ปัญหาซับซ้อนของฮ่องกง:ว่าด้วย 'ไกว๋โหลว' กับ 'ต่ายหลก'?


เพิ่มเพื่อน    

    วิกฤติฮ่องกงวันนี้มีการวิเคราะห์สาเหตุจากหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องร่างกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดน, สิทธิในการเลือกงตั้งผู้แทนและผู้บริหารสูงสุดของเกาะแห่งนี้
    หรือแม้แต่การแก่งแย่งอิทธิพลระหว่างจีนกับสหรัฐฯ
    แต่หากจะมองให้ลึก ยังมีประเด็นเรื่องความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยมากๆ กับคนจนที่มีชีวิตที่ลำเค็ญเหลือหลาย
    อีกทั้งคนรุ่นใหม่ของฮ่องกงก็กำลังเผชิญกับความยากแค้นในการหารายได้ให้พอกับค่าครองชีพที่แพงขึ้นอย่างน่ากลัว
    คนอยู่ฮ่องกงบ่นเสียงดังๆ เสมอว่าที่นี่ค่าเช่าที่พักอาศัยแพงที่สุดในโลก แต่ค่าแรงกลับต่ำอย่างยิ่ง
    มีบทวิเคราะห์หลายชิ้นที่ชี้ให้เห็นรากเหง้าทางเศรษฐกิจของฮ่องกง ประเด็นหนึ่งคือสภาพห้องพักอาศัยที่คับแคบไม่ต่างไปจาก "รูหนู" สวนทางกับค่าเช่าห้องพักที่แพงลิ่ว เผลอๆ จะแพงกว่าค่าเช่าในนิวยอร์ก, ลอนดอนหรือโตเกียวด้วยซ้ำ ทั้งๆ ที่มีขนาดแค่ครึ่งหนึ่ง คน 1 ใน 5 ในฮ่องกง 
    สภาพหาเช้ากินค่ำของคนฮ่องกงจำนวนไม่น้อยก็เป็นปัญหาใหญ่
    ค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ 4.82 ดอลลาร์สหรัฐฯ (114 บาท) ต่อชั่วโมง
    สื่อฮ่องกงเองก็วิเคราะห์ว่า หนุ่มสาวที่นั่นมีความแค้นเคืองกับค่าครองชีพที่สูงขึ้นอย่างมาก
    หนุ่มสาวเรียนจบมหาวิทยาลัยแล้วทำงานระยะหนึ่ง ยังกลัวว่าจะสามารถหาซื้อที่พักอาศัยเป็นของตัวเองได้เมื่อไหร่
    เป็นที่รู้กันว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ราคาอสังหาริมทรัพย์ในฮ่องกงพุ่งขึ้น 242% 
    ชัดเจนว่าราคาสูงระดับนี้ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่อาจหาซื้อบ้านเป็นของตัวเองได้
    เพราะเงินเดือนเฉลี่ยอยู่ที่ 19,000 ดอลลาร์ฮ่องกง หรือประมาณ 75,000 บาท ส่วนค่าเช่าห้องพักห้องเดียวในเมืองปาเข้าไปเฉลี่ยเดือนละ 16,551 ดอลลาร์ฮ่องกง หรือ 66,000 บาทแล้ว
    แล้วจะอยู่กันได้อย่างไร
    นั่นเป็นที่มาของการวิเคราะห์ว่า ระบบเศรษฐกิจกลไกตลาดเสรีสุดขั้วอย่างฮ่องกงย่อมจะสร้างปัญหาความเหลื่อมล้ำได้อย่างสุดๆ 
    และเมื่อมีประเด็นเรื่องเสรีภาพ ประชาธิปไตย และความกลัวอิทธิพลของพรรคคอมมิวนิสต์จีนเข้ามาร่วมด้วยแล้ว ก็ยิ่งกระพือความเกลียดชังและความเร่าร้อนที่จะต้องต่อต้านระบบปัจจุบันในฮ่องกงอย่างปฏิเสธไม่ได้
    จึงมีเสียงเรียกร้องให้มีการปฏิรูปทางสังคม การเมืองและเศรษฐกิจครั้งใหญ่
    เพราะหนุ่มสาวฮ่องกงวันนี้ส่วนใหญ่เกิดหลังอังกฤษคืนเกาะให้แก่จีนเมื่อปี 1997 หรือเมื่อ 22 ปีก่อน จึงไม่มีความรู้สึกผูกพันกับแผ่นดินใหญ่
    คนรุ่นใหม่ฮ่องกงส่วนใหญ่เติบโตมาพร้อมกับค่านิยมตะวันตก และมีความรู้สึกต่อต้านการควบคุมและสั่งการจากผู้บริหาร
    ส่วนคนรุ่นเก่าฮ่องกงบางส่วนอาจจะมีกระแสความรักชาติจีน ไม่รังเกียจคนจากแผ่นดินใหญ่หรือ  "ต่ายหลก" ต่อต้านฝรั่งหรือ "ไกว๋โหลว" จึงเห็นการประท้วงเป็นเรื่องน่ารำคาญและเผลอๆ อาจจะกล่าวหาว่าคนรุ่นใหม่เหล่านี้ "ทรยศต่อชาติ" ของตัวเองด้วยซ้ำไป
    ปัญหาของฮ่องกงค่อนข้างสลับซับซ้อน มีทั้งมิติการเมือง สังคมและเศรษฐกิจ ที่จำเป็นต้องมีการแก้ไขปฏิรูปกันอย่างจริงจัง แต่รัฐบาลฮ่องกงมาจากการคัดสรรของปักกิ่ง จึงไม่มีอำนาจที่จะแก้ไขปรับปรุงอะไรมากไปกว่าการที่ต้องคอยปรับตัวให้เข้ากับนโยบายหลักของสี จิ้นผิง
    ความคิดเห็นที่แตกแยกระหว่างคนแต่ละรุ่นหรือ generation ก็มีผลทำให้เกิดความย้อนแย้งในสังคมฮ่องกงเช่นกัน
    ด้านหนึ่งคนฮ่องกงต้องการคงไว้ซึ่งระบบเสรีนิยมของตน แต่ทุนนิยมสุดขั้วของเกาะแห่งนี้ก็เป็นสาเหตุแห่งความไม่พอใจของคนจำนวนไม่น้อย
    ขณะเดียวกันการวิ่งเข้าหาระบบแบบจีนแผ่นดินใหญ่ ที่ไม่มีเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมืองอย่างที่ฮ่องกงมีมาตลอดก็ไม่เป็นที่ประสงค์ของคนฮ่องกงส่วนใหญ่เช่นกัน
    ปัญหาของฮ่องกงจึงแก้ไขยากเย็น มีเงื่อนปมที่ซับซ้อนกว่าที่คนส่วนใหญ่เข้าใจนั่นเอง.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"