พิพิธภัณฑ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ยิวถอดรางวัล 'อองซาน ซูจี'


เพิ่มเพื่อน    

โดนถอดอีกหนึ่ง พิพิธภัณฑ์อนุสรณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวแห่งสหรัฐประกาศเพิกถอนรางวัลเชิดชูเกียรติด้านสิทธิมนุษยชนที่เคยมอบให้แก่นางอองซาน ซูจี เมื่อปี 6 ปีก่อน ตำหนิสตรีนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยพม่ารายนี้่ว่าแทบไม่ทำอะไรเลยเพื่อยุติการล้างเผ่าพันธุ์ชาวมุสลิมโรฮิงญาในพม่า

นางอองซาน ซูจี กล่าวสุนทรพจน์ในพิธีเนื่องในวันสตรีสากล ที่กรุงเนปยีดอ เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2561 แฟ้มภาพ AFP

    เอเอฟพีรายงานเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม 2561 ว่าพิพิธภัณฑ์อนุสรณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวแห่งสหรัฐมอบรางวัลเอลี วีเซล แก่นางอองซาน ซูจี เมื่อปี 2555 เนื่องจากความเป็นผู้นำที่กล้าหาญและการเสียสละอย่างยิ่งใหญ่ของเธอในการขัดขืนทรราชย์ และการขับเคลื่อนเสรีภาพและศักดิ์ศรีของชาวพม่า แต่ล่าสุด พิพิธภัณฑ์ได้แจ้งต่อนางซูจีว่าต้องการเพิกถอนรางวัลที่เคยมอบให้นาง เพราะนางวางเฉยต่อหลักฐานที่แสดงให้เห็นชัดเจนว่ากองทัพพม่ากำลังฆ่าล้างเผ่าพันธุ์พลเรือนจากชุมชนชาวโรฮิงญาในรัฐยะไข่

    ในจดหมายที่พิพิธภัณฑ์ส่งถึงนางซูจี มนตรีแห่งรัฐซึ่งเป็นผู้นำรัฐบาลพม่าโดยพฤตินัย กล่าวไว้ว่า ในช่วงยามที่การณ์เริ่มปรากฏให้เห็นว่ากองทัพพม่าโจมตีโรฮิงญาช่วงปี 2559-2560 พิพิธภัณฑ์หวังในตอนนั้นว่า นางซูจี ในฐานะที่เป็นบุคคลที่พวกตนและผู้คนอีกจำนวนมากยกย่องในความทุ่มเทเพื่อศักดิ์ศรีความมนุษย์และสิทธิมนุษยชนสากล จะทำบางสิ่งบางอย่างเพื่อประณามและหยุดยั้งการรณรงค์อันโหดร้ายป่าเถื่อนของกองทัพ และแสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับประชากรชาวโรฮิงญาที่ตกเป็นเป้าหมาย

    ทว่า พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (เอ็นแอลดี) ของนางซูจี กลับปฏิเสธจะให้ความร่วมมือกับคณะกรรมการสอบสวนขององค์การสหประชาชาติ และยังส่งเสริมคารมโวหารต่อต้านโรฮิงญา เอ็นแอลดียังขัดขวางผู้สื่อข่าวที่พยายามรายงานข่าวการสังหารหมู่และการขับไล่ชาวโรฮิงญาไปยังบังกลาเทศอีกด้วย

    พิพิธภัณฑ์กล่าวต่อว่า การก่ออาชญากรรมต่อชาวโรฮิงญาโดยกองทัพพม่า และการกระทำรุนแรงอันโหดร้ายป่าเถื่อนในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา เรียกร้องให้นางซูจีใช้อำนาจทางศีลธรรมแก้ไขสถานการณ์

    นางซูจีได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพเมื่อปี 2534 จากการอุทิศตัวต่อสู้กับเผด็จการทหารพม่าอย่างยาวนาน ส่วนรางวัลที่นางซูจีได้รับจากพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ตั้งชื่อตามเอลี วีเซล ชาวยิวผู้รอดชีวิตจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โดยนาซีเยอรมัน ซึ่งตัวเขาก็ได้รับรางวัลโนเบลสันติภาพ เมื่อปี 2529 จากการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน

    เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว พิพิธภัณฑ์นี้ร่วมกับฟอร์ติฟายไรต์ องค์กรจับตาสิทธิมนุษยชนจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เผยแพร่รายงานฉบับหนึ่งที่ได้จากปากคำชาวโรฮิงญา กล่าวว่ามีการโจมตีพลเรือนชาวโรฮิงญาอย่างเป็นระบบและกว้างขวาง

    นางซูจีตกเป็นเป้าวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักที่ปฏิเสธจะต่อสู้เพื่อชาวโรฮิงญา องค์กรหลายแห่งที่เคยมอบรางวัลเชิดชูเกียรติให้นาง ต่างเพิกถอนรางวัลกลับคืน เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา บิล ริชาร์ดสัน นักการทูตชาวอเมริกัน ก็ประกาศลาออกจากคณะกรรมการที่นางตั้งขึ้นเพื่อหาทางออกให้แก่วิกฤติในรัฐยะไข่ เขาอ้างเหตุผลว่า นางซูจี "ขาดซึ่งความเป็นผู้นำทางศีลธรรม"

    แถลงการณ์ที่รัฐบาลพม่าเผยแพร่เมื่อวันพุธ กล่าวว่า สถานทูตพม่าในกรุงวอชิงตันได้แสดงความเสียใจ ที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้โดนผู้ที่มองไม่เห็นสถานการณ์ที่แท้จริง ใช้ประโยชน์และชักนำให้หลงผิด การตัดสินใจดังกล่าวไม่มีผลต่อการสนับสนุนที่ชาวพม่ามีต่อนางซูจี แต่จะยิ่งเพิ่มความพยายามของพม่าในการหาทางออกที่ยั่งยืน

    ที่นครเจนีวาวันเดียวกันนั้น เซอิด ราอัด อัลฮุสเซน ข้าหลวงสิทธิมนุษยชนยูเอ็น เรียกร้องให้ตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมาเพื่อเตรียมการยื่นฟ้องคดีอาญาต่อพม่า.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"