สสส.ถอดบทเรียนศรีไค“วันโฮมฮักเพื่อครอบครัวอบอุ่น”


เพิ่มเพื่อน    

สสส.ถอดบทเรียนวันโฮมฮักเพื่อครอบครัวอบอุ่น ต.ศรีไค ดร.สุรีย์ ธรรมิกบวร ม.อุบลราชธานี เติมพลังชุมชน พบ 148 ต้นแบบครอบครัวมีสัมพันธภาพดีจากหลัก 5 ดี ชี้เป็นภูมิคุ้มกันป้องกันเด็ก พ่อแม่อยู่ไกลให้ลูกใช้มือถือ Live สดเพื่อสื่อสาร เกิดผลลบพัฒนาการทางภาษาล่าช้า เพราะติดมือถือ ใช้กลไกอาสาสมัครครอบครัวเยี่ยมบ้าน กระตุ้นพัฒนาการเด็กเป็น “ตัวช่วย” ปู่ย่าตายายเมื่อต้องเลี้ยงหลานตามลำพัง ลดช่องว่างครอบครัว

 

               

กิจกรรมถอดบทเรียนเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “วันโฮมฮักเพื่อครอบครัวอบอุ่น” ที่โรงแรมยูเพลส มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ณัฐยา บุญภักดี ผอ.สำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชนและครอบครัว (สำนัก 4) สสส., สุจิตต์ ไตรพิทักษ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านครอบครัวและคณะกรรมการบริหารแผนคณะที่ 4 สสส., ธนาคม กองเพียร นายอำเภอวารินชำราบ ประธานคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต อ.วารินชำราบ, ธานินทร์ ไชยานุกูล สาธารณสุขอำเภอวารินชำราบ เลขาคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต อ.วารินชำราบ, ดร.สุรีย์ ธรรมิกบวร อาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อีกทั้งมีพิธีมอบรางวัลครอบครัวดีเด่นจากอุทัย เกษมทาง นายกเทศมนตรี ต.เมืองศรีไค รวมถึงการแสดงจากสภาเด็กและเยาวชน หมู่บ้านศรีไคออก

               

งานนี้เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกันของคนทำงาน และยังเป็นประโยชน์ในการทบทวนตัวเอง “การเรียนรู้สู่วิถีครอบครัวอบอุ่น” เพื่อให้หน่วยปฏิบัติทั้ง 21 หน่วย นำสิ่งที่ดำเนินการมานำเสนอในสิ่งที่เกิดขึ้นและสิ่งที่ได้เรียนรู้มาสร้างแรงบันดาลใจผ่านการมีส่วนร่วมรับรู้ด้วยกิจกรรมต่างๆ ลานกิจกรรมสร้างสุขและมีการเชิดชูเกียรติ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ตำบลในอำเภอวารินชำราบร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

 

               

ณัฐยา บุญภักดี ผอ.สำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชนและครอบครัว (สำนัก 4) สสส. กล่าวว่า ครอบครัวอบอุ่นด้วยการกระตุ้นจุดประกายให้คนในครอบครัวและชุมชนออกมาทำกิจกรรมร่วมกัน โดยมีฝ่ายวิชาการถอดบทเรียนช่วยดูแลแต่ละหมู่บ้าน (11 หมู่บ้าน) อย่างใกล้ชิด การทำกิจกรรมด้วยกัน พูดกันปากต่อปากว่าสนุกสนานมาก เด็กๆ รอคอยที่จะปั่นจักรยานพาเที่ยว เจ้าอาวาสมีส่วนร่วมกับลูกวัด จากเดิมที่คนในชุมชนต่างคนต่างอยู่ ไม่เกี่ยวข้องกัน เปลี่ยนเป็นมีความผูกพันมากขึ้น ทั้งนี้ 11 หมู่บ้านจะเป็นต้นแบบในการสร้างแรงบันดาลใจ เกิดการถ่ายทอดวิชาชีพในชุมชน เป็นการสร้างพื้นที่ปลอดภัยในชุมชน

               

“ปกติเวลาโรงเรียนเลิกแล้ว เด็กกลับบ้าน บ้านใครบ้านมัน แต่เด็กจะอยู่รวมกันมีปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น กล้าพูดคุยกล้าซักถาม พี่สอนน้องทำการบ้าน มีผู้ใหญ่คอยชี้นำในชุมชน การปลูกต้นไม้ พืชผักสวนครัวในชุมชน เป็นการสร้างวินัยที่ดี มีรายได้จากการเก็บพืชผักจำหน่าย ส่วนใหญ่แล้วพ่อแม่จะทำงานในเมือง ฝากลูกไว้กับปู่ย่าตายายเลี้ยงดูในชุมชนใกล้เมืองเป็นชนบทกึ่งเมือง สสส.อยากได้โมเดลในพื้นที่เมืองเข้าไปสู่ชุมชนชายขอบตามชายแดนซึ่งเข้าถึงได้ยาก ได้รับการฝึกอบรมเรื่องการดูแลเด็กอย่างมีคุณภาพ ได้มาตรฐาน พัฒนาองค์ความรู้เป็นตัวช่วยปู่ย่าตายายดูแลหลาน การรับยาวัคซีนตามกำหนด พัฒนาของเล่น ขณะเดียวกันผู้สูงอายุก็ได้รับการดูแล มีการพูดคุยกันอย่างสม่ำเสมอ มีสมุดบันทึกข้อมูลให้กับผู้สูงอายุ หากใครต้องการมีส่วนร่วมสามารถเขียนโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนให้ประสบความสำเร็จและมีความยั่งยืน

 

               

ผู้ใหญ่ไม่ให้เด็กอยู่เฉยจึงให้เล่นโทรศัพท์มือถือตั้งแต่เด็กๆ พ่อแม่บางคนซื้อมือถือ แท็บเล็ตให้ลูกเพื่อจะ Live สด เพราะต้องการเห็นหน้าและได้ยินเสียงลูก ซึ่งในครอบครัวมองว่าเป็นเรื่องธรรมดา เด็กรุ่นใหม่อายุยังไม่ถึงขวบเติบโตมากับมือถือกลายเป็นเรื่องปกติ เด็กจ้องดูมือถือมีรายการต่างๆ ส่งผลให้พัฒนาการในการพูดล่าช้า ชุมชนต้องการอาสาสมัครเข้าไปช่วยแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ลดช่องว่างให้กับบางครอบครัว ถ้าปล่อยให้เกิดช่องว่างในครอบครัว ปัญหาถูกทิ้งไปเรื่อยๆ เด็กก็จะเสียโอกาส กลไกดูแลเด็กในครอบครัว มี รพ.ประจำตำบล ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก รร.ระดับประถม มัธยม วัด อบต. ทำงานร่วมกันเป็นคณะ

               

บางครอบครัวในชุมชนยังอยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่ บางครอบครัวเป็นครอบครัวแหว่งกลาง เด็กอยู่กับผู้สูงวัยปู่ย่าตายายที่ตามใจหลาน ดังนั้นความต้องการมีหลายระดับ ขณะนี้ 11 หมู่บ้าน 3,000 คน เป็น 1 ใน 3 จากประชากรกว่าหมื่นคน ทั้งตำบลคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการออกแบบสร้างชุมชนของตัวเอง แต่เดิมยังไม่มีสภาเด็กและเยาวชน ศูนย์พัฒนาครอบครัวมีแต่ชื่อ ไม่มีคน ในที่สุด อ.สุรีย์ ร่วมมือกับผู้ใหญ่บ้าน สื่อสารกับลูกบ้าน ร่วมมือกับสถาบันวิชาการในพื้นที่

               

งานที่ จ.อุบลราชธานีเป็นโครงการนำร่องตั้งแต่สภาเด็กฯ เพียง 1 ปีมีผลงานที่น่าพอใจ ขยับขยายไปยัง 90 ตำบลใน 40 จังหวัด ในบางตำบลมีปัญหาแม่วัยใส เมื่อท้องต้องออกจากระบบ รร. เพื่อเลี้ยงลูกตัวเอง เมื่อตัวเองเลี้ยงลูกได้ดีก็ Start Up ชุมชนนำร่องโฮมฮัก สร้างพื้นที่ต้นแบบบูรณาการสุขภาวะเด็ก เยาวชน ครอบครัว ทำหน้าที่เยี่ยมบ้าน รับเบี้ยเลี้ยง ให้คำแนะนำที่ดี มีทักษะเป็นครูสอนเด็กเล็กได้

               

ทิศทางแผนพัฒนาเด็ก เยาวชนและครอบครัวให้เด็กเป็นศูนย์กลาง บ้านที่ฟูมฟักบ่มเพาะเด็กจะมีทัศนคติที่ดี รร. ศูนย์เด็กเล็ก เด็กชั้นประถม มัธยมรับช่วง พื้นที่ชุมชนต้องเป็นพื้นที่สร้างสรรค์เด็กให้เติบโตอย่างปลอดภัย มีความสุข สสส.ให้การสนับสนุนในช่วง 1 ปี เกิดเป็นกลไกชุมชน การมีส่วนร่วมจากหลายฝ่าย จุดไฟติดปลุกให้ชุมชนตื่นขึ้นมารู้ว่าเราควรทำอะไรให้ชุมชนน่าอยู่ การใช้ทรัพยากรในพื้นที่เป็นเรื่องสำคัญที่สุด ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาจะต้องสำรวจวางแผน เพื่อลงมือทำอะไรต่อไปให้เกิดความยั่งยืนและความสวยงามในชุมชน ท้องถิ่นเปิดประตูรับ พร้อมใจกันลงมือทำ เพื่อประโยชน์ส่วนรวมในชุมชน

 

              

จงรักษ์ บุญลอย ผู้ใหญ่บ้าน รองประธานศูนย์พัฒนาเด็ก (ศพด.) และวงเดือน นุสาโล ประธานครอบครัวอบอุ่นต้นแบบเล่าถึงกิจกรรมที่ ดร.สุรีย์ ธรรมิกบวร ใช้ครอบครัวอบอุ่นต้นแบบให้คนอื่นได้เห็นก่อน โดยมีสุจิตต์ ไตรพิทักษ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านครอบครัวและคณะกรรมการบริหารแผนคณะที่ 4 สสส. เป็นผู้ซักถาม ทั้งสองช่วยกันเล่าว่า เมื่อพ่อแม่ลูกมีความผูกพันกัน การบอกฮักในช่วงแรกๆ ก็อายกัน ไม่ได้พูดว่าหนูฮักแม่ อ.สุรีย์บอกทุกคนที่เข้าร่วมโครงการให้บอกรักแม่ กอดแม่ เมื่อทำแล้วต่างฝ่ายต่างก็น้ำตาไหล รู้สึกดีขึ้น บอกผู้เฒ่าผู้แก่ครอบครัวอบอุ่น สื่อสารดี 5 ดี ถ้าคิดไม่ออกไม่รู้จะพูดอย่างไรถือหลัก 5 ดี สื่อสารดี ใส่ใจดี ออมดี อาสาดี เป็นสิ่งที่เราทำอยู่แล้ว แต่พูดไม่เป็น อ.สุรีย์แนะให้ช่วยกันเติมเต็มในสิ่งที่เรายังไม่รู้ พร้อมกับลงมือทำให้เป็นตัวอย่าง ดึงลูกเข้ามาหอม มากอดกันอย่างที่มีการแสดงละครไทยในชีวิตจริง น้องชายเสียชีวิต พี่รักน้อง แต่ไม่เคยบอกว่ารัก

               

สุรีย์ ธรรมิกบวร อาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ในฐานะผู้จัดการโครงการ กล่าวว่า สภาพครอบครัวใน ต.ศรีไค มีทั้งครอบครัวเดี่ยวและครอบครัวขยาย มีอาชีพเกษตร โครงการมุ่งเป้าหมายสร้างครอบครัวอบอุ่นเข้มแข็ง โดยถ่ายทอดความรู้เรื่องพัฒนาการครอบครัวตั้งแต่การแต่งงาน การมีลูก การสื่อสารในครอบครัว ตามแนวทางพัฒนาครอบครัว 5 ดี ได้แก่ 1.อาหารดี หมายถึง อาหารดีต่อสุขภาพที่ครอบครัวร่วมกันทำและรับประทานร่วมกัน 3 ครั้ง/สัปดาห์ 2.ออกกำลังกายดี ครอบครัวออกกำลังกายร่วมกันเหมาะสมตามวัยอย่างน้อย 3 ครั้ง/สัปดาห์ 3.อาสาดี ครอบครัวทำกิจกรรมชุมชนร่วมกันสม่ำเสมอ 4.สื่อสารดี มีเวลาพูดคุยรับฟังกัน ไถ่ถามกันพูดจากันในทางบวก มีเวลานั่งล้อมวงคุยกัน 3 ครั้ง/สัปดาห์ 5.ใส่ใจดี หมายถึง การดูแลซึ่งกันและกัน ในช่วง 1 ปีมีกิจกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้นเป็นที่ประจักษ์ได้ในพื้นที่ พ่อแม่ลูกไปวัดพร้อมกัน ทำกิจกรรมจิตอาสาร่วมกัน นัดกันปั่นจักรยาน ไปเยี่ยมชมหมู่บ้านใกล้เคียง พ่อแม่พาลูกไปเยี่ยมกลุ่มทอผ้า ดูฐานเรียนรู้เห็นถึงครอบครัวเจ็ดชั่วโคตรในชุมชน

               

กิจกรรมหนึ่งที่เรียกเสียงหัวเราะจากผู้เข้าร่วมงาน เมื่อสรศักดิ์ วิริยะสุธน ผอ.โรงเรียน ครูปิยวรรณ พาหาทรัพย์อนันต์ นำเด็กชั้นอนุบาล 3 วัย 5 ขวบ จำนวน 4 คน จากโรงเรียนชุมชนบ้านศรีไค (ศรีวัฒนาวิทยาคาร) มาร้องเพลงและเต้นประกอบเพลง เด็กบางคนเป็นบุตรของแม่วัยใส ด.ญ.จริยาพร คำประเสริฐ (ใบหม่อน) ด.ญ.ปนัดดา แสนอุบล (โบว์ลิ่ง) ด.ญ.วรินทร์สิริ ปานพรม (น้ำฝน) ด.ญ.พนิดา ทองเติม (น้ำฝน) เด็กทั้ง 4 แย่งไมค์กันเอง จึงต้องใช้วิธีเป่ายิงฉุบด้วยการเสี่ยงมือระหว่างผู้เล่นสองฝ่ายเพื่อเอาชนะกัน การเสี่ยงมือทำ 3 แบบ ค้อน กระดาษ กรรไกร ผู้ร่วมงานหลายคนสมทบเงินให้เป็นค่าขนมเด็กๆ

               

อนึ่งในงานนี้มีพิธีมอบรางวัลครอบครัวดีเด่นและส่งมอบข้อเสนอเชิงนโยบายให้คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอวารินชำราบ โดยมีธนาคม กองเพียร นายอำเภอวารินชำราบในฐานะประธานคณะกรรมการฯ เป็นผู้รับมอบ และยังมีซุ้มสาธิตการผูกเย็บผ้าขะม้าเป็นของขวัญ การทำเหรียญโปรยทาน


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"