WWFหวั่นโครงการทะวายตัดถนน138กม. กระทบสัตว์ป่าตามแนวชายแดนไทย-เมียนมาหลังพบแมวป่าใกล้่สูญพันธุ์7-5สายพันธุ์


เพิ่มเพื่อน    

        
   

หลังจากมีโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและท่าเรือน้้าลึกทวายเป็น ส่วนหนึ่งของแผนแม่บทการเชื่อมโยงเส้นทาง คมนาคมขนส่งของอาเซียน (ASEAN Connectivity) ซึ่งได้รับการผลักดันจากกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้้าโขงและญี่ปุ่นมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเปิดเส้นทางการค้าและประตูเชื่อมเศรษฐกิจฝั่งตะวันตกแห่งใหม่ ตามแนวระเบียงเศรษฐกิจตอนใต้ของอนุภูมิภาคลุ่มน้้าโขงหรือ Greater Mekong Sub-region (GMS) โดย ท่าเรือน้้าลึกทวายจะเป็นประตูการค้าฝั่งตะวันตกของภูมิภาค สร้างทางลัดโลจิสติกส์เชื่อมโยงภูมิภาคอาเซียนกับโลกตะวันออกและโลกตะวันตก สู่ตลาดในเอเชียใต้ ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปโครงการทวายเป็นโอกาสส้าคัญของประเทศไทยในการเปิดพื้นที่เศรษฐกิจแห่งใหม่ร่วมกับสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา 

การเกิดโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายฯ ทำให้ต้องมีการตัดถนนเพื่อเข้าสู่ตัวโครงการประมาณ 2เส้นเส้นแรกใช้ชั่วคราว เพื่อขนส่งท่อก๊าซน้ำมัน ทางรถไฟ ส่วนเส้นที่ สอง รองรับถนนหลวง 8 ช่องจราจร เพื่อทำสายส่งกระแสไฟฟ้า ท่อก๊าซและน้ำมัน และทางรถไฟ  ซึ่งพื้นที่ตัดถนนดังกล่าว เดิมก็คือพื้นที่ป่า ซึ่งทางรัฐบาลเมียนมา ออกมายืนยันว่าได้มีการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม หรืออีไอเอ แล้วก็ตาม แต่แน่นอนว่า ถ้ามีการตัดถนนจริง ก็จะทำให้สภาพป่าเปลี่ยนไป และย่อมมีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของสัตว์บริเวณนั้นอย่างแน่นอน 

ด้วยเหตุนี้่ ทางองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล WWF ประเทศไทย จึงได้ศึกษาพื้นที่โครงการ ตะนาวศรี-ถนนธงชัย เพื่อศึกษาถึงการตัดถนนว่าจะมีผลกระทบต่อสัตว์ป่าแถบเทือกเขาตะนาวศรี-ถนนธงชัยมากน้อยแค่ไหน โดยเริ่มเก็บข้อมูล ด้วยการดักถ่ายภาพสัตว์ป่าตั้งแต่ปี2561 และออกรายงานผลการศึกษาเมื่อเดือนพ.ย.2562 ที่ผ่านมา 


และรายงานฉบับล่าสุดจาก WWF เปิดเผยว่า   กว่า  1 ใน 5 ของสัตว์ในตระกูลแมวทั้งหมด 36 สายพันธุ์นั้น  พบได้ในพื้นที่กลุ่มป่าตะวันตกของประเทศไทย ซึ่งมีเขตแดนติดกันเมียนม่า และสถานการณ์ปัจจุบันของสายพันธุ์เหล่านี้กำลังตกอยู่ในสภาวะวิกฤตใกล้สูญพันธุ์ WWF เสนอทางเลือก 8 ประการเพื่อการอนุรักษ์ และวางแผนเพื่อปกป้องสัตว์ป่าเหล่านี้

เรแกน  ไพโรจน์มหากิจ ผู้จัดการพื้นที่โครงการ ตะนาวศรี-ถนนธงชัย  WWF ปรเทศไทยกล่าวว่า ในรายงานที่ชื่อว่า “ตะนาวศรี-ถนนธงชัย: แผ่นดินแห่งแมวป่า Dawna Tenasserim: The Land of Cats  ทางโครงการได้สำรวจสัตว์ตั้งแต่ เสือโคร่ง เสือดาว เสือดาวลายเมฆ เสือไฟ และแมวหินอ่อน รวมถึงแมวป่าชนิดอื่นๆ อาทิ แมวดาว ที่มีถิ่นอาศัยในพื้นที่บริเวณนี้ ซึ่งรวมถึงเสือปลา ก็อาจพบได้เช่นกัน ในพื้นที่กว่า 18 ล้านเฮคเตอร์ บริเวณป่าตะนาวศรี-ถนนธงชัย ซึ่งเป็นกลุ่มป่าที่มีพื้นที่ใหญ่และสมบูรณ์ที่สุดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และกว่า 82% ของพื้นที่นี้มีสภาพเป็นป่าดิบชื้น กระทั่งประชากรที่อาศัยอยู่ในเมียนมา และ ประเทศไทยอาจไม่เคยรู้ว่า พวกเขามี “บ้าน” อยู่ติดกับพื้นที่ซึ่งมีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ที่ซึ่งสัตว์ป่าหลายสายพันธุ์กำลังตกอยู่ในอันตรายเข้าข่ายใกล้สูญพันธุ์ 

 ผลการศึกษาพบว่า สัตว์ในวงศ์แมวป่า 7 หรือ 8 สายพันธุ์ยังคงกระจายตัวอยู่ในกลุ่มป่าแห่งนี้แม้จะมีปัจจัยการล่าสัตว์ป่าผิดกฎหมายคุกคาม นอกจากนั้นยังมีเรื่องของการถางป่าเพื่อนำพื้นที่ไปใช้สอยด้านเกษตรกรรม การก่อสร้างโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ และ การใช้พืนที่เพื่อการปศุสัตว์ การลดจำนวนลงของสัตว์ในสปีชียส์แมวป่านี้เกิดขึ้นทั่วเอเชีย ล่าสุด มีรายงานว่าเสือโคร่ง และเสือดาวสูญพันธุ์ไปแล้วอย่างสิ้นเชิงในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว


 “ความหลากหลายของสายพันธุ์แมวป่า และขนาดที่แตกต่างกัน  รวมถึงความสมบูรณ์ของผืนป่าในพื้นที่นี้มีความโดดเด่นผิดกับพื้นที่อื่นๆ” เรแกน  กล่าว และว่าแต่วันเวลาของสปีชีส์ต่างๆ ที่เริ่มหายากนั้น สั้นลงทุกที ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความพยายามของแต่ละประเทศ และการอนุรักษ์ของโลก ที่จะมองเห็นคุณค่าของสายพันธุ์ที่สำคัญ และลุกขึ้นมาจัดการแก้ไขกับปัจจัยที่คุกคามชีวิตของสัตว์เหล่านี้


 ผู้จัดการพื้นที่โครงการ ตะนาวศรี-ถนนธงชัย กล่าวอีกว่า งานวิจัย “ตะนาวศรี-ถนนธงชัย: แผ่นดินแห่งแมวป่า” รวบรวมหัวข้อสำคัญดังต่อไปนี้
- เมียนม่า เปิดเผยว่า พื้นที่แห่งนี้มีประชากรเสือโคร่งประมาณ 180-220 ตัวแต่มีการสำรวจพบ และติดตามเฝ้าระวังเพียงแค่ 8% หรือประมาณ 22 ตัวเท่านั้น 
- ในปีที่ผ่านมา มีการพบร่องรอยตีนของเสือโคร่งในอุทยานแห่งชาติกุยบุรีเป็นครั้งแรกในรอบ 7 ปี
- มีรายงานว่าเสือสูญพันธุ์แล้วในลาว เวียดนาม และเข้าใกล้สภาวะสูญพันธุ์ในกัมพูชา แต่ยังคงพบเสือชนิดนี้ในพื้นที่ ตะนาวศรี- ถนนธงชัย  แต่ประชากรกำลังลดลง และอยู่ในสภาวะอันตรายใกล้สูญพันธุ์
- กล้องดักถ่ายอัตโนมัติพบเสือไฟ 1 คู่ ในบริเวณใกล้กับพื้นที่ที่มีการสำรวจเพื่อสร้างถนนในเมียนมา ซึ่งพวกมันอาจได้รับผลกระทบในอนาคต
- แมวป่าซึ่งมีรายงานว่าสูญพันธุ์ไปแล้วจากประเทศไทย ถูกสำรวจพบด้วยกล้องดักถ่ายในพื้นที่ ตะนาวศรี-ถนนธงชัยในปี ค.ศ.2017 รัฐบาลไทยจัดให้เป็นสัตว์ที่อยู่ในสภาวะใกล้สูญพันธุ์จากภัยคุกคามที่มาจากการล่า และทำลายแหล่งที่อยู่อาศัย
- เสือดาวพบได้มากในบริเวณนี้ และในเมียนมาก็พบบ่อยครั้งจากภาพในกล้องดักถ่ายอัตโนมัติ
- เสือปลา ถูกพบได้บริเวณนอกพื้นที่ และเชื่อว่ายังคงมีพวกมันหลงเหลืออยู่
- จากข้อมูลของกล้องดักถ่ายในปี ค.ศ.2017-2018 พบสายพันธุ์ต่างๆ ประมาณ 6-7 ชนิดในเขตเมียนมา และไทย
- ปัจจัยคุกคามนั้นรวมถึงการพัฒนาโครงสร้างสาธารณูปโภค การล่าสัตว์ และการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย รวมถึงการขยายพื้นที่การเกษตร


  "รายงานฉบับนี้ชี้ให้เห็นถึงปัจจัยคุกคาม ได้แก่ การใช้พื้นที่เพื่อการเกษตร อาทิ การปลูกปาล์ม การทำไร่ข้าวโพดเพื่อการปศุสัตว์ และการปลูกถั่วพลู นอกจากนั้นยังมีการนำพื้นที่ไปใช้เพื่อขยายระบบสาธารณูปโภค เช่น ถนนเส้นใหม่ ทำให้การเข้าพื้นที่ของพรานป่าที่ล่าสัตว์ผิดกฎหมายทำได้ง่ายขึ้น นอกจากนั้น กับดักที่ชนพื้นเมืองทำขึ้นที่กระจายอยู่หลายร้อยอันในพื้นที่ป่าก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่คร่าชีวิตสัตว์ป่า "เรแกนกล่าว
 ไม่เพียงเท่านั้น โครงการก่อสร้างถนนบ้านทิกี้ เมืองทวาย  ที่จะเชื่อมตรงสู่ท่าเรือน้ำลึก ตามกรอบการสร้างเขตเศรษฐกิจใหม่ระหว่าง เมียนมา และไทย ไปยังพื้นที่ต่างๆ ในภูมิภาค ถือเป็นอีกหนึ่งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่คุกคามชีวิตของเสือโคร่งช้างป่า และอีกหลานสายพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้

 “การที่เราพบสัตว์ในวงศ์แมวหลายสายพันธุ์ในพื้นที่นี้ เป็นเพราะส่วนผสมของการทำงานอนุรักษ์ที่เข้มแข็งของประเทศไทย ในการจัดการดูแลพื้นที่อนุรักษ์ ร่วมกับการที่ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม และช่วยกันปกป้องพื้นที่” นิก คอกส์ รักษาการผู้อำนวยการ WWF เมียนมากล่าว และบอกอีกว่า “หากมีโครงการสร้างถนนเส้นใหม่ ควรจะต้องมีการพิจารณาถึงการทำพื้นที่ผ่านทางให้กับสัตว์ป่า ตามกลไกของการสร้างสาธารณูปโภคที่ยั่งยืนด้วย” 


 เรแกนกล่าวว่า  ตามประสบการณ์ที่เคยทำงานอาสาสมัครตามแนวชายแดนไทย พม่า เพื่อช่วยเหลือชุมชนกระเหรี่ยง ตามแนวชายแดน เห็นว่าแนวป่าชายแดนเทือกตะนาวศรี ถนนธงชัย ระหว่างไทยกับพม่าถือว่ายังมีระบบนิเวศความเป็นป่าที่ค่อนข้างสมบูรณ์ มีสัตว์ป่าหลายชนิด และสำรวจในตอนหลัง เสือดาวมีอย่างแน่นอน นอกจากนั้นยังมีสัตว์ป่าอีก 23ชนิด ซึ่งหากมีการตัดถนนตามแผนโครงการทะวาย ระยะทาง 138 กม.ก็น่าจะมีผลกระทบกับสัตว์ป่าบริเวณนั้นอย่างแน่นอน เพราะถนนใครๆ ก็รู้ว่าไม่ค่อยดีต่อสัตว์ป่า ซึ่งตนเองก็หวังว่า รัฐบาลไทยกับเมียนมา จะเห็นคุณค่าของสัตว์ป่า  เพราะหากป่าทางฝั่งเมียนมา ได้รับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ป่าหรืออุทยานฝั่งไทยก็น่าจะได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน 


"เงินลงทุนโครงการทะวายมาจากฝั่งไทย เราอยากให้รัฐบาลตระหนักในเรื่องนี้ อีกอย่างถ้าสัตว์ป่าหมด หรือป่าหมดไป ก็จะกระทบกับชีวิตคนท้องถิ่น เขาก็จะอยู่ยากด้วยเช่นกัน เรื่องนี้ รัฐบาลจะต้องคิดว่าทำอย่างไรถึงจะให้ชาวบ้านอยู่ได้ และควรมีการพูพคุยกับเขาว่าเขาโอเค กับสิ่งที่จะเกิดขึ้นหรือเปล่า"เรแกนกล่าว


 ซึ่งเป็นที่มาทำให้ WWF มีเสนอและข้อเรียกร้อง เพื่อดำรงความอุดมสมบูรณ์ และความหลากหลายทางชีวภาพของพื้นที่ป่าตะนาวศรี-ถนนธงชัย 8 ข้อได้แก่
1. ลงทุนมากขึ้นในบริเวณที่มีความอ่อนไหวเรื่องของประชากรสัตว์
2. จัดทำการสำรวจประชากรสัตว์ป่าและเหยื่อรวมถึงที่อยู่อาศัย
3. จัดทำแนวเขตอนุรักษ์ที่ชัดเจนระหว่าง 2 ประเทศ
4. สร้างเครือข่ายการปกป้องธรรมชาติที่เจ้มแข็งทั้ง 2 ประเทศ รวมทั้งดูแลจัดการเรื่องการบังคับใช้กฎหมายเพื่อปกป้องชุมชนรวมถึงความหลากหลายทางชีวภาพ
5. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่ทำงานในพื้นที่และชุมชน
6. เพิ่มการรับรู้ความสำคัญของพื้นที่ป่าบริเวณตะนาวศรี และถนนธงชัยให้เกิดขึ้นในวงกว้าง
7. เพิ่มกลไกการตรวจสอบและการป้องกันในพื้นที่ที่มีบริเวณกว้างขึ้น และครอบคลุมชนิดพันธุ์ที่มีความหลากหลาย
8. ตรวจสอบการทำงานในระดับนานาชาติในเรื่องของการวางแผนสร้างสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกใหม่ๆ เพื่อวัดผลกระทบที่จะเกิดกับพื้นที่และสัตว์ป่า

สัตว์ตระกูลแมวป่าที่พบในป่าเขตเมียนมา

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"