จากภูมิปัญญา"ช่างบ้านๆ" สู่นวัตกรรมสุดล้ำ


เพิ่มเพื่อน    

จักรยานปีนต้นมะพร้าว

 

     "ช่าง "หมายถึง ผู้ที่ชำนาญงานด้านฝีมือย่างใดอย่างหนึ่ง อาทิ ช่างไฟ ช่างไม้ ช่างแอร์ ช่างยนตร์ ช่างประปา ฯลฯ ที่เกิดจากการเรียนรู้ในสถาบัน หรือจากประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน  เพื่อแก้ปัญหาหรือซ่อมสิ่งที่ใช้ไม่ได้ให้กลับใช้ได้อีกครั้ง หรือประดิษฐ์ คิดค้นนวัตกรรมเพื่อในมาใช้ให้เกิดประโยชน์ บางชุมชน บางท้องถิ่น มีช่างที่ได้คิดค้นนวัตกรรมจากภูมิปัญญาดั้งเดิม ที่มีอยู่ผสมผสานกับเครื่องไม้เครื่องมือสมัยใหม่ มาใช้ในอาชีพ อย่างการทำสวน ทำนา ฯลฯ 


    ล่าสุด บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) ร่วมกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA และสถาบันเชนจ์ฟิวชั่น ได้จัดโครงการส่งเสริมนวัตกรรมช่างชุมชน โดยให้ช่างในชุมชนที่สนใจได้ร่วมส่งสิ่งประดิษฐ์เข้าประกวด เป็นครั้งแรก ที่มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนานวัตกรรมและยกระดับทักษะช่างชุมชน มุ่งเน้นแก้ไขปัญหาชุมชนท้องถิ่น สู่การเป็น นวัตกรช่างชุมชน และขยายผลสู่ระดับประเทศ  โดยได้คัดเลือกรอบแรกสำหรับสุดยอดนวัตกรรมช่างชุมชน 10 ผลงาน นอกจากนี้ยังได้เวิร์คช็อปการพัฒนาแนวคิดนวัตกรรมช่างชุมชน แบบ 4 มิติ (การออกแบบ, กลไกและวิศวกรรม, ต้นทุนราคา, การทำการตลาด) อีกด้วย โดยผลของรางวัลนวัตกรรมที่ชนะเลิศจะถูกคัดเลือกในเดือนมีนาคมนี้ 


     ดร. สุภามาส ตรีวิศวเวทย์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จากการมองเห็นว่าอาชีพ" ช่าง" อาจจะยังไม่ได้รับความสนใจจากสังคมเท่าที่ควร แต่สำหรับช่างในชุมชน  ช่างเป็นผู้สร้างและผู้ซ่อม แก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันให้กับทุกผู้คนในชุมชนหรือหมู่บ้าน  ถือว่าเป็นผู้สร้างคุณประโยชน์ให้เกิดขึ้นอย่างแท้จริง ทั้งยังเปรียบเสมือนปราชญ์ชุมชน ที่มีทั้งศักยภาพ และมีโอกาสที่จะนำความรู้ของช่างเหล่านี้ มาต่อยอด ขยายขีดสามารถจากการใช้แก้ปัญหาของพื้นที่ในแต่ละท้องถิ่นมาประยุกต์ให้ใช้งานได้ ในบริบทที่กว้างขึ้น โดย ช.การช่าง และNIA จึงได้สนับสนุนเงินทุนและการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคนิคต่างๆ โดยเฉพาะในด้านวิศวกรรมให้แก่ช่างชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อการพัฒนานวัตกรรมที่ก่อให้เกิดคุณค่าต่อสังคม ชุมชน เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนสอดคล้องกับพันธกิจของ ช. การช่าง ด้วย


    ดร. พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)หรือ NIA กล่าวเสริมว่า เป็นอีกหนึ่งบทพิสูจน์ให้เห็นว่าคนไทยในท้องถิ่นทั่วประเทศ ล้วนมีทักษะในด้านนวัตกรรมและกระบวนการคิดเชิงออกแบบที่มีศักยภาพ สามารถนำมาพัฒนาต่อยอดเป็นนวัตกรรมเพื่อสังคมที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตผู้คนได้ ด้วยจำนวนผลงานที่ส่งเข้าประกวดจำนวนมาก หลายผลงานมีพื้นฐานมาจากการพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์ทางเกษตรกรรมซึ่งเป็นวิถีชีวิตของคนไทยส่วนใหญ่ในท้องถิ่นเช่นเครื่องจักรกลเกษตร ระบบชลประทานการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ที่หาได้อย่างแพร่หลายในประเทศไทย แต่สามารถนำมาพัฒนาเพื่อนำไปใช้งานในบริบทที่กว้างขึ้น กลายเป็นนวัตกรรมที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับคนไทยในวงกว้าง

นวัตกรรมเครื่องอูดยุง


    สำหรับผลงานนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์โดยฝีมือช่างในชุมชน ที่ผ่านการคัดเลือกรอบแรกทั้ง 10 ทีม ได้แก่ เครื่องอูดยุง ของสุริยา คำคนซื่อ ต. นาขาม อ. เรณูนคร จ. นครพนม เจ้าของผลงานเล่าว่า แนวคิดที่เริ่มคิดสิ่งประดิษฐ์นี้ขึ้นมาเพราะในหมู่บ้านจะประสบปัญหาไข้เลือดออกทุกปี ซึ่งเครื่องพ่นยุงขนาดใหญ่ของหมู่บ้าน ซึ่งมีน้ำหนักมาก ต้องรอทีมจากอบต.หมู่บ้าน ในการไปพ่นตามบ้านและใช้เวลานานถึง 20 วันกว่าจะครบทุกหลัง จึงได้เกิดเครื่องพ่นยุงขนาดเล็กลงมา เป็นเครื่อง"อูดยุง" ซึ่ง คำว่า "อูด "หมายถึง การรบควันในภาษาอีสาน ให้กับอาสาสมัคร 80 คนในหมู่บ้านได้กระจายการพ่นอย่างทั่วถึงและรวดเร็ว ส่วนของประสิทธิภาพเทียบเท่ากับเครื่องใหญ่ เพราะหลังจากใช้มา 3 ปี คนในหมู่บ้านไม่มีคนเป็นไข้เลือดออกเลย อีกทั้งอุปกรณ์การทำก็หาซื้อได้ง่าย เพราะตนก็จะอัดวิธีการทำลงยูทูปช่อง suriyarnk และตอนนี้ก็ได้มีการทำจำหน่ายไปกว่า 200 เครื่องในราคาเครื่องละ 800 บาท ในอนาคตก็อยากจะต่อยอดให้เกิดประโยชน์ในชุมชนอื่นๆมากขึ้นด้วย

เครื่องบดผสมปุ๋ยหมักและดินปลูก ของสุรเดช ภูมิชัย 


    อีกหนึ่งผลงาน เครื่องบดผสมปุ๋ยหมักและดินปลูก ของสุรเดช ภูมิชัย ต. หนองล่อง อ. เวียงหนองล่อง จ. ลำพูน ที่ได้บอกว่า คนในชุมชนส่วนใหญ่ 90 เปอร์เซ็น ทำอาชีพเกษตรกร มีทั้งสวนลำไยและสวนมะม่วง และสวนผักอื่นๆอีก ซึ่งต้องยอมรับว่ามีการใช้ปุ๋ยสารเคมีเพื่อให้พืชผลเจริญเติบโต เพราะหาก รอปุ๋ยหมักก็ใช้เวลานาน ตนจึงได้คิดทำเครื่องบดนี้ขึ้นมา โดยใช้หลักเดียวกับเครื่องปั่นผลไม้ เพียงนำมาขยายขนาดให้ใหญ่ขึ้นจากถังน้ำมัน 200 ลิตร ใช้กำลังของเครื่องยนตร์ 8 แรง  โดยบดผสมปุ๋ยจากใบไม้พืชผลในสวนทำให้ได้ปุ๋ย 4-6 ตัน/วัน ผลผลิตก็เจริญเติบโตดีขึ้น ปลอดสารเคมีอีกด้วย  


    หรือผลงานจักรยานปีนต้นมะพร้าว ของณรงค์ หงส์วิชุลดา ต. กาบเชิง อ. กาบเชิง จ. สุรินทร์ ที่ต้องการแก้ปัญหาหาคนงานมาปีนต้นมะพร้าวในชุมชนตนเอง เพราะมะพร้าวเป็นสินค้าที่นำไปขายในประเทศกัมพูชาได้เงินดี แต่ไม่มีคนปีนขึ้นไปเก็บเพราะกลัวตก ด้วยอาชีพที่เป็นช่างทำเหล็กดัด ทำมุ้งลวด มาคิดประดิษฐ์จักรยานปีนต้นมะพร้าวขึ้นมา ก็ลองหาดูสิ่งประดิษฐ์เกี่ยวกับการปีนต้นมะพร้าวต่างๆ จนไปเจอจักรยานปีนต้นไม้ของญี่ปุ่น จึงได้นำมาดัดแปลงเป็นจักรยานที่เหมาะสมกับต้นมะพร้าว โดยทำจากเหล็กหนาอย่างดี พร้อมกับอุปกรณ์เซฟตี้ ซึ่งทำให้สะดวกและปีนง่ายขึ้น ลดการตกและการบาดเจ็บของตัวผู้ปีน ซึ่งก็ทำจำหน่ายในราคาเครื่อง 1,800บาท ในอนาคตก็อยากจะพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น 

เครื่องตัดหญ้าโซลาร์เซลล์


    ยังมีผลงาน เครื่องเจาะดินนิวบอร์น ของปรีชา บุญส่งศรี ต. โคกตูม อ. เมือง จ. ลพบุรี , เรือรดน้ำอัตโนมัติ ของสายธาร ม่วงโพธิ์เงิน ต. บางแก้วฟ้า อ. นครชัยศรี จ. นครปฐม ,รถไถนั่งขับอีลุย ของวิมล สุวรรณ ต. วังยาง อ.พรรณานิคม จ. สกลนคร, ตะบันน้ำถังแก๊ส ของอุดม อุทะเสน ต. โป่ง อ. ด่านซ้าย จ. เลย , กาลักน้ำประปาภูเขา จากกลุ่มช่างชุมชนเมืองจัง ต. เมืองจัง อ. ภูเพียง จ. น่าน, เครื่องตัดหญ้าโซลาร์เซลล์ ของกฤษณะ สิทธิหาญ ต. บุญนาคพัฒนา อ. เมือง จ. ลำปาง , และของเล่นไม้กลไกเคลื่อนไหว จากโรงเล่นและพิพิธภัณฑ์เล่นได้ ต. ป่าแดด อ. แม่สรวย จ. เชียงราย  โดยทั้ง 10 ทีมจะได้รับเงินทุนสนับสนุนสำหรับการพัฒนาผลงานในเบื้องต้น ก่อนที่จะมีการคัดเลือกผลงานที่ดีที่สุด จนได้เป็นนวัตกรรมต้นแบบที่สามารถเผยแพร่ใช้งานในวงกว้างเพื่อตอบโจทย์ปัญหาชุมชนและสังคมในบริบทได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

เครื่องรดน้ำอัตโนมัติ

 

กาลักน้ำ ประปาภูเขา

ของเล่นไม้กลไกเคลื่อนไหว

ตะบันน้ำถังแก๊ส

สว่านเจาะดินนิวบอร์น

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"