" Helena Citronova " รักต้องห้าม"นักโทษหญิงชาวยิว กับทหารนาซี"


เพิ่มเพื่อน    

 

ภาพประวัติศาสตร์เมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2 จากเพจ Opera Siam

   ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ชื่อ“เอาซวิทซ์” คือรอยแผลและความทรงจำที่โหดร้ายที่สุดของมนุษยชาติ เพราะเป็นหนึ่งในค่ายกักกันนักโทษชาวยิวกว่า 15,000 แห่ง ที่กระจายอยู่ทั่วทวีปยุโรป เป็นค่ายกักกันและค่ายมรณะที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาค่ายกักกันของนาซีเยอรมนี ที่ใช้การระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง จุดประสงค์ในการสร้างค่าย เพื่อการสังหารชาวยิวเพียงอย่างเดียว นักโทษชาวยิวหลายล้านคนเสียชีวิตในค่ายกักกันแห่งนี้ ทั้งจากการใช้แรงงานหนัก โรคระบาด ความหนาว อดอาหาร ถูกกระทำทารุณ ถูกนำไปทดลองทางวิทยาศาสตร์โดยไม่คำนึงถึงมนุษยธรรม


    ในวาระครบรอบ 75 ปี ที่มีการปิด เอาซวิทซ์ ทางโอเปร่าสยาม คณะมหาอุปรากรไทย จึงจะนำเสนอการแสดง“Helena Citronova” (เฮเลนา ซิโตรโนวา) รักต้องห้าม เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ณ จุดมืดสนิทของมนุษยชาติ ในค่านิยมที่อื้อฉาวที่สุดของนาซี ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 มหาอุปรากร ที่รังสรรค์โดย สมเถา สุจริตกุล  ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย สถานเอกอัคราชทูตต่างประเทศประจำประเทศไทย ได้แก่ อิสราเอล เยอรมนี สโลวาเกีย และออสเตรเลีย ด้วยความร่วมมือของสถาบันเกอเธ่ กรุงเทพฯ และการสนับสนุนจากบริษัทห้างร้านต่างๆ

สองนักแสดงนำขับร้องโอเปร่า เรียกน้ำย่อยก่อนในงานแถลงข่าว


    สำหรับเนื้อหาการแสดงมหาอุปรากรเรื่องนี้ เป็นการแสดงเต็มรูปแบบเรื่องแรกด้วยแรงบันดาลใจจากเรื่องราวในชีวิตจริงของ “เฮเลนา ซิโตรโนวา” นักโทษหญิงชาวยิว สโลวาเกีย ในค่ายมรณะ ผู้มีความสัมพันธ์ล้ำลึกกับ “ฟรันซ์ วุนซ์” ทหารนาซีจากออสเตรีย ผู้มีหน้าที่ฆ่าสังหารนักโทษ   ซึ่งย้อนกลับไปเมื่อ 25 ปีก่อน ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 คือ จุดเริ่มต้นของเรื่องราวจากชีวิตจริงของเฮเลนา นักโทษหญิงที่ถูกจับมากักขังที่ค่ายฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เอาชวิทซ์ เพื่อรอวันตาย พร้อมกับโรซินกา พี่สาว และลูกๆ  


    เฮเลนา ลักลอบย้ายตัวเองมาทำงานหน่วย “คานาดา” หลังจากตรากตรำกันงานหนักแทบเอาชีวิตไม่รอด หน้าที่หลักของคนงานหน่วยคานาดา คือ คัดเลือกข้าวของและเสื้อผ้าคนตาย ไว้ให้บนักโทษใหม่ โดยแยกของมีค่าไว้ให้พวกนาซี 
    ในวันเกิด ฟรันซ์ วุนซ์ ผู้คุมชาวนาซี เฮเลนาถูกบังคับให้ร้องเพลงภาษาเยอรมัน ซึ่งถือว่าเป็นวัฒนธรรมสูงส่งทางดนตรี การร้องเพลงสุขสันต์วันเกิดในครั้งนั้นทำให้ฟรันซ์ติดใจเชลยสาวชาวยิว เรื่องราวดำเนินไปจนในที่สุดความรักระหว่างนักโทษเดนตายกับผู้คุมจอมโหดก็เกิดขึ้นจนได้ ทั้งคู่รู้ว่ามันคือรักต้องห้ามที่ไม่มีทางเป็นไปได้ จึงไม่กล้าเอ่ยปากบอกรักหรือแม้แต่มองหน้ากันเต็มตา เมื่อสงครามสิ้นสุดลง ทหารรัสเซียเข้ามาทำหน้าที่ในค่ายสังหารเอาซวิทซ์ แต่นาซีก็ยังทำทุกสิ่งอย่าง เพื่อให้การสังหารล้างเผ่าพันธุ์ครั้งนี้สัมฤทธิ์ผลมากที่สุด              พวกนาซีบังคับให้นักโทษยิวใกล้ตายที่หลงเหลือในค่ายเดินเท้าเปล่าบุกหิมะที่หนาวเย็นในสภาพเกือบเปลือย โดยหลอกว่าจะพาไปอยู่ค่ายใหม่ที่สภาพดีกว่าเดิม 

.นักแสดงโชว์ประสานเสียงพร้อมกับการบรรเลงเปียโนประกอบ


    ก่อนจากกัน ฟรันซ์เสี่ยงชีวิตส่งผ้าห่มให้หญิงคนรักพร้อมกับเศษกระดาษจดที่อยู่มารดาของเขาที่ออสเตรีย และบอกเฮเลนาไปหาเมื่อทุกอย่างกลับสู่สภาพปกติ เรื่องราวจะจบเช่นไร ต้องติดตามในฉากอวสารในมหาอุปรากร อิงประวัติศาสตร์ระหว่างวันที่ 16-17 มกราคม นี้ก่อนจะมีการนำไปแสดงที่ยุโรปต่อ


    สมเถา สุจริตกุล ประธานมูลนิธิมหาอุปรากรกรุงเทพ และผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ โอเปร่าสยาม กล่าวว่า มหาอุปรากร หรือโอเปร่าเรื่องนี้ มีการเตรียมโดยเขียนเนื้อเรื่องยาวนานถึง 7 ปี เหตุที่ใช้เวลานานเพราะเป็นเรื่องราวที่สะเทือนใจ เมื่อเราอยู่กับเนื้อหาที่เคร่งเครียด เราจึงจำเป็นต้องออกไปทำอะไรที่สนุก หรือทำเพลง เขียนเรื่องราวที่น่ารักบ้าง แล้วค่อยกลับมาเขียนเรื่องต่อ แต่ละครั้งที่เขียนเรียกได้ว่ากลับมาด้วยความฝืนใจ เพราะเนื้อหาที่เขียนไม่ใช่แค่เรื่องความรักของคนสองคน ทื่มีความตรึงเครียด แต่นำเสนอประวัติศาสตร์ และแง่มุมของโลกมืดที่ดูโหดร้าย จากการกระทำของมนุษย์ ที่ยิ่งกว่าอมนุษย์ 

บรรยากาศแถลงข่าว 


    “มันมีสถานการณ์โหดร้ายมากมายที่เกิดขึ้นช่วงสงครามโลกครั้งที่2 ก่อนที่จะเขียนเรื่องนี้ ย้อนกลับไปประมาณ 7 ปีก่อน ผมค้นพบว่าเด็กไทยหลายคนยังไม่เข้าใจประวัติศาสตร์ อย่างลูกศิษย์ผมประมาณสัก 10 คน ไม่มีใครรู้เลยว่าไทยแพ้หรือชนะสงครามโลกครั้งที่ 2  ทำให้ผมคิดว่าเราจะลืมประวัติศาสตร์ได้อย่างไร สงครามโลกครั้งที่ 2 ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศอื่น มันกระทบถึงประเทศเราได้ นี่คือแนวคิดเขียนเรื่องขึ้นมาโดยอิงประวัติศาสตร์ ถ้าบอกว่าพูดถึงชาวยิว 6 ล้านคนถูกนาซีฆ่า คงนึกภาพไม่ออกเท่าไหร่ให้ลองนึกถึงคนกรุงเทพกว่า 6 ล้านคนโดนฆ่าหมดจะรู้สึกอย่างไร แต่ด้วยจำนวนคนที่มากมายมหาศาลนี้ เราเลือกที่จะหยิบความรู้สึกของคนไม่กี่คนมาสื่อสารให้คนเข้าใจ และมีความรู้สึกร่วมกับเหตุการณ์”  นายสมเถา กล่าว
    ผู้ประพันธ์ และกำกับการแสดง เผยอีกว่า การทำเรื่องนี้ ต้องตีความให้ห่างจากเหตุการณ์ออกมาเล็กน้อย ถึงจะเห็นภาพชัด โอเปร่าเรื่องนี้เป็นสิ่งที่เราจะสามารถโชว์ให้เห็นว่ามันเป็นประวัติศาสตร์ของทุกคน และเรื่องนี้ค่อนข้างต่างจากทุกเรื่องที่ทำมา เพราะเมื่อจบจากการซ้อมทุกครั้ง นักแสดงทุกคนจะร้องไห้เลย นี่เป็นครั้งแรกในชีวิตที่ได้เห็นแบบนี้ เพราะเป็นเรื่องอ่อนไหวมาก 

Helena Citronova


    ด้านนายทฤษฎี ณ พัทลุง วาทยกรโอเปร่า สยาม กล่าวถึงรายละเอียดการแสดงว่า เรื่องนี้ภาษาดนตรีน่าจะแตกต่างจากเรื่องอื่นมาก เพราะเต็มไปด้วยเรื่องของความอ่อนไหว ถึงขั้นที่ว่าเมื่อวันก่อน ตนอยู่ในห้องรับแขกเล่นเปียโนฉากหนึ่งในเรื่อง เฮเลนา ซิโตรโนวา เพื่อนที่กำลังนั่งเล่นอยู่ใกล้ๆ ตอนแรกไม่ได้สนใจ พอเล่นไปสักพัก เพื่อนหยุด และหันมาหาพร้อมกับกล่าวว่า ทำไมทำนอง ดนตรีอ่อนไหวเช่นนี้ ฟังแล้วรู้สึกสะเทือนใจมาก ซึ่งในวันแสดงจะเล่นกับวงสยามซินโฟนิเอตต้า ประกอบด้วยเครื่องดนตรี 70 ชิ้น และนักร้องประสานเสียง และวงดุริยางค์บนเวที ซึ่งเป็นวงที่เคยไปเล่นยุโรปมาแล้ว 
    ขณะที่นางถ่ายเถา สุจริตกุล ผู้อำนวยการผลิตโอเปร่า สยาม กล่าวว่า การแสดงโอเปร่า หลายคนได้ฟังแล้วจะเกิดความกลัว จนเกิดอคติว่าฟังไม่รู้เรื่อง เคล็ดลับของการดูโอเปร่าให้เข้าใจคือ ต้องศึกษาก่อนว่าเรื่องที่จะไปชมเป็นอย่างไร เนื้อเรื่องย่อเป็นอย่างไร จะช่วยให้คนดูมีความเข้าใจมากขึ้นเวลาฟัง แล้วไม่ต้องกังวลว่าจะชมไม่รู้เรื่องเพราะมีคำแปลภาษาไทยอยู่ข้างเวทีให้ชำเลืองมองดู ถ้าได้สัมผัสการแสดงโอเปร่าจะเข้าถึงเนื้อเรื่องได้อย่างลึกซึ้ง เพราะทั้งการแสดง เสียงขับร้อง และการบรรเลงดนตรีจะผสานกันอย่างงดงามและไพเราะ 

คาสแซนดรา แบล็ค ผู้รับบทเฮเลนา 


    “โอเปร่าเป็นเรื่องค่อนข้างใหม่ของคนไทย จึงอยากให้ศึกษามีความเข้าใจแล้วจะเกิดความรู้สึกสนุกสนาน เพลิดเพลิน ไปกับดนตรี เราเริ่มผลักดันกันมา 20 กว่าปีแล้ว และเฮเลน่า เป็นเรื่องที่ 64 ที่เราพยายามปลุกปั้นศิลปะของฝรั่งว่าเราจะซึมซับกับมันได้ไหมก็มีการล้มลุกคลุกคลานมาตลอด หวังว่าจะทำให้มีคนชอบเพิ่มมากขึ้น” 

 

 

ฟัลคอล์น โฮนิสช์ จากโอเปร่าออสเตรีย รับบทฟรันซ์ วุนซ์ ทหารนาซี


    สำหรับการแสดงครั้งนี้ถือเป็นการแสดงระดับนานาชาติ โดยมีนักแสดงมาจากหลากหลายประเทศทั้ง สหรัฐอเมริกา เยอรมัน ออสเตเลีย ไทย ฯลฯ สำหรับผู้สนใจชม “เฮเลนา ซิโตรโนวา” จะเปิดแสดงที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย (หอประชุมใหญ่) ในวันที่ 16-17 มกราคม 2563 เวลา 20.00 น.สำรองบัตรที่ Ticket Melon หรือ Line@operasiam อีเมลล์ [email protected] สอบถาม โทร 061 971 6477



 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"