"สรรพสามิต"จ่อรีดภาษีสินค้าปล่อยก๊าซ Co2 หนัก


เพิ่มเพื่อน    

 "สรรพสามิต" ถก "พลังงาน" จ่อรีดภาษีกลุ่มสินค้าที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทำลายสิ่งแวดล้อมเพิ่ม หวยออกที่กลุ่มน้ำมันขายตามสถานีบริการน้ำมันทั่วประเทศ "เบนซิน-ดีเซล-โซฮอลล์" เข้าข่าย หลังพบปล่อยก๊าซทำลายสิ่งแวดล้อมหนัก เล็งรีดภาษีรถมอเตอร์ไซด์ เหตุปล่อยก๊าซคาร์คอนไดออกไซด์ไม่แพ้กัน

26 มี.ค. 61-นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า กรมฯ ได้มีการหารือกับกระทรวงพลังงาน เพื่อหาแนวทางในขยายฐานการจัดเก็บภาษีก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ (CO2) กลุ่มสินค้าที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทำลายสิ่งแวดล้อมเพิ่ม โดยกรอบการหารือพูดถึงชนิดของสินค้า และปริมาณที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ รวมถึงรูปแบบการเก็บภาษี เพื่อนำมาเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาว่า สินค้าใดควรเข้าข่ายการเสียภาษีเพิ่มบ้าง และอัตราภาษีที่เหมาะสมควรอยู่ที่เท่าไร แต่ขณะนี้ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้ว่าจะเก็บภาษีดังกล่าวเพิ่มจากสินค้าชนิดใด

"กรมฯยืนยันว่าการเก็บภาษี CO2 ไม่ใช่เรื่องใหม่เพราะก่อนหน้านี้ก็เคยเก็บภาษีจากสินค้าบางประเภทไปแล้ว เช่น รถยนต์ และที่สำคัญการเก็บภาษีจะไม่สร้างภาระให้กับผู้บริโภคให้มีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นแบบมีนัยยะ เพราะกรมฯต้องการแค่ขยายฐานการเก็บภาษีให้กว้างขึ้น สอดคล้องกับมาตรฐานการเก็บภาษีสากลที่หลายประเทศก็มีการเก็บภาษีในสินค้าที่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม" นายกฤษฎา กล่าว

รายงานข่าวจากกรมสรรพสามิต ระบุว่า ในการหารือของกรมสรรพสามิตและกระทรวงพลังงาน ได้พิจารณาเตรียมเก็บภาษีคาร์บอนไดออกซ์ จากน้ำมันเชื้อเพลิง ทั้งกลุ่มเบนซิน ดีเซล แก๊สโซฮอล ที่จำหน่ายตามสถานีบริการน้ำมันทั่วประเทศ เนื่องจากน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นตัวกลางที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก่อให้เกิดมลพิษอย่างมาก อย่างไรก็ตามยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะเก็บภาษีในอัตราเท่าไร แต่หลักการคือจะไม่กระทบต่อราคาขายปลีกน้ำมันในปัจจุบัน และสร้างความเดือดร้อนให้ประชาชน

ทั้งนี้ ได้มีข้อเสนอให้กระทรวงพลังงานลดการนำส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง จากเชื้อเพลิงที่ใช้ภายในประเทศ  เพื่อนำเงินส่วนต่างที่ลดลงจากการส่งเข้ากองทุนฯ มาจ่ายเป็นค่าภาษีก๊าซคาร์บอนไดออกซ์แทน โดยเชื่อว่าวิธีนี้จะทำให้ไม่เป็นภาระแก่ผู้บริโภค เพียงแต่เป็นการปรับการบริหารจัดการ โดยโยกจากเงินนำส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ บางส่วนมาแบ่งจ่ายภาษีแก่สรรพสามิตแทน ซึ่งแนวทางทั้งหมดคาดว่าจะสรุปภายใน 1-2 เดือนนี้ เพื่อเสนอให้กระทรวงการคลังพิจารณา

นอกจากนี้กรมสรรพสามิต ยังอยู่ระหว่างศึกษาจัดเก็บภาษีรถจักรยานยนต์ตามอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  ซึ่งคาดว่าจะเก็บภาษีเพิ่มเพียงคันละ 150-250 บาท จึงไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อการเพิ่มราคาขายปลีกรถจักรยานยนต์ และทำให้ผู้บริโภค ผู้มีรายได้น้อยได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากผู้ผลิตอาจเลือกรับภาระภาษีไว้เอง

“การศึกษาแนวทางการจัดเก็บภาษีรถจักรยานยนต์ตามอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ พบว่าปัจจุบันรถจักรยานยนต์ที่ใช้ในประเทศ 80% เป็นรถจักรยานยนต์มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 150 ซีซี มีราคาขายปลีกประมาณ 3-5 หมื่นบาทต่อคัน ซึ่งมีภาระภาษีสรรพสามิต 750-1,250 บาทต่อคัน แต่หากมีการจัดเก็บภาษีรถจักรยานยนต์ตามอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จะมีภาระภาษีเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพียง 0.5% ของราคาขายปลีก หรือมีภาระภาษีเพิ่มขึ้นเล็กน้อยประมาณ 150-250 บาทต่อคัน” รายงานข่าว ระบุ 

อย่างไรก็ดี กรมสรรพสามิตมีการจัดเก็บภาษีรถจักรยานยนต์ ตามหลักการความฟุ่มเฟือย โดยแบ่งประเภทของอัตราภาษีตามขนาดความจุของกระบอกสูบ แต่เนื่องจากเทคโนโลยีการผลิตมีการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ดังนั้น จึงมีแนวคิดในการจัดเก็บภาษีรถจักรยานยนต์ตามอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นไปตามหลักการจัดเก็บภาษีเพื่อสิ่งแวดล้อม และจะส่งผลดีต่อการสนับสนุนขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบอุตสาหกรรมในประเทศในการพัฒนาเทคโนโลยีรถจักรยานยนต์ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"