สสส.ขับเคลื่อนมาตรฐาน“นักวิ่ง+งานวิ่ง”


เพิ่มเพื่อน    

“การวิ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมทางกายที่คนนิยมอันดับต้นๆ ของโลก โดยประเทศไทยมีนักวิ่งกว่า 17 ล้านคน มีการจัดวิ่งมาราธอนเกือบ 3 พันงานต่อปี แต่เป็นเพียงการเพิ่มขึ้นในเชิงปริมาณเท่านั้น ดังนั้นจะทำอย่างไรให้มีคุณภาพตามมาด้วย โดยเอาสุขภาพนำ วิ่งแล้วไม่เกิดโรค ไม่มีความเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ และต้องสนุกสนาน” ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวในวงสัมมนา “GOOD GUY RUN DNA SEMINAR 2019” วิ่งดีวิ่งดังปังทุกงานวิ่ง

             

เป้าหมายงานครั้งนี้เพื่อร่วมกันสร้างมาตรฐานสำหรับนักวิ่งไทยและผู้จัดการแข่งขันวิ่ง ให้ก้าวสู่มาตรฐานวิ่งระดับชาติและนานาชาติ ซึ่งรณรงค์ให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมทั้งผู้จัดให้ความสำคัญต่อการจัดงานวิ่งที่มีมาตรฐาน รวมถึงเผยแพร่พันธกิจที่จะเป็นการสร้างมาตรฐานที่ดีแก่นักวิ่งและสังคมนักวิ่งให้มีมาตรฐานไปพร้อมกัน

             

เวทีนี้ ดร.นพ.ไพโรจน์บอกว่า สิ่งสำคัญที่กำหนดไว้เป็น DNA ของนักวิ่งมี 6 ประเด็น คือ1.เอกสิทธิ์ไม่ขาดตอน คือเวลาสมัครวิ่งจะได้รับ Bib เป็นเอกสิทธิ์ของเรา จะขายให้ใครก็ได้ แต่จริงๆ มีปัญหามากเพราะ Bib จะระบุตัวตนบัตรประชาชน ถ้าเกิดอะไรขึ้นแล้วทำข้อมูลผิดคนจะมีผลกระทบมาก แน่นอนว่าไม่ผิดกฎหมาย ในแง่ของคุณธรรมจริยธรรมไม่ควรทำ 2.การตรงเวลา มาสตาร์ทตรงเวลา 3.ไม่แซง ไม่แทรก เพราะการวิ่งตัดหน้าทำให้เกิดอันตราย 4.วิ่งครบ ไม่โกงเวลา 5.มีน้ำใจ 6.จบแบบเท่ๆ การได้ถ่ายรูปสวยๆ สะท้อนถึงการมีวินัยในการฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอ ย้ำว่าทั้ง 6 ข้อเป็นสิ่งสำคัญที่จะเกิดประโยชน์ต่อตัวนักวิ่งเอง และสามารถขยายต่อถึงสังคมโดยรวม เพื่อนฝูง ครอบครัว โดยใช้งานวิ่ง good guy Run เป็นตัวเริ่มอยากให้มาลองสัมผัสประสบการณ์นี้ด้วยกัน

             

รัฐจิโรจน์ วณิชชากร บริษัท MICE & Communication, บางแสน21 กล่าวว่า ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงไทยเกิดปรากฏการณ์ Running Boom ซึ่งต่างมีมาตรฐานที่ดี แต่จำเป็นต้องมีมาตรฐานขั้นต่ำ เช่น ระบบการแพทย์ การดูแลความปลอดภัย ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญของการจัดงานวิ่ง สำหรับ DNA ของนักวิ่งทั้ง 6 ข้อ เห็นด้วยและควรช่วยกันรณรงค์ โดยเฉพาะเรื่อง Bib ถ้าข้อมูลไม่ตรงจะมีปัญหา เช่น คนที่ Bib ไม่ตรง พอได้รางวัลจะมีปัญหารับรางวัลไม่ได้ และกว่าจะตรวจสอบเสร็จคนที่ได้ลำดับถัดไปกลับบ้านไปแล้ว ซึ่งนั่นอาจเป็นรางวัลแรกในชีวิตของเขาก็ได้ และการขอเปลี่ยนข้อมูลใน Bib ไม่ใช่เรื่องง่าย ทำให้ระบบรวนไปหมด กรณีมีปัญหาสุขภาพต้องใช้ข้อมูลที่บรรจุใน Bib เมื่อคนที่เกิดปัญหาไม่ใช่ตัวจริง โทรหาญาติที่ระบุไว้ เพราะต้องการการตัดสินใจ ก็ปรากฏว่าไม่ใช่ การรักษาจึงทำไม่ได้

             

“การแพทย์เป็นเรื่องใหญ่ ยิ่งปีนี้มีนักวิ่งกว่าหมื่นคน ทีมแพทย์เครียดมาก เพราะไทยอากาศร้อน ระบบที่ทำต้องพร้อมทุกอย่าง ต้องตัดสินใจภายใต้ข้อมูลที่มี สิ่งที่เราทำได้คือ แจ้งนักวิ่งก่อนร่วมกิจกรรมให้ยอมรับกติกา ย้ำว่า ตั๋ววิ่งคล้ายกับตั๋วเครื่องบินเปลี่ยนได้ แต่ต้องแจ้งและมีค่าธรรมเนียม หรืออาจเป็นตั๋วที่ซื้อแล้วห้ามเปลี่ยน” เจ้าของออร์แกไนเซอร์จัดงานวิ่งกล่าว

             

บุญเพิ่ม อินทนปสาธน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มูฟเอเชีย จำกัด ออร์แกไนเซอร์มากประสบการณ์ กล่าวว่า ตอนนี้เกิดอุตสาหกรรมการวิ่งมากขึ้น แต่กลับไม่มีมาตรฐานในการวิ่งมากนัก หลังจากที่ สสส.ส่งเสริมเรื่องนี้มานาน รัฐบาลและเอกชนเริ่มเห็นความสำคัญมากขึ้น แต่ละหน่วยงานมีวัตถุประสงค์การจัดงานแตกต่างกัน เช่น วิ่งเพื่อสุขภาพ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว หรือเป็น Sport tourism เป็นต้น เมื่อบ่งบอกคาแรคเตอร์ของงานวิ่งได้จะสามารถกำหนดมาตรฐานการวิ่งที่เหมาะสมกับงาน ดังนั้น การเริ่มในวันนี้มีโอกาสสูงจะสามารถสร้างมาตรฐานการวิ่งได้

             

“หากทำได้จะมี 2 สิ่งเข้ามาเกี่ยวข้อง คือ ตัวนักวิ่ง ภาคีหน่วยงานต่างๆ เข้ามาช่วยเสริมความแข็งแรง และนักวิ่งไทยเริ่มมีจรรยาบรรณมากขึ้น ทำให้การทำงานในภาพรวมง่ายขึ้น มีเวลาดูแลกิจกรรมด้านอื่นๆ จริยธรรม จรรยาบรรณ เรื่องการซื้อขาย Bib เคยมีการลงโทษไม่ให้เข้าร่วม 3 ปี แต่สุดท้ายคนที่จะทำผิดก็ทำอยู่ดี” บุญเพิ่มกล่าว

             

ทานากะ มานาบุ อดีตผู้บริหารของสมาพันธ์กรีฑาประเทศญี่ปุ่น และเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งของ Tokyo Marathon กล่าวว่า งานโตเกียวมาราธอนจะมีนักวิ่งที่มีชื่อเสียง มีประสบการณ์สูง ด้วยความที่รู้ว่าตัวเองมีชื่อเสียงจึงพยายามสร้างสถิติใหม่ๆ ของตัวเอง และมีมาตรฐานเรื่องการวิ่งสูงอยู่แล้ว ดังนั้นนักวิ่งกลุ่มอื่นๆ ที่เข้าร่วมจะเรียนรู้มาตรฐานที่ดีและเก่งไปพร้อมๆ กันด้วย

             

คิมูระ ยาซึโตะ บริษัท R-bies ผู้ดำเนินการเรื่อง Race Technology and Registration, Participation and Database Management, Race management and operations กล่าวว่า การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการขับเคลื่อนการจัดกิจกรรมการวิ่งให้มีคุณภาพ โดยการเปิดเว็บไซต์เพื่อบันทึกข้อมูลรายการวิ่งข้อมูลนักวิ่ง เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความเห็นและประสบการณ์ในการวิ่งมาราธอนแต่ละสนาม ทั้งในแง่บวกแง่ลบ จากนั้นมีการประเมินและให้คะแนนนแต่ละกิจกรรม หากหน่วยงานใดที่จัดกิจกรรมแล้วได้รับคะแนนเยอะจะมีผู้ไว้ใจให้คนที่ตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งต่อไป

             

วิ่งดี วิ่งดัง ปังทุกงานวิ่ง และได้มาตรฐาน อาจใช้งานวิ่งส่งเสริมความดี "กู๊ดกายรัน ปีที่ 2 (Good Guy Run 2019)" เป็นจุดเริ่ม โดยจะจัดงานวันที่ 1 ธ.ค. ณ สะพานมหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์ การแข่งขันแบ่งเป็น 3 ระยะทาง ประกอบด้วย วิ่ง 13 กม., วิ่ง 5 กม. และ 2 กม. กิจกรรมเน้นส่งเสริมให้เกิดมาตรฐานทั้งการจัดงานและตัวนักวิ่งเอง ภายหลังเข้าเส้นชัยนักวิ่งจะได้ร่วมกิจกรรมการแปรอักษรเป็นสัญลักษณ์รูปมือร่วมกัน มีการบันทึกภาพมุมสูงเพื่อแชร์พลังความดีให้ทั่วประเทศและทั่วโลกได้รับรู้ สามารถติดตามรายละเอียดได้ทาง THAIJOGGING.ORG และทางเฟซบุ๊กแฟนเพจ GoodGuyRun.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"