"ณัฏฐพล"ประชุมบอร์ดกพฐ.นัดแรก จี้ต้องทบทวนปรับปรุงหลักสูตร ให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก


เพิ่มเพื่อน    


9  ส.ค.62- นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ว่า เป็นครั้งแรกที่ได้มีโอกาสร่วมประชุมกับ กพฐ. ซึ่งตนได้มอบนโยบาย เกี่ยวกับแผนการปฏิบัติงานของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)  แผนยุทธศาสตร์แห่งชาติที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล และแผนงานนี่เกี่ยวกับการศึกษาปฐมวัย รวมถึงการจัดสรรงบประมาณในแต่ละภาคส่วนที่ต้องใช้ความระมัดระวัง มีประสิทธิภาพและคุ้มค่า ซึ่งทาง กพฐ. เห็นพ้องในแนวทางดังกล่าว ทั้งนี้ ยังได้เน้นย้ำของการดำเนินงานที่ต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพและคุณภาพของการศึกษา เรื่องของหลักสูตร  โดยอยากให้คณะทำงานที่มีความเชี่ยวชาญทบทวนหลักสูตรที่ใช้อยู่ในขณะนี้ว่าควรจะปรับปรุง  พัฒนาต่อยอดอย่างไรให้เท่าทันกับโลกที่เปลี่ยนไป  โดยจะนำข้อมูลทางวิชาการที่ได้มาผสมผสานกับข้อมูลของทีมงานศธ. และทีมงานจากภาคเอกชน เพื่อร่วมกันทำให้หลักสูตรเหมาะสมกับโลกที่เปลี่ยนแปลง แต่คงไม่เร่งดำเนินการเพื่อให้ทันในปีการศึกษา 2563 เพราะทุกเรื่องต้องมีความมั่นใจว่าปรับแล้วเกิดการพัฒนาจริงๆ อีกทั้งการเสนออะไรที่เป็นเรื่องการพัฒนาบุคลากรของประเทศทั้งหมดควรจะมีการศึกษา พิจารณาข้อมูลให้รอบด้าน

“ผมได้กำชับทุกฝ่ายว่าการดำเนินทุกอย่างต้องมีเป้าหมาย มีกรอบระยะเวลาที่กำหนด และมีตัวชี้วัดที่ชัดเจน เช่น การพัฒนาภาษาอังกฤษครูในระบบที่มีอยู่  ต้องสามารถทำให้ครูพูดภาษาอังกฤษในการเรียนการสอนได้อย่างเข้มแข็ง ใช้งานในอนาคตได้ โดยตั้งเป้ากรอบระยะเวลา 3 ปี  ซึ่งถ้าใครทำสำเร็จก่อน 3 ปีถือเป็นเรื่องที่ดี  แต่ควรทำให้ได้ภายใน 3 ปี ทั้งนี้ สำหรับเป้าหมายระยะใกล้ที่อยากเห็น คือ การวางโครงสร้าง เพื่อการใช้งบประมาณปี 2563  เช่น การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน ซึ่งขณะนี้ได้มีการวางโครงสร้างบางส่วนในการนำเทคโนโลยีมาใช้แล้ว และ ถ้าประสบความสำเร็จ เราก็จะใช้ต่อเนื่องใน ปี 2563 และ ปี 2564 ต่อไป”รมว.ศธ.กล่าว

นายณัฏฐพล กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันได้ขอให้แต่ละพื้นที่มีจัดทำข้อมูล จัดทำแผน เพราะหากมีข้อมูล มีการวางแผนก็จะช่วยให้การตัดสินใจเรื่องต่างๆ ได้มากขึ้น ซึ่งข้อมูลดังกล่าว ต้องเป็นบูรณาการทั้งระบบ ซึ่งในระยะเวลา 6 เดือน เชื่อว่าจะมีข้อมูลชัดเจน ส่วนการแก้ไขปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กนั้น  ต้องไปดูข้อมูลที่มีอยู่แล้วว่าจะทำอย่างไรให้มีคุณภาพมากขึ้น ส่วนผลลัพธ์จะออกมาเป็นอย่างไรในแต่ละพื้นที่ก็แล้วแต่การนำเสนอ ซึ่งแต่ละพื้นที่ต้องไม่เหมือนกัน  และต้องมีความยืดหยุ่นในการทำงาน ไม่อยากให้มีกฎระเบียบมาหยุดการพัฒนา หรือโอกาสในการพัฒนา แต่ก็ต้องคำนึงถึงกฎหมาย กรอบระเบียบที่มีอยู่ด้วย เพียงบางเรื่องให้มีความยืดหยุ่นมากกว่าเดิม


ด้านนายเอกชัย กี่สุขพันธ์ ประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.) กล่าวนายณัฏฐพล ได้มอบนโยบายให้การพัฒนาการศึกษาทั้งระบบ เน้นเรื่องคุณภาพเด็กและพัฒนาครู  โดยเฉพาะเรื่องของการพัฒนาครู ขอให้ทาง กพฐ.หาขั้นตอน หรือถ้านโยบายเดิม อย่าง คูปองครูที่มีปัญหาอยู่ส่วนที่ดีก็อาจจะดำเนินการต่อ แต่ส่วนที่ไม่ดีก็ต้องปรับปรุง หรืออาจจะหารูปแบบอื่นมาใช้ในการพัฒนาครู เปิดโอกาสให้ครูได้เรียนรู้ พัฒนาตนเองด้วยแพลตฟอร์มที่เป็นเทคโนโลยีด้านดิจิตอลมากขึ้น และถ้าครูได้รับการพัฒนาดีขึ้นถึงระดับหนึ่งต้องมีโอกาสได้เลื่อนวิทยฐานะแต่ต้องตามความสามารถที่เพิ่มขึ้น นอกจากนั้น ขณะนี้ ทาง รมว.ศธ.ได้ประสานไปทางนายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) ในการผลิตครูให้มีทักษะความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ เนื่องจากว่าการพัฒนาครูจะมาอบรมเพิ่มเติมตอนทำงานแล้วอาจไม่เพียงพอ ต้องเริ่มตั้งแต่เรียนจบมหาวิทยาลัย เพราะหากครูไม่มีทักษะภาษาอังกฤษ จะไม่มีความรู้ทันต่อเหตุการณ์ และจะล้าสมัยในการสอน ซึ่งหลังจากนี้ สพฐ.จะดูแลในเรื่องการพัฒนาครู และการส่งเสริมความก้าวหน้าให้แก่ครูสพฐ. ตามนโยบายของรมว.ศธ.
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"