"ณัฏฐพล” ลั่นต้องให้ยาแรง "อาชีวะ พลิกหน้ามือเป็นหลังมือ หลังคุยฑูตต่างชาติ ไม่มาลงทุนเพราะคุณภาพคนของไทยไม่ชัด 


เพิ่มเพื่อน    


25พ.ย.62-นายณัฎฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ "อนาคตการศึกษาไทย ปี 2020" ที่งาน ซีพีออลล์ กับยุทธศาสตร์การศึกษาไทย 2562 หรือ CP All Education 2020 ว่า ตลอดเวลาที่ทำงาน 3-4 เดือน ตนมองเห็นบริบทแห่งโอกาส ซึ่งไทยมีแสงสว่างเต็มไปหมด มีโอกาสมากในทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นพื้นฐานของประเทศ บุคลิกลักษณะของประชาชนในประเทศไทย หรือเด็กที่เรียนมาแล้วสามารถประสบความสำเร็จในวงอาชีพ เรามีความพร้อมทุกอย่าง แต่สิ่งที่ขาดและยังทำไม่เต็มที่ คือเรื่องการศึกษา ที่ผ่านมาทำมาดีพอสมควรระดับหนึ่ง แต่ยังต้องทำอีกมาก แนวทางการทำงาน การคิดของผู้บริหารสถาบันที่มีการเรียนการสอนทั้งทฤษฎีและปฎิบัติ เป็นทักษะที่ประเทศไทยต้องทำ เป็นแนวทางที่จะทำให้คนไทย เด็กไทยมีความกล้า มีความคิดสร้างสรรค์ มีความรู้ที่ทันสมัยในสิ่งที่จะเกิดขึ้น

นายณัฎฐพล กล่าวต่อว่า ประเทศไทยมีโอกาสแต่ยังไม่พร้อม หรือการศึกษาไม่พร้อมทันสมัยในโลกปัจจุบัน ซึ่งได้มีโอกาสพบฑูต นักลงทุนในหลายประเทศ เมื่อถามว่าเขาจะมาลงทุนในไทยหรือไม่ มักจะได้รับคำตอบว่าไม่มาลงทุนในไทย เพราะเห็นภาพไม่ชัด ไม่แน่ใจว่านโยบายเรื่องที่จะผลักดัน แรงงาน ทักษะที่เป็นทรัพยากรบุคคลดีพอหรือไม่ ดังนั้น เป็น เรื่องที่ศธ.ได้เห็น และจำเป็นต้องปรับ และการปรับของ ศธ. จะปรับอย่างรุนแรง ได้มีการฉีดยาแรงอาชีวะปรับจากหน้ามือเป็นหลังมือ ให้มีความยืดหยุ่น ทั้งเรื่องหลักสูตรและกฎหมาย กฎระเบียบต่างๆ เนื่องจากเป็นการศึกษาที่ตอบโจทย์การขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ และจะช่วยแก้ปัญหาที่เรากำลังจะมีอยู่หรือกำลังจะเกิดขึ้น สงครามการค้าต่างๆ ดังนั้นถ้าเรามีเรื่องทักษะแรงงานฝีมือตามความต้องการตลาด จะสามารถตอบโจทย์ด้านเศรษฐกิจได้ และการทำงานกับภาคธุรกิจจะทำให้เรารู้ถึงความต้องการแรงงานของตลาดที่แท้จริงได้ หรืองดดูงานต่างประเทศ ซึ่งไปดูมาแล้วแต่ไม่ได้ทำมาใช้ หรือนำมาใช้อย่างไม่เต็มที่ เอางบประมาณเหล่านั้นมาลงทุนด้านดิจิตอล ในปี 2563 โรงเรียนร้อยละ 95 ต้องมีอินเทอร์เน็ตใช้ เป็นต้น

"อนาคตการศึกษาไทยที่ต้องเร่งดำเนินการ คือ การพัฒนาครูให้สามารถสอนเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ ที่ตอนนี้หาไม่ได้หรือหาได้แต่ไม่พอ รวมถึงครูที่มีทักษะภาษาอังกฤษ ฉะนั้น หลังจากนี้ จะมีการพัฒนาครูให้มีความรู้ภาษาอังกฤษ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI ) และมีความรู้ในวิชาที่ตนเองสอน เพราะเมื่อครูเก่ง เด็กก็จะมีความสามารถ เพื่อเข้าสู่ระดับที่สูงขึ้น เป็นวงจรแห่งการเรียนรู้ เราจะตอบโจทย์โอกาสของประเทศไทยได้แน่นอน"รมว.ศธ. กล่าว

นายณัฏฐพล กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม การศึกษาอย่างเดียว ความรู้อย่างเดียว ไม่พอ วันนี้ ผู้บริหารสถานศึกษาต้องปลูกจิตสำนึกในเรื่องความรับผิดชอบต่อผู้อื่น ต่อสังคม ประวัติศาสตร์ของไทย ความเป็นพลเมืองดี มีศีลธรรม ต้องต่อยอดเรื่องเหล่านี้ และศธ.จะผลักดันหลักสูตรเหล่านี้ในกระทรวงศึกษาธิการ ถ้าสถาบันการศึกษาใดมีเรื่องความเป็นไทย ศักยภาพของไทย เป็นเรื่องสำคัญ เพราะโอกาสของไทยมีและแตกต่างจากประเทศอื่นๆ นโยบายของศธ.สอดคล้องกับบริษัทเอกชน ที่ร่วมพัฒนาการศึกษา และประเทศไทย และงานนี้ถือตนถือว่าได้มาทำความเข้าใจในเรื่องของการร่วมมือระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐ และจากที่ตนได้หารือกับประเทศต่างๆ พบว่า จุดเน้นสำคัญคือเรื่องภาษา ดังนั้นเราต้องพลิกการสอนภาษาอังกฤษของประเทศไทย และตนมั่นใจว่าหากเรามีการวางแผนอย่างต่อเนื่อง และมุ่งมั่น ภายในระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี เด็กไทยจะสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ 2 ได้ และจะทำให้ตลาดแรงงานเข้าใจและสนใจประเทศไทย
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"