"หมอยง" คาดจีนน่าใช้เวลาประมาณ 1 ปี กว่าจะคุมโคโรนาไวรัสได้อยู่หมัด


เพิ่มเพื่อน    

11 ก.พ. 63- ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  -ในงานเสวนา “ตระหนัก ดีกว่า ตระหนก เรียนรู้ป้องกัน โคโรนาไวรัส 2019” ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เผยว่า โคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นในจีนตั้งแต่ช่วงต้นเดือน ธ.ค.2019 หลังจากพบผู้ป่วยมีอาการปอดบวมไม่ทราบสาเหตุ แต่ทางการจีนเพิ่งประกาศว่าเป็นไวรัสระบาดที่คล้ายกับโรคซาร์สในอดีต จนมีการเปิดเผยรหัสพันธุกรรมในช่วงต้นเดือน ม.ค.ในปีนี้ และมีการตั้งชื่อเป็นโคโรน่า เพราะจากการส่องกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน พบลักษณะของไวรัสคล้ายมงกุฏ จึงตั้งชื่อโคโรน่า ที่แปลว่ามงกุฏ ซึ่งไวรัสตัวนี้สามารถเกิดขึ้นทั้งในคนและสัตว์ทุกสปีชีส์ เช่น ในสุนัข, หมู จะเกิดอาการท้องเสีย ในหนูเกิดตับอักเสบ ในไก่เกิดหลอดลมอักเสบ ฯลฯ 


ที่ผ่านมามีการตั้งข้อสงสัยมากมาย มีการเชื่อว่าการเกิดขึ้นของไวรัสนี้ เกิดในรุ่นที่ 4 ซึ่งหมายถึง จากต้นตอติดไปยังกลุ่มหนึ่ง แล้วกลุ่มนี้ ก็ไปติดอีกกลุ่มหนึ่งทำให้หาคนแรกหรือต้นตอยาก แล้วก็คาดกันว่าต้นเหตุมาจากตลาดแห่งหนึ่งในเมืองอู่ฮั่น แต่ผู้ป่วยรายแรกที่พบกลับไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับตลาดดังกล่าว แล้วก็คาดการณ์กันอีกว่าน่าจะมาจากหนู หรืองู จนกระทั่งค้างคาว เพราะตัวค้างคาวเป็นสัตว์บินได้น่าจะนำเชื้อโรคมา แต่คนที่จะติดได้ก็น่าจะเป็นคนที่กินค้างคาว หรือใกล้ชิดกับค้างคาว ทั้งนี้ ยังไม่ใช่ข้อมูลที่ชัดเจนว่าจริงๆ แล้วค้างคาวเป็นต้นเหตุ หรือเป็นเพียงตัวกลางนำเชื้อไวรัสมาสู่คนกันแน่ จนกระทั่งล่าสุดวันที่ 7 ก.พ.มีการสงสัยตัว ‘นิ่ม’ ซึ่งซาร์สก็เคยสงสัยตัวนิ่มเช่นกัน เพราะนิ่มเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่ลำเลียงมาจากฝั่งใต้ประเทศเราอย่างมาเลเซีย  เข้าไปขายในจีน แล้วพบว่ามีลักษณะของรหัสพันธุกรรมใกล้เคียงกับรหัสพันธุกรรมของโคโรน่าไวรัสถึง 99% จากการทดสอบตัวอย่าง 1,000 ชิ้นที่ได้จากสัตว์ป่า และคนจีนบริโภคนิ่มก็เลยเข้าข่ายต้องสงสัย

ศ.นพ.ยง กล่าวอีกว่า ความเสี่ยงเสียชีวิตของโคโรนาไวรัสน่าจะน้อยกว่า 1% เพราะถ้าดูจากจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันในจีนจำนวนหลักหมื่น และเสียชวิตหลักพันคิดเป็นเปอร์เซ็นแค่ 2% จากจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด ซึ่งในจำนวนผู้เสียชีวิตเป็นที่ทราบกันดีว่า  ส่วนใหญ่เป็นคนอายุมากและมีโรคแทรกซ้อน เช่น ความดัน เบาหวาน ฯลฯ และเด็กพบน้อยมาก จากรายงานแรกที่ออกมาของจีนมีผู้ป่วย สี่หมื่นกว่าราย มีเด็กเพียง 28 ราย เด็กที่ตรวจเจอคือใกล้ชิดกับผู้ป่วย ทั้งนี้  ไวรัสตัวนี้ไม่ต่างจากไข้หวัดที่ลงปอด ทำให้ปอดบวม จึงเป็นไข้หวัดชนิดหนึ่งที่อาจจะหนักกว่าไข้หวัดใหญ่ ด้วยลักษณะอาการไม่มีทางแยกได้ต้องใช้วิธีตรวจในห้องปฏิบัติการ ช่วงนี้โรงพยาบาลเอกชนรับตรวจทางห้องปฏิบัติการเยอะมาก แต่ส่วนใหญ่เป็นเนกาทีฟหมด เพราะคนตระหนก อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ เชื้อไวรัสออกทางอุจจาระได้  เพราะถ้าย้อนไปดูโรคซาร์สก็เคยจรวจพบในปัสสาวะและอุจจาระเช่นกัน แสดงว่าโคโรนาไวรัสอาจจะพบได้ แต่ไม่ต้องกังวลเพราะคงไม่มีใครไปสัมผัสโดยตรง หากจะเข้าห้องน้ำก็ปิดชักโครกแล้วกดน้ำเพื่อไม่ให้กระเด็น เพราะส่วนใหญ่จะอยู่กับทางเดินหายใจมากกว่า

“จากจำนวนผู้ป่วยในจีนช่วงแรกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตอนนี้จำนวนผู้ป่วยค่อนข้างคงที่ อยู่วันละประมาณ 6% และมีแนวโน้มเหมือนจะลดลงเรื่อยๆ ซึ่งแสดงว่าจีนเริ่มควบคุมได้ มีมาตรการในการควบคุมแบบได้ผล แต่ถ้าจะหยุดได้จริงๆ คาดอาจจะใช้เวลานานกว่าซาร์ส ที่ใช้เวลา 9 เดือน ความน่าจะเป็นก็น่าจะประมาณ 1 ปี แต่จำนวนของผู้ป่วยมากกว่าซาร์สถึง 5 เท่า เพราะซาร์สมีป่วยประมาณ 8,000 คนในเวลา 9 เดือน ขณะที่โคโรนา สองเดือนกว่ามีมากกว่า 40,000 คน ที่มากกว่าเพราะโรคสองโรคนี้ต่างกันตรงที่ โคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ มีการแพร่ระบาดง่ายกว่า รวดเร็วกว่า ขณะที่อัตราตายก็น้อยกว่าซาร์สมาก” ศ.นพ.ยง กล่าว

หัวหน้าศูนย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไวรัสวิทยาคลินิกฯ กล่าวสรุปอีกว่า สาเหตุส่วนหนึ่งที่ไวรัสกระจายง่ายเพราะช่วงนี้จีนอยู่ในฤดูหนาว สำหรับไทยอาจจะโชคดี เราอยู่ในเขตร้อน อากาศร้อนมากตลอดปี ไวรัสตัวนี้ไม่ชอบอากาศร้อน ถ้าอากาศยิ่งร้อนก็จะตายง่าย เพราะฉะนั้นโรคทางเดินหายใจ ในฤดูร้อนจะพบน้อยมาก แต่อย่างไรก็ตามเราจะต้องตระหนักในการควบคุม ป้องกัน แม้ว่าโรคจะน้อยลงไปแล้ว เราจะต้องดูแลไม่ให้เกิดขึ้น เพราะหลังจากฤดูร้อน เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนจะเป็นฤดูกาลของโรคทางเดินหายใจที่พบบ่อยในประเทศไทย ด้วยเหตุนี้เรายังมีเวลาเตรียมตัว แต่ต้องไม่ประมาทให้เกิดการระบาดในฤดูร้อน

ด้าน ผศ.นพ.โอภาส พุทธเจริญ หัวหน้าศูนย์โรคอุบัติใหม่ด้านคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เผยว่า ตอนนี้ยังไม่มียาตัวไหนที่ใช้ในการรักษาโคโรนาไวรัสพันธุ์ใหม่ ดีที่สุดหรือยืนยันว่ามีประสิทธิภาพ จึงอยู่ในระหว่างการศึกษา คิดค้นยา และวัคซีน เพราะเป็นโรคใหม่ ส่วนการใช้แอนตี้บอดี้กับผู้ป่วยอาจจะได้ผล แต่ต้องตามดู  เพราะมีคนที่จะได้รับการรักษาแบบนี้ จะมีเพียงไม่กี่กรณี แต่น่าจะลอง เพราะในอดีตเคยมีการใช้เซรั่มจากคนที่ป่วยมาให้คนป่วยอีกคน   เพราะหลักการ คือ คนติดเชื้ออยู่ร่างกายมีการสร้างแอนตี้บอดี้ มาลดปริมาณเชื้อ แต่ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูล อาจจะต้องรอดูเป็นกรณีๆ ไป พื้นฐานของโรคไวรัสถ้าคนที่มีภูมิต้านทานมาก ก็อาจจะหายได้เอง หรือรักษาแบบประคับประคองตามอาการ ไม่ต้องใช้ยาพิเศษ เช่น เป็นไข้ก็ให้ยาลดไข้ ขาดน้ำ ถ้าดื่มไม่ได้ก็ต้องให้น้ำเกลือ ซึ่งคนไข้ส่วนใหญ่ที่มีอาการไม่รุนแรงจะหายเอง การใช้ยาบางตัวเช่น เสตียรอยด์  ปกติปอดอักเสบจากไวรัส ใช้เสตียรอยด์อาจจะช่วย  แต่ในภาวะแบบนี้ แพทย์จะไม่แนะนำให้ใช้เลย เพราะการให้เสตียรอยด์  อาจจะทำให้ไวรัสอยู่นานขึ้น ส่วนผู้ป่วยรุนแรงในทางรักษาที่ทำอยู่มีการใช้เครื่อง ECMO (แอคโม่) กับคนไข้ที่มีอาการหนัก มีอาการทางปอดมาก ปอดอักเสบ จะมีการแลกเปลี่ยนแก๊สไม่ได้ ตัวนี้จะมีการประคับประคองคนไข้ คือ ดึงเลือดออกมา อัดออกซิเจนเข้าไปแล้วฉีดเข้าไปใหม่ เพื่อให้ปอดพัก


    ขณะที่ พญ.วรรษมน จันทรเบญจกุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ คณะแพทยศาสตร์ จุฬา กล่าวว่า อย่างไรก็ตามทุกคนไม่ต้องตระหนกกับไวรัสตัวนี้มากเกินไป เพียงแต่รักษาสุขอนามัยเบื้องต้นเหมือนที่เคยทำ เช่น สวมใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือด้วยสบู่ หรือเจลล์แอลกอฮอร์ ฯลฯ ไอจามก็ให้ใช้สิ่งปิด ไม่ใช้มือ ซึ่งจริงๆ แล้ว การดูแลตนเองให้ดีที่สุดคือการล้างมือ ซึ่งปลอดภัยกว่าการสวมใส่หน้ากากอีก คนที่จะเสี่ยงคือคนที่มาจากจีน มีความใกล้ชิดกับผู้ป่วยโดยตรง หรือติดจากผู้ป่วยในสถานที่ไม่กว้างมาก อย่างในรถยนต์ หรือห้องเล็กๆ และไม่ต้องกังวลว่าเชื้อที่อยู่ภายนอกอย่างเสื้อผ้า สิ่งของ จะเป็นอันตราย เพราะแค่ซัก ล้าง ด้วยผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน ก็เพียงพอแล้ว มันเป็นสิ่งที่เราต้องดูแลตนเองในชีวิตประจำวัน เพราะฉะนั้นอย่าตระหนกมากเกินไป แต่ก็ควรตระหนักในการดูแลตนเองมากกว่าเดิม


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"