แบบเรียนเยาวชน "มาลี มาลัย" เฉลิมพระเกียรติพระบรมราชชนนีพันปีหลวง 


เพิ่มเพื่อน    

คิวอาร์โค้ดวิดีทัศน์วิธีทำงา นประดิษฐ์ดอกไม้


    งานประดิษฐ์ดอกไม้สดของไทย เป็นภูมิปัญญาสืบทอดหลายร้อยปี ความประณีต งดงาม ในการนำดอกไม้ไทยชนิดต่างๆ มาเย็บ ปัก ทัก ร้อย กรอง ฯลฯ ให้เป็นมาลัย  เครื่องหอม   พานพุ่ม เครื่องแขวน การจัดดอกไม้รูปแบบต่างๆ  ที่หลากหลาย และนำไปใช้ในงานพิธีสำคัญทางศาสนา  ทั้งงานมงคล งานพิธีกรรม หรือนำไปใช้ตกแต่งสถานที่ ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้ทรงอนุรักษ์และส่งเสริมงานประดิษฐ์ดอกไม้สดของไทย และงานศิลปะและหัตถศิลป์ไทยทุกแขนงให้คงอยู่สืบไป

    เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง 12 สิงหาคม 2562  สกุล อินทกุล ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมดอกไม้ หรือในอีกบทบาทที่ทุกคนรู้จักคือนักออกแบบดอกไม้ระดับโลก ได้เปิดตัวหนังสือ “มาลี มาลัย แบบเรียนงานประดิษฐ์ดอกไม้ไทยสำหรับเยาวชน” เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ ทางวัฒนธรรม โดยเนื้อหาของหนังสือประกอบไปด้วยบทเรียนเบื้องต้นของงานประดิษฐ์ดอกไม้ไทย  พร้อมคิวอาร์โค้ด วิธีการทำทั้ง 12 บท ทั้งนี้หนังสือเล่มนี้ได้จัดพิมพ์เพื่อแจกจ่ายไปยังโรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาทั่วประเทศเท่านั้น จำนวน 30,000 เล่มโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดตามสแกนคิวอาร์โค้ดได้ทาง Facebook : The Museum of Floral Culture

สกุล อินทกุล 


    สกุล ในฐานะบรรณาธิการ หนังสือมาลี มาลัย เล่าว่า ตั้งแต่เด็กเป็นคนที่ชื่นชอบการปลูกต้นไม้และขยายพันธุ์ต้นไม้ จนได้เริ่มทำงานเกี่ยวการจัดดอกไม้ต่างๆ ซึ่งงานประดิษฐ์ดอกไม้นับว่าเป็นงานฝีมือ เป็นวัฒนธรรมที่มีมาตั้งแต่ในอดีตเกิดการเรียนรู้จากการส่งทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น ที่ใช้วิธีมองแล้วทำ ยังไม่การบันทึกเป็นตำรา แต่เป็นงานที่มีความละเอียด ปราณีตอย่างมาก อย่างบ้านใครมีงานบุญต้องจัดดอกไม้ ในละแวกบ้านก็จะมาช่วยกันทำเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง แต่เมื่อสังคมเปลี่ยนไปก็ต้องมีการจัดทำขึ้นเป็นหนังสือ เป็นเนื้อหาเพื่อถ่ายทอดและเผยแพร่สู่เยาวชนและบุคคลทั่วไปได้ง่าย 

    “แรงบันดาลใจสำคัญในการทำหนังสือ มาลี มาลัย และงานอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมดอกไม้อื่นๆ  คือ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ครั้งหนึ่งได้ถวายงานพระองค์ตั้งแต่ปี 2543 มากว่า 10 ปี  ทำให้ผมได้เรียนรู้งานประดิษฐ์ดอกไม้ไทยต่างๆ อย่างลึกซึ้ง และยังทรงเคยตรัสกับผมว่า ดอกไม้งานเอเปคสวยมาก คนชมกันมาก ขอบใจ ซึ่งเป็นประโยคที่ผมประทับใจและรู้สึกภาคภูมิใจมาจนถึงทุกวันนี้ หลังจากนั้นจึงทำให้เกิดความคิดที่จะรังสรรค์งานดอกไม้ไทยที่มีความร่วมสมัยเข้ากับยุคสมัยใหม่มากขึ้น จึงได้ทำหนังสือ ดอกไม้ไทย และสร้างพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมดอกไม้นี้ขึ้นมา เพื่อเป็นการส่งเสริมและเผยแพร่มรดกอันล้ำค่าของไทย” สกุล เล่า

สกุล และ 4 เยาวชนผู้ร่วมทำหนังสือ มาลี มาลัย

    บรรณาธิการ ยังบอกอีกว่า ตั้งใจที่จะทำหนังสือเล่มนี้ให้เป็นแบบเรียนของเยาวชนทั้งหมด 12 บท ที่ได้คัดเทคนิคเบื้องต้นในการทำงานดอกไม้ ไม้ว่าจะเป็นการเย็บ ปัก ทัก ร้อย ได้เริ่มจากการทำแบบง่าย ซึ่งก็ได้ลูกศิษย์เยาวชนที่มาเรียนกับตนเป็นผู้เขียน ได้แก่ เด็กหญิงพิณมุกดา ตงศิริ, เด็กหญิงในใจ เม็ทซกะ, เด็กหญิงกิตติมา หงส์อนุกรักษ์ และเด็กชายระวิ อนันตประยูร ซึ่งเป็นการถ่ายทอดถึงคนในวัยเดียวกันด้วย และตนก็เป็นผู้นำเนื้อหามาเกลา และเรียบเรียงอีกครั้งให้สมบูรณ์ 

บรรยากาศวันเปิดตัวหนังสือ

    “สำหรับหนังสือมาลี มาลัย จะเป็นการบอกเล่าถึงประวัติความเป็นมาของการประดิษฐ์ดอกไม้ประเภทต่างๆ ว่านำไปใช้ในประเพณีไหน หรือเหมาะกับงานประเภทใด ชนิดดอกไม้ที่ใช้ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ  อย่างมาลัยตุ้ม ซึ่งเป็นการจัดประเภทหนึ่งของมาลัย ดอกไม้ที่นำมาใช้ก็มีหลายชนิด เช่น ดอกมะลิ ดอกพุด ดอกกุหลาบ หรือขันหมากเบ็ง ที่พบเห็นได้บ่อยในแถบภาคอีสาน นิยมใช้เป็นเครื่องบูชาในทางพุทธศาสนา หรือการทำกระทง ที่จะทำมาลอยในวันเพ็ญเดือนสิบสอง ซึ่งเป็นประเพณีของไทย ที่จะสอนให้เด็กได้ใช้กลีบดอกบัวมาพับเป็นกลีบกระทง และอื่นๆ ส่วนวิธีการทำเพื่อให้เด็กได้เข้าใจง่ายมากขึ้นกว่าการเขียนเป็นตัวอักษร จึงมีการจัดทำเป็นวิดีทัศน์ คาดหวังสิ่งเหล่านี้จะได้ถูกเผยแพร่ไปทั่วโลก ให้ได้เห็นถึงวัฒนธรรมดอกไม้ของไทย และในเล่มต่อไปก็พัฒนาเป็นหนังสือ มาลี มาลัย ใบตอง” บรรณาธิการ กล่าว

4 เยาวชน ผู้เขียนเนื้อหาในหนังสือ มาลี มาลัย

    ด้าน เด็กชายระวิ อนันตประยูร หรือ น้องลายคราม นักเรียนชั้น ม.1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน   ลูกศิษย์เยาวชนของครูสกุล หนึ่งในผู้เขียนหนังสือมาลี มาลัย   เล่าว่า ได้เริ่มเข้ามาเรียนการทำดอกไม้ตั้งแต่เรียนอยู่ ป.2  ในช่วงที่มีการจัดงานลอยกระทง และทางโรงเรียนจัดงาน จึงอยากที่จะเรียนรู้ในการทำกระทง ซึ่งในตอนยังเด็กก็รู้จักดอกไม้บางชนิด พอได้เริ่มฝึกทำอย่างจริงจัง ก็รู้สึกสนุก ได้รู้จักการทำดอกไม้แบบต่างๆ ที่ไม่ใช่แค่การร้อยมาลัย แต่ยังมีการจัดพาน งานดอกไม้ตกแต่ง ได้ช่วยครูในการทำหนังสือในส่วนของวานเครื่องแขวนเล็ก ซึ่งเป็นงานที่ง่าย สามารถทำประดับตกแต่งได้ เพื่อนหรือน้องๆก็สามารถเรียนรู้ได้เพราะเป็นการทำแบบง่ายไม่ยาก และยังช่วยทำให้เรามีสมาธิ ได้สืบสานวัฒนธรรมของไทยนี้ให้คงอยู่ต่อไปด้วย 
    นอกจากนี้ ในวันที่ 10 สิงหาคม 2562 ที่๋ผ่านมา ทางพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมดอกไม้  ยังได้จัดงาน “บุษบัญชลี เทศกาลกล้วยไม้ถวายพระพร” โดยเป็นงานแสดงกล้วยไม้ถวายพระพร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และในโอกาสเปิดดำเนินการครบรอบ 7 ปี  ภายในงานจะมีกิจกรรม อาทิ จัดอบรม และสาธิตบทเรียนเบื้องต้น ของงานประดิษฐ์ดอกไม้สดไทย12 บท, การสัมมนาให้ความรู้การทำปุ๋ยอินทีรัย์ที่ไม่ใช้สารเคมี โดยอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ, การประชันบทกลอนดอกไม้และแรงบันดาลใจ, การออกร้านสินค้าศิลปะหัตถกรรม และกิจกรรม Night at Museum : Jazz in The Garden 
    ผู้ที่สนใจ  ติดตาม ความเคลื่อนไหว ของ พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมดอกไม้  ดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ : http://www.floralmuseum.com/ หรือ www.sakulintakul.com  และ facebook : The Museum of Floral Culture

 

 พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมดอกไม้

ดอกไม้ที่จัดตกแต่งภายในงานห้อยระย้าสวยงาม

 

งานดอกไม้ที่นำมาตกแต่งบ้านเรือนในพิพิธภัณฑ์ฯ

 

ภายในพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมดอกไม้


 เยาวชนสนใจหนังสือแบบเรียน มาลี มาลัย




 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"