื่อเสนอกพอ.อีกครั้ง

ทั้งนี้หน่วยงานที่ให้ข้อคิดเห็นหลักๆได้แก่ สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงคมนาคม เป็นต้น โดยเฉพาะกระทรวงคมนาคมนั้นได้ให้ข้อเสนอแนะว่าหากบริษัทร่วมทุนได้รับใบอนุญาตจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติเหลว(แอลเอ็นจี)หรือ Shipper จะมีข้อเสนอผลตอบแทนกลับมาให้กับรัฐอย่างไรบ้าง ซึ่งได้นำข้อคิดเห็นดังกล่าวมาปรับปรุงและยืนยันว่ารัฐจะไม่เสียเปรียบแต่อย่างใด

ส่วนกรณีที่คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน(กบง.)มีมติให้กระทรวงพลังงานเสนอคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.) พิจารณาออกใบอนุญาตประกอบกิจการก๊าซธรรมชาติในส่วนที่เกี่ยวข้อง (ใบอนุญาตเก็บรักษาและแปรสภาพก๊าซธรรมชาติจากของเหลวเป็นก๊าซ และใบอนุญาตจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติ) ให้กับภาคเอกชนที่ได้รับสัมปทานโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 (ช่วงที่ 1) จากกนอ.นั้นเป็นเรื่องที่รัฐต้องสนับสนุนเพื่อให้โครงการเดินหน้าและเอกชนเองที่มาดำเนินการก็มีความเสี่ยงเช่นกันไม่ได้เป็นการเอื้อประโยชน์แต่อย่างใด ส่วนกรณีที่กลุ่มปฏิรูปพลังงานเพื่อความยั่งยืน (ERS) ระบุว่าโครงการนี้ซึ่งมีการเพิ่มคลังรับก๊าซธรรมชาติเหลว(LNG)ไม่สอดรับกับแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศ(PDP2018)นั้นกนอ.ทำตามนโยบายรัฐบาลเป็นสำคัญ

สำหรับโครงการท่าเรือมาบตาเฟส 3 (ช่วงที่1)เป็น 1 ใน 5 โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน(Project List)ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) มีเงินลงทุนทั้งสิ้น 55,440 ล้านบาทแบ่งเป็นภาครัฐ โดยกนอ.ได้เปิดให้เอกชนเข้ามาบริหารัดการท่าเรือในระยะ 30 ปีเพื่อรองรับการขนถ่ายLNG จากปัจจุบันที่ 12,900 ล้านบาท เอกชน 42,500 ล้านบาท โดยการพัฒนาเนื่องจากปัจจุบันการใช้งานเต็มศักยภาพคาดว่าจะรองรับการขนถ่ายก๊าซธรรมชาติและสินค้าเหลวได้เพิ่มอีก 14 ล้านตันต่อปีในอีก 30 ปีข้างหน้า โดยการก่อสร้างระยะแรกจะเป็นการถมทะเล 1,000 ไร่ซึ่งจะใช้เวลา 3 ปีและการสร้างคลังและท่าเรือใช้เวลาอีก 3.9 ปีคาดเปิดให้บริการได้ปี 2568
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"