วันที่มนุษย์ต้องทำงาน และมีชีวิตอยู่ร่วมกับ AI


เพิ่มเพื่อน    

              ไหนๆ ผมเขียนเรื่องมนุษย์กับ AI มาหลายวันแล้ว ขอนำเอาความเห็นและแนวทางวิเคราะห์ของผู้เชี่ยวชาญอีกบางท่านมาเล่าให้ฟังเพื่อความเข้าใจให้รอบด้าน

                ในเวทีเสวนานักคิดดิจิทัล Digital Thinkers Forum เมื่อเร็วๆ นี้ ดร.พณชิต กิตติปัญญางาม ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการและบุคลากรแห่งอนาคต (DPU X) นำเสนอผลการศึกษาการพัฒนาการหุ่นยนต์อัจฉริยะ จาก ค.ศ.2020 ถึง 2060 เพื่อให้เห็นฉากทัศน์ (Scenario) ของโลก ตอบโจทย์แรงงานในอนาคตของไทย สุดท้ายอาจทำให้เรารู้ การทำงานของแรงงานในอนาคตจะต้องมีทักษะ (Skill) อะไรบ้าง

                ผมชอบที่อาจารย์พณชิตแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ช่วงเวลา และทั้ง 3 ช่วงนี้ล้วนเป็นเรื่องอนาคตทั้งนั้น ไม่มองอดีต ไม่มองปัจจุบัน

                ช่วงที่ 1 การพัฒนา AI (Evolving with AI) ค.ศ.2020-2029

                ช่วงที่ 2 ทำงานร่วมกับ AI (Work with AI) ค.ศ.2030-2059

                และช่วงที่ 3 การอยู่ร่วมกับ AI (Living with AI) ค.ศ.2050-2560 ช่วงนี้ความสามารถของ AI มากกว่ามนุษย์เป็นพันเท่า

                ทีมวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาผลงานที่เกี่ยวข้องกับ Future Workforce ผ่านช่วงเวลา (timeline) โดยนำแนวคิดที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมาวางบนเฟรมเวลา

                จากนั้นก็พิจารณาทักษะของมนุษย์ที่จำเป็นสำหรับการทำงานในแต่ละช่วงเวลา

                หลักเกณฑ์นำมาใช้ในการพิจารณาคือ กำลังความสามารถประมวลผลคอมพิวเตอร์ของ AI ซึ่ง Conner คาดการณ์ว่า ในปี 2030 AI จะมีพลังในการคำนวณ (computational power) เท่ากับความสามารถของสมองมนุษย์ (Conner, 2008)

                ผลการศึกษาของคณะวิจัยนี้ระบุว่า

                ช่วงที่ 1 Evolving with AI ค.ศ.2020-2029

                เป็นช่วงที่ความสามารถของ AI ยังไม่เก่งเท่ามนุษย์ มนุษย์พัฒนาไปพร้อมๆ กับ AI

                เมื่อ AI ได้รับการพัฒนาจนมีความสามารถเท่ามนุษย์ AI จะเปรียบเสมือนมนุษย์ที่ยังไม่เก่งมากนัก ยังไม่มีความสามารถด้านการคิดสร้างสรรค์ (Creativity)

                ในช่วงนี้การให้ AI ทำงานแทนคน จะสามารถทดแทนแรงงานบางอย่างที่ไม่ต้องใช้ทักษะความคิดสร้างสรรค์ ทำให้งานความคิดสร้างสรรค์ยังคงต้องใช้แรงงานคนทำอยู่

                ในช่วง Evolving with AI ทักษะที่จำเป็นสำหรับแรงงานมนุษย์ ได้แก่ การออกแบบแนวคิด หรือความคิด (design thinking หรือ design mindset) การปรับเปลี่ยนแนวคิดให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เทคโนโลยีเป็นแบบโมบาย การทำงานร่วมกันเป็นทีม ในลักษณะเหมือน virtual โดยทีมงานสามารถทำงานที่ไหนก็ได้ 

                น่าสนใจว่าสิ่งที่ AI ทำไม่ได้ช่วงเวลานี้ คือการใช้ความสามารถหรือทักษะของมนุษย์ในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึก (sense making) ซึ่งมนุษย์มีการนำความรู้สึกมาใช้ประกอบการตัดสินใจอยู่ด้วย 

                แรงงานในอนาคตควรต้องมีคือ การเขียน Code เพื่อให้เข้าใจตรรกะ (logic) การทำงานร่วมกับ AI

                และควรมีทักษะการใช้สื่อใหม่ (new media) และมีความเข้าใจเรื่องการบริหารจัดการสารสนเทศ

                ภาพรวมในช่วงนี้ เป็นช่วงเวลาการเตรียมความพร้อมให้คนมีทักษะสำหรับการบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ให้พร้อมก่อนเข้าสู่ช่วงเวลาที่สอง

                ช่วงที่ 2 Work with AI ค.ศ.2030-2059 

                เป็นช่วงที่มนุษย์ทำงานร่วมกับ AI แรงงานต้องได้รับการพัฒนาชุดทักษะ (Skill Set) เพิ่มเติมยิ่งขึ้นจากช่วงแรก

                ตัวอย่างเช่น แรงงานมนุษย์มีการปรับแนวคิดการทำงานแบบใหม่อย่างเต็มรูปแบบ มีทักษะการเรียนรู้และสามารถปรับเปลี่ยนตามการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทุกคนจึงมีความจำเป็นต้องเพิ่มทักษะ หรือเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ (reskills or update skills) ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง

                ช่วงเวลานี้ถึงแม้ว่า คนทำงานร่วมกับ AI เต็มรูปแบบ การสื่อสารระหว่างมนุษย์ด้วยกันลดน้อยลง ทักษะทางสังคม และอารมณ์ของคน จึงมีความสำคัญที่จะต้องพัฒนาเช่นกัน

                ทักษะที่สำคัญอย่างยิ่งคือความสามารถด้านการประกอบการ (entrepreneurial) หรือเป็นทักษะหลักของการทำธุรกิจ

                ถึงแม้ว่า ช่วงเวลานี้ AI ทำงานแทนคนเป็นส่วนใหญ่ แต่มนุษย์ยังคงทำงานไปด้วยกันกับ AI โดยการทำงานของมนุษย์เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ (analytical skill) การสร้างมูลค่าหรือรูปแบบ (value creation) ให้กับสินค้า หรือบริการจากคนที่มีประสบการณ์มากขึ้น

                สำหรับการทำงานในออฟฟิศ สถานที่ทำงานเป็นออฟฟิศขนาดใหญ่ถูกลดบทบาทลง เปลี่ยนไปใช้รูปแบบออฟฟิศร่วมกัน (co-working space) การพัฒนาเทคโนโลยีและข้อมูลบนพื้นฐานของการสร้างสรรค์จากความรู้และการลงมือปฏิบัติ

                ในส่วนของสุขภาพของมนุษย์มีลักษณะเป็นชีวภาพสุขภาพ (bio-wellness) การฝังชิพในร่างกายที่ตรวจวัดสิ่งต่างๆ เกิดขึ้น ไม่ได้เป็นแนวสวมหรือใส่ (wearable) การใช้เทคโนโลยีเป็นแบบ การวิเคราะห์โซเชียลบนมือถือและคลาวด์ (social mobile analytics and cloud : SMAC)

                เป็นแนวทางวิเคราะห์ที่ผมสนใจเป็นพิเศษ เพราะเป็นการวาดภาพอนาคตที่ไม่มีใครรู้ว่าจะเป็นอย่างไร แต่อย่างนี้ 3 ภาพนี้เป็นการตั้งสมมติฐานสำหรับมนุษย์นำมาพิจารณาวางแนวทางของวิถีชีวิตอนาคตตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

                (พรุ่งนี้ : ช่วงที่ 3 เมื่อมนุษย์ต้องอยู่เคียงคู่กับ AI) 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"