ไทยในฐานะข้อกลางเชื่อมระเบียงเศรษฐกิจออก-ตก


เพิ่มเพื่อน    

 

       ผมชอบดูแผนที่ไทยกับเพื่อนบ้านเพื่อดูจุดเชื่อมโยงการคมนาคมระหว่างกันเพื่อเดินทางไปมาหาสู่กันในระดับภูมิภาค

                พอมีระเบียงเศรษฐกิจตะวันออกของไทยที่เรียกว่า Economic Corridor (EEC) แล้ว เราก็ต้องคิดถึง “ระเบียงเศรษฐกิจ” ภาคอื่น ๆ เช่นทางใต้และตะวันตกด้วย

                วันก่อนได้อ่านบทความในนิตยสารรายสัปดาห์นิคเคอิ ที่เล่าถึงเส้นทางเชื่อมใหม่ภาคตะวันออกและตะวันตกของไทยกับเพื่อนบ้านใกล้เคียงแล้วก็เห็นภาพ connectivity อีกสายหนึ่งที่มีความสำคัญไม่น้อยสำหรับเศรษฐกิจของไทยเรา

                นั่นคือสิ่งที่เรียกว่า East-West Economic Corridor (EWEC) ซึ่งมีความสำคัญตรงที่จะเชื่อมระหว่างทะเลจีนใต้กับมหาสมุทรอินเดีย

                ที่น่าสนใจคือ เส้นทางนี้จะเชื่อมระหว่างเวียดนาม, ลาว, ไทยและพม่า

                เมื่อสะพานแห่งที่สองระหว่างไทยกับพม่าเสร็จแล้ว ระหว่างเมียวดีของพม่ากับแม่สอดของไทย ก็จะทำให้เกิดจุดเชื่อมระหว่างเรากับเพื่อนบ้านอีกสามประเทศได้ชัดเจน

                นี่คือโอกาสการค้า, การลงทุน, การท่องเที่ยว และปฏิสัมพันธ์ระหว่างประชาชนของภูมิภาคนี้ที่มีความสำคัญ

                มองต่อไปก็จะเห็นการเชื่อมระหว่างประเทศลุ่มแม่น้ำโขงที่รวมถึงกัมพูชาด้วย มารูปแบบของห่วงโซ่การผลิตและจำหน่ายสินค้าที่จะเพิ่มความคึกคักให้กับเศรษฐกิจแถบนี้ได้อย่างดียิ่ง

                จุดเชื่อมต่อระหว่างจีนกับไทย และ CLMV เข้าสู่ตลาดอินเดียที่ใหญ่โตกว้างขวางก็ปรากฏให้เห็นเด่นชัดขึ้นมาทันที

                บางคนมองด้วยซ้ำไปว่า หากกลุ่มประเทศต่างๆ เหล่านี้สามารถออกแบบการขนส่งผ่านเส้นทางเชื่อมต่อใหม่นี้ ก็อาจจะสร้างความเป็นอิสระจากการที่ต้องพึ่งพาประเทศยักษ์ใดประเทศหนึ่งได้อย่างดี

                เพราะเส้นทางใหม่นี้ทำให้ประเทศ CLMVT เข้าถึงตลาดจีนและอินเดียได้อย่างคล่องแคล่วมากยิ่งขึ้น

                ดูแผนที่นี้จะเห็นว่า หาก EWEC เกิดขึ้นได้จริง ก็จะเป็นกลุ่มเศรษฐกิจ 5 ประเทศ รวมทั้งไทยเราที่มีความยาวถึง 1,700 กิโลเมตรทางบก...จากเวียดนามถึงพม่า ผ่าน สปป.ลาวและไทย เชื่อมต่อไปถึงอินเดียและประเทศในเอเชียใต้ได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น

                “ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตก” แห่งนี้ได้ขยายไปถึงย่างกุ้งของพม่า (เดิมจะจบลงตรงเมือง Mawlamyine) และเชื่อมไปถึง “เขตเศรษฐกิจพิเศษทิลาวา” ที่กำลังก่อสร้างด้วยเงินลงทุนของญี่ปุ่น

                ข่าวบอกว่าโตโยต้ากำลังสร้างโรงงานผลิตรถยนต์ขนาดใหญ่ที่นี่

                แผนการที่กำลังเจรจาระหว่างไทยกับพม่าคือการเปิดช่องทางอำนวยความสะดวกให้ใบอนุญาตแก่บริษัทโลจิสติกส์ของทั้งสองประเทศในการขนส่งสินค้าระหว่าง

                เขตเศรษฐกิจพิเศษทิลาวา (Thilawa SEZ) กับท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังของไทยเรา

                ดูจากแผนที่จะเห็นความเป็นไปได้ที่ท่าเรือใหญ่ของไทยกับพม่า จะต่อเชื่อมกันเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการขนส่งอย่างมีนัยสำคัญต่ออนาคตของเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้

                นิตยสารฉบับนี้อ้างแหล่งข่าวบริษัทญี่ปุ่นว่า Nisshin Transport ซึ่งเป็นบริษัทที่มีสำนักงานใหญ่ที่โอซาโก (และเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายธุรกิจขนส่งยักษ์ของญี่ปุ่น AIT) มีแผนจะเปิดบริการตรงบนเส้นทางนี้กับหุ้นส่วนในท้องถิ่น Direct Transport

                หากร่วมมือกันได้จริงเวลาสำหรับการขนส่งทางบกระหว่างย่างกุ้งกับกรุงเทพฯ จะเหลือเพียง 3 วัน

                ขณะนี้กำลังสร้างทางเชื่อมต่อในเวียดนาม, ลาว และไทยพร้อมๆ กันไปด้วย

                ธนาคารพัฒนาเอเชียให้เงินกู้แก่รัฐบาลพม่าในการสร้างทางยาวประมาณ 90 กิโลเมตรเพื่อการนี้ และคาดกันว่าจะเปิดใช้ได้ในปี 2021 หรืออีกสองปีจากนี้ไป

                ผมติดตามข่าวคราวเรื่อง connectivity หรือการเชื่อมต่อระหว่างไทยกับเพื่อนบ้านอย่างสนอกสนใจ เพราะผมเชื่อว่าไทยเราควรจะต้องเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญของการผลักดันให้เกิดขึ้นให้ได้ เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและปากท้องของประชาชนในภูมิภาคนี้

                อีกด้านหนึ่งคือ การประสานกับจีนในโครงการ One Belt One Road โดยที่ประเทศแถบนี้รวมตัวกันเพื่อสามารถจะร่วมกันวิเคราะห์และทำงานร่วมกับจีนในฐานะหุ้นส่วนที่ “เสมอภาคและเป็นธรรม” ให้กับประเทศกลางๆ เล็กๆ ในอาเซียนนี้

                ผมเน้นคำว่า “เสมอภาคและเป็นธรรม” นะครับ.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"