ชง ครม.ขยายสัมปทานทางด่วน 15.8 ปี แลกล้างหนี้


เพิ่มเพื่อน    

25 ธ.ค.2562 นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยเกี่ยวกับประเด็นการหารือเพื่อหาข้อสรุปการยุติข้อพิพาททางด่วนระหว่างการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กับบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ว่ากระทรวงคมนาคมได้มีการสรุปแนวทางยุติข้อพิพาทดังกล่าว โดยจะมีการขยายอายุสัญญาสัมปทานออกไปอีก 15 ปี 8 เดือน

ทั้งนี้ในส่วนของสัญญาระบบทางด่วนขั้นที่ 2 ( A, B, C) ที่จะสิ้นสุดในวันที่ 29 ก.พ. 2562 และทางด่วนขั้นที่ 2 ส่วน D ที่จะสิ้นสุดวันที่ 22 เม.ย. 2570 รวมถึงโครงการทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด (C+) ที่จะสิ้นสุด 27 ก.ย. 2569 เป็นให้สิ้นสุดในวันที่ 31 ต.ค. 2578 พร้อมมีเงื่อนไขว่าทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องยุติข้อพิพาทและถอนฟ้องคดีทั้งหมดทั้งที่ศาลตัดสินไปแล้วและที่อยู่ระหว่างพิจารณาคดีแบ่งเป็น BEM ฟ้องร้อง 15 คดี และ กทพ.ฟ้องร้อง 2 คดี คิดเป็นมูลหนี้ข้อพิพาทประมาณ 137,517 ล้านบาท

อย่างไรก็ตามในเบื้องต้นทางเอกชนยินดีให้ความร่วมมือในการยกเว้นค่าผ่านทางทุกด่านตามประกาศวันหยุดประจำปีของสำนักนายกรัฐมนตรีที่มีประมาณ 19 วันต่อปีตลอดอายุสัมปทาน ส่วนการยุติข้อพิพาทฯนั้นยังมีการกำหนดการจ่ายผลตอบแทนตามเดิมคือแบ่งสัดส่วนรายได้ให้ กทพ. 60% และ 40% ในสัญญา A B C ส่วนสัญญา C+ ทางเอกชนจะได้ค่าตอบแทนทั้งหมด และตามแนวทางการขยายอายุสัญญาสัมปทานได้กำหนดให้ BEM สามารถปรับขึ้นค่าผ่านทางได้ปีละ 1 บาท แต่จะปรับขึ้นได้เพียงครั้งเดียวคือในปี 2573 หรือขึ้นค่าผ่านทาง 10 บาท ส่วนที่อีก 5 ปี 8 เดือนไม่ให้ปรับขึ้น

ทั้งนี้ในส่วนประเด็นที่ไม่มีการต่อขยายสัญญาอีก 15 ปี พร้อมลงทุนทางด่วนสองชั้น (Double Deck) นั้น นายชัยวัฒน์ กล่าวว่า เนื่องจากยังไม่ทราบแน่ชัดว่าจะผลักดันโครงการดังกล่าวได้หรือไม่ เพราะต้องจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ด้วย อีกทั้งยังเป็นการขัดกับมติครม.ที่กำหนดให้เจรจาเพื่อบรรเทาความเสียหายค่าชดเชยในข้อพิพาท ประกอบกับ การคำนวณโดยใช้ระบบดิจิทัลของกระทรวงคมนาคมพบว่า การต่อขยายสัมปทาน 15 ปี 8 เดือนเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมกับรายได้ที่เอกชนเสียไปเพราะทางแข่งขันดอนเมืองโทลล์เวย์

อย่างไรก็ตาม กระทรวงคมนาคมเตรียมจะเสนอรายงานดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบแนวทางดังกล่าวในวันที่ 24 ธ.ค.นี้ ซึ่งหาก ครม.เห็นชอบจะมีการดำเนินการแจ้งให้กับ BEM รับทราบเพื่อนำไปเจรจาให้ได้ข้อยุติภายในบริษัทฯ หลังจากนั้นจะส่งให้คณะกรรมการตามมาตรา 43 เห็นชอบก่อนส่งให้อัยการสูงสุดตรวจสอบร่างสัญญา และนำเสนอกลับมาที่กระทรวงคมนาคมเพื่อเสนอให้ ครม.เห็นชอบต่อไป สำหรับกระบวนการทั้งหมดจะเร่งเดินหน้าให้ทันภายในเดือน ม.ค. 2563 ก่อนที่จะลงนามสัญญาภายในเดือน ก.พ. 2563 เนื่องจากสัญญาแรกจะสิ้นสุดในวันที่ 29 ก.พ. 2563 โดยหากดำเนินการไม่ทันอาจจะต้องจ้างเอกชนบริหารจัดการไปก่อน

ด้านนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม กล่าวว่า จากข้อสรุปตามที่ปลัดกระทรวงคมนาคมระบุนั้น พิจารณามาจากข้อมูล และการคำนวณจากตัวเลขจริง ทั้งจากการรายงานของบริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) และ BEM ทั้งนี้ การขยายอายุสัมปทานออกไปอีก 15 ปี 8 เดือนนั้น เกิดขึ้นหลังจากมีการหารือร่วมกับบริษัทเอกชน พร้อมทั้งดูสถิติตัวเลข จากเดิมที่กำหนดไว้ 16 ปี 9 เดือน รวมถึงการยกเว้นค่าผ่านทางทุกด่านตามประกาศวันหยุดประจำปีของสำนักนายกรัฐมนตรีตลอดอายุสัญญาสัมปทานรวม 300 กว่าวันนั้น บริษัทเอกชนจะสูญเสียรายได้ 1 หมื่นกว่าล้านบาท ซึ่งถือเป็นการดำเนินการเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน

อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า การดำเนินการในครั้งนี้ มีการศึกษาไว้อย่างครบถ้วน อธิบายไว้อย่างชัดเจน และทำดีที่สุดแล้ว จากการใช้ระยะเวลากว่า 4 เดือน หลังจากตนเข้ามารับตำแหน่ง ในการรวบรวมข้อมูล ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของตน ที่จะต้องไม่มีค่าโง่เกิดขึ้นในยุคนี้ โดยในวันที่ 24 ธ.ค.นี้ จะเสนอให้ ครม. พิจารณา ก่อนเข้าสู่กระบวนการ กทพ.เจรจากับกฤษฎีกา ในส่วนของบริษัทเอกชน แจ้งต่อการประชุมผู้ถือหุ้น จากนั้นจะส่งเรื่องกลับมายัง ครม. พิจารณาอนุมัติต่อไป

 ขณะที่ นายสุรงค์ บูลกุล ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) กทพ. กล่าวว่า ในการหาแนวทางยุติข้อพิพาทดังกล่าวได้มีการชี้แจงสหภาพแรงงานฯกทพ.ไปแล้ว ซึ่งก็มีความเข้าใจในแนวทางดำเนินการตามนี้โดยเงื่อนไขรายละเอียดการต่อสัมปทานนั้นประกอบด้วย 1.ยุติข้อพิพาททั้งหมด 2.ไม่ขึ้นค่าทางด่วนจนถึงปี 2572 และมีกำหนดปรับขึ้นทุก 10 ปี ครั้งละ 10 บาท จนหมดอายุสัมปทาน 3.เอกชนแบ่งรายได้ให้ กทพ.ไม่น้อยกว่าเดิมคือ 60% ของรายได้ทั้งหมด 4.งดเว้นเก็บค่าผ่านทางด่วนทุกเส้นทางในช่วงวันหยุดนักขัตฤกษ์ตามที่ครม.กำหนด ตลอดสัมปทาน 15 ปี 5.ก่อสร้างด่านเก็บเงินเพิ่มอีก 2 จุดที่ด่านอโศกและด่านประชาชื่น 6.ก่อสร้างจุดขึ้น-ลงที่สถานีกลางบางซื่อ 7.การใช้เทคโนโลยีตั๋วร่วมและระบบบัตร EMV ในการคิดค่าผ่านทาง 7.อัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (IRR) 15% และ8.ลดค่าผ่านทางบางด่านในอนาคต

ทั้งนี้ สำหรับทางด่วน 2 ชั้น (Double Deck) มูลค่า 32,000 ล้านบาท นั้นจะยังไม่มีการพัฒนาในเร็วๆนี้ เพราะติดเรื่องการขออนุมัติจัดทำรายงานสิ่งแวดล้อม (EIA) ซึ่งอาจใช้เวลามากกว่า 2 ปี หากมีทิศทางแน่ชัดจะมีการนำพิจารณาแนวทางผลักดันและเปิดประมูลงานก่อสร้างต่อไปเพื่อแก้ปัญหารถติดบนทางด่วน ส่วนเรื่องข้อพิพาทกับ BEM ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตหากการพัฒนาต้องทุบทางด่วนบางช่วงทิ้งนั้นจะมีการเจรจากันอีกครั้งหากจะผลักดันอย่างจริงจัง แต่ในขณะนี้โครงการนี้ยังไม่ผ่านการพิจารณาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (EIA) ซึ่งจะเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และไม่ใช่โครงการข้อพิพาท


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"