สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระผู้ทรงมอบ'สรรพสุข-สรรพศิลป์-สรรพศาสตร์-สรรพชีวิต'


เพิ่มเพื่อน    

 

สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงฟื้นฟูศิลปะการแสดงโขนกลับมามีชีวิตอีกครั้ง 

 

   ด้วยน้ำพระราชหฤทัยและพระสติปัญญาของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชิชีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงเปี่ยมล้นด้วยความห่วงใยทุกข์สุขของราษฎรสู่ความยั่งยืนของแผ่นดิน ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจมาตลอดระยะเวลา70 ปีเคียงคู่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตรและพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ช่วยเหลือพสกนิกรให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น 

     พระราชกรณียกิจใหญ่น้อยไม่ว่าจะเป็นโครงการพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาพื้นฐานสุขภาพอนามัยส่งเสริมให้ราษฎรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นมีรายได้และพึ่งพาตัวเองได้การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมรวมถึงทรัพยากรธรรมชาติภายใต้หลักการ"ช่วยประชาชนอย่างไรให้สามารถยืนหยัดด้วยตัวเองในระยะยาว" นับเป็นการช่วยเหลืออย่างแท้จริง

 

พระบรมฉายาลักษณ์จากนิทรรศการ”พระเมตตาปกหล้าพระกรุณาปกสยาม”  ที่สยามพารากอน

 

      เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวงเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 87 พรรษา12 สิงหาคม 2562 ซึ่งนับเป็น“วันแม่แห่งชาติ” ของประเทศไทย ศูนย์การค้าสยามพารากอน จัดงาน “สยามพารากอนเซเลเบรทยัวร์วัน-อิน-อะ-มิลเลียนเลิฟมัม” ขึ้นตลอดเดือนสิงหาคม 2562 เชิญชวนพสกนิกรชาวไทยร่วมน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและถวายพระพรชัยมงคลผ่านนิทรรศการ“พระเมตตาปกหล้าพระกรุณาปกสยาม” อันเกิดจากความร่วมมือระหว่างสยามพารากอนกับมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ โดยนำเสนอเรื่องราวและพระบรมฉายาลักษณ์ถ่ายทอดพระราชกรณียกิจต่างๆ ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวงทรงงานเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนมาร้อยเรียงให้พสกนิกรได้ร่วมซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณผ่านสรรพสิ่งต่างๆ นิทรรศการจะจัดถึงวันที่ 14 สิงหาคมนี้ แบ่งเรื่องราวต่างๆ ดังนี้ 

     “สรรพสุข” ถ่ายทอดพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชิชีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวงทรงแก้ไขปัญหาพื้นฐานของราษฎรดูแลสุขภาพอนามัยพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ก่อตั้ง“หน่วยแพทย์พระราชทาน” เพื่อตรวจรักษาราษฎรยากจนเหล่านี้หากเป็นโรคร้ายแรงหรือป่วยหนักจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯรับไว้เป็นคนไข้ในพระบรมราชานุเคราะห์เพื่อส่งไปรักษาที่โรงพยาบาลในท้องถิ่นทรงจำได้ว่ามีคนไข้รายใดบ้างที่ป่วยหนักอาการไม่ค่อยดีและจะทรงสอบถามถึงอาการคืบหน้าอยู่เสมอโดยทรงบรรเทาความทุกข์ร้อนสร้าง“สรรพสุข” ให้แก่ประชาชนมาเป็นระยะเวลายาวนาน

 

ชื่นชมพระบรมฉายาลักษณ์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง

 

     “สรรพศิลป์” จากสายพระเนตรยาวไกลของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชิชีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวงทรงฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนควบคู่ไปด้วยงานศิลปวัฒนธรรมหลากหลายแขนงที่ครั้งหนึ่งเคยเสื่อมความนิยมลงให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง  โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตั้ง“มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษในพระบรมราชินูปถัมภ์” และทรงรับเป็นองค์ประธานมูลนิธิภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น“มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ” โดยมีพระราชประสงค์ให้ส่งเสริมงานศิลปาชีพเป็นอาชีพเสริมแก่ราษฎรเพื่อเพิ่มรายได้ให้เพียงพอแก่การดำรงชีพ เช่น ทรงส่งเสริมให้ทอผ้าไหมที่ภาคอีสานและสานย่านลิเภาที่ภาคใต้ รวมทั้งก่อตั้งโรงฝึกศิลปาชีพสวนจิตรลดาและศูนย์ศิลปาชีพทั่วประเทศ ทรงปรารถนาให้ราษฎรได้มีโอกาสแสดงศักยภาพและได้รับการพัฒนาหรือมีส่วนร่วมในการพัฒนาพระองค์ทรงส่งเสริมศิลปาชีพโดยให้ประชาชนเป็นสมาชิก ขณะเดียวกันยังทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้ง“พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ” ภายใต้มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ เพื่อเป็นศูนย์รวบรวมความรู้เกี่ยวกับผ้าไทยบ่งบอกถึงศิลปวัฒนธรรมและความเจริญมั่งคั่งของชาติไทย

 

พะซู มือแล ช่างปักผ้าแบบโบราณมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ สาธิตการปักเครื่องแต่งกายโขน

 

      อีกหนึ่ง“สรรพศิลป์” ที่สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงทรงตระหนักถึงความสำคัญคือ“ศิลปะการแสดงโขน” ไม่เพียงแค่เป็นการฟื้นฟูศิลปะการแสดงชั้นสูงให้กลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้ง ยังเป็นการฟื้นชีวิตให้แก่งานหัตถศิลป์หลายแขนงที่เกี่ยวข้องกับโขนให้คงอยู่สืบไปเช่น“พัสตราภรณ์” หรือ“เครื่องแต่งกายโขน” งานการปักลายแบบโบราณด้วยมือที่ต้องอาศัยความประณีตและใช้เทคนิคชั้นสูงทั้งการปักเย็บถักทอด้วยมือที่มีความซับซ้อนและละเอียดละออ รวมทั้งการเลือกใช้ดิ้นโปร่งทองเลื่อมปีกแมลงทับและวัสดุอื่นๆมาสร้างสรรค์เป็นเครื่องแต่งกายที่วิจิตรงดงาม 

      ส่วนงาน“ศิราภรณ์โขน” หรือ“เครื่องประดับศีรษะโขน” นับเป็นงานศิลปะที่ช่างฝีมือโขนสร้างสรรค์ขึ้นอย่างวิจิตรบรรจงโดยปัจจุบันศูนย์ศิลปาชีพฯรื้อฟื้นการทำกระดาษข่อยตามแบบภูมิปัญญาโบราณเพื่อนำกลับมาใช้ในการผลิตหัวโขนในปัจจุบันขณะที่“ถนิมพิมพาภรณ์” หรือ“เครื่องประดับตกแต่ง” เป็นการรวมช่างฝีมือ3 แขนงคืองานโลหะงานฝังอัญมณีและงานกะไหล่ทองเพื่อสร้างสรรค์เป็นเครื่องประดับตกแต่งในการแสดงโขนซึ่งมีทั้งเข็มขัดปั้นเหน่งหรือหัวเข็มขัดกำไลข้อเท้าตาบหลังปะวะหล่ำและแหวนนอนเป็นต้น  นอกจากนี้ยังมี“ศิลปกรรมฉาก” หนึ่งในองค์ประกอบสำคัญสร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับผู้ชมทุกครั้งซึ่งทั้งหมดนี้ยังเป็นการช่วยสร้างรายได้ให้กับช่างฝีมือแขนงต่างๆไปพร้อมกัน

 

ครั้งแรกจัดแสดงศรีษะทศกัณฐ์หน้าทองสุดประณีต

 

     “สรรพศาสตร์” สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงสนพระราชหฤทัยศึกษาหาความรู้วิชาการด้านต่างๆ มาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ทั้งวรรณคดีไทย ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์และวัฒนธรรมประเพณี และได้ถ่ายทอดความสนพระราชหฤทัยนี้มายังพระราชโอรสพระราชธิดาทุกพระองค์ ตลอดจนส่งเสริมการเรียนรู้ใน“สรรพศาสตร์” แขนงต่างๆ แก่ประชาชนโดยทรงสร้างโรงเรียนให้แก่เด็กด้อยโอกาสในถิ่นทุรกันดารพระราชทานทุนการศึกษาแก่นักเรียนยากจนและเด็กพิการทรงสร้างศาลารวมใจให้เป็นห้องสมุดอเนกประสงค์ของชุมชนเพื่อใช้ศึกษาหาความรู้ในด้านต่างๆ

      และสุดท้าย“สรรพชีวิต” สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชิชีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวงทรงอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไว้ให้ลูกหลานไทยโดยมีแนวพระราชดำริว่า คนป่าและสัตว์ป่าสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างอาศัยเกื้อกูลกันซึ่งกันและกัน คนสามารถใช้ประโยชน์จากผืนป่ามาสร้างอาชีพและรายได้อย่างพอเพียงในลักษณะของ“บ้านเล็กในป่าใหญ่” คนที่เคยตัดไม้ทำลายป่าก็กลับใจมาช่วยปกป้องและพิทักษ์รักษาป่า รวมทั้งขยายพันธุ์สัตว์ป่าให้คงอยู่คู่ประเทศไทยต่อไป ช่วยให้เกิดความภาคภูมิใจแก่ตัวเองและชุมชนในฐานะ“ราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า” และเกิดความรักความสามัคคีในชุมชนทรงใช้หลักการ“ปลูกป่าในใจคน” ของในหลวง รัชกาลที่ 9 คือ การปลุกจิตสำนึกในการรักผืนป่าให้คนเสียก่อน ขณะเดียวกันทรงจัดหาแหล่งน้ำให้ราษฎรในท้องถิ่นห่างไกลทุรกันดารโดยจัดตั้ง“โครงการป่ารักน้ำ” เป็นต้น

 

สืบสานงานช่างพัสตราภรณ์ สร้างงาน สร้างอาชีพ

 

     นางพะซู มือแล อายุ30 ปี ช่างปักผ้าแบบโบราณมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ เล่าว่า ทำงานอยู่ในมูลนิธินานกว่า14 ปีโดยจุดเริ่มต้นคือพ่อแม่มีโอกาสได้เฝ้าฯรับเสด็จสมเด็จพระราชินีในรัชกาลที่9 เมื่อครั้งเสด็จฯไปทรงงานที่อำเภออมก๋อยจังหวัดเชียงใหม่แล้วพระองค์ท่านทรงรับเข้ามาเรียนปักผ้าก็อยู่ตั้งแต่วันนั้นเรื่อยมาจนถึงวันนี้เปลี่ยนให้ชีวิตดีขึ้นมีงานทำประจำถ้าไม่ได้เข้ามาปักผ้าชีวิตก็ต้องทำไร่ทำนาอยู่บนดอยเรียกว่าชีวิตดีขึ้นในทุกๆ ด้านด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน

      เช่นเดียวกับนางจันทร์ที เร่งพิมาย อายุ 53 ปี ชาวจังหวัดบึงกาฬ กล่าวว่า เพราะความยากจนพ่อแม่ประกอบอาชีพเกษตกรมีลูกหลายคนตอนนั้นเรียนจบชั้นป.4 อายุ14 ปีไม่ได้เรียนหนังสือต่อจึงอยู่บ้านช่วยพ่อแม่เลี้ยงน้องจนกระทั่งพ่อกับแม่มีโอกาสได้เฝ้าฯรับเสด็จสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงเมื่อครั้งที่เสด็จฯไปทรงเยี่ยมราษฎรเมื่อพระองค์ท่านได้รับทราบถึงความลำบากยากแค้นจึงทรงรับเข้ามาเรียนหนังสือและทำงานช่วยเหลือครอบครัวโดยทรงให้เลือกว่าสนใจทางด้านไหนซึ่งตัวเองสนใจงานทอผ้าจึงมาฝึกอาชีพด้านทอผ้าไหมตีนจกและผ้าไหมแพรวาที่ตำหนักภูพานราชนิเวศแล้วค่อยขยับมาที่พระตำหนักสวนจิตรลดาก่อนจะไปเป็นครูสอนด้านการทอผ้าที่ศูนย์ศิลปาชีพบางไทรจ.พระนครศรีอยุธยาจนถึงวันนี้กว่า30 ปีแล้วที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระองค์ทำให้ชีวิตดีขึ้นในทุกๆด้านรู้สึกดีใจและภูมิใจมากที่ได้มาอยู่ในจุดนี้อยากบอกว่าสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงทรงเป็นต้นแบบเรื่องการให้โอกาสและสอนให้เรารู้จักการสู้ชีวิตไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค

 

ด้วยพระเมตตาผลิตภัณฑ์ผ้าไทยมีคุณภาพและนำรายได้เข้าประเทศ

 

   ทุกข์ร้อนบรรเทา สร้างชีวิตดีๆ ใต้ร่มเงามูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ นางจำรูญ จุ้ยลำเพ็ญ อายุ 54 ปี ชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ครูสอนแผนกจักสานไม้ไผ่ลายขิดปี 2523 เล่าว่า มูลนิธิฯ เปิดแผนกใหม่ 4 แผนกได้แก่ย่านลิเภาจักสานทอผ้าและทอจก  ตอนนั้นอายุ15 ปีตัวเองไม่ได้เรียนหนังสือแล้วจึงช่วยครอบครัวทำนา พี่สาวกับพี่เขยจึงพามาสมัครที่แผนกจักสาน โดยเริ่มจากเรียนฟรีแล้วยังมีค่าเบี้ยเลี้ยงวันละ 40 บาท ทำมาเรื่อยจนได้รับการบรรจุให้เป็นครูมีหน้าที่สอนนักเรียนรุ่นใหม่ๆ ถึงทุกวันนี้ 

     “ จากการได้ทำงานที่นี่ทำให้ตัวเองสามารถส่งลูกสองคนให้เรียนจนจบปริญญาตรีมีชีวิตมั่นคง นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้“ นางจำรูญ

กล่าวจากหัวใจ 

 

พาสินี ลิ่มอติบูลย์ ผู้บริหารสยามพารากอน และคุณหญิงอรุณวรรณ ศรีสมทรัพย์ มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพชวนอุดหนุนผ้าไทย 

 

   ในมหามงคลวโรกาสคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษาวันที่12 สิงหาคม 2562 เพื่อ“แม่แห่งชาติ” สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงชวนคนไทยร่วมเฉลิมพระเกียรติได้ที่สยามพารากอนโดยในวันที่12 สิงหาคมมาแสดงพลังจงรักภักดีแต่งกายด้วยสีฟ้าและร่วมในพิธีถวายเครื่องราชสักการะพิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคลซึ่งจะมีขึ้นที่พาร์คพารากอนสยามพารากอนอย่างพร้อมเพรียงเวลา19.19 น. และขื่นชมนิทรรศการด้วยน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ

 

 

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"