ขสมก. โต้“นักวิชาการ”ผลทดลองติดเครื่องกรองอากาศบนหลังคารถเมล์ได้ผลจริง ไม่ลวงโลก


เพิ่มเพื่อน    

18 ก.พ.63-นายสุระชัย เอี่ยมวชิรสกุล ผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เปิดเผยว่า ตามที่นักวิชาการได้แสดงความคิดเห็นต่อกรณีที่ ขสมก.ติดตั้งเครื่องกรองอากาศบนหลังคารถโดยสาร ของ ขสมก. เป็นเรื่องลวงโลกเช่นเดียวกับเครื่อง GT 200 นั้น ขสมก. ยืนยันว่า จากนโยบายเร่งด่วนของกระทรวงคมนาคม ในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จึงได้ทดสอบติดตั้งเครื่องกรองอากาศต้นแบบ สำหรับติดตั้งบนหลังคารถเมล์ ขสมก. เพื่อทดลองกรองอากาศ เพื่อดักจับฝุ่น PM 2.5 ในขณะที่รถโดยสารวิ่งให้บริการประชาชน

ทั้งนี้ การทำงานของเครื่องต้นแบบนั้น ใช้หลักการกวาดอากาศที่มีฝุ่นละออง PM 2.5 ซึ่งลอยอยู่บนถนนที่มีการจราจรแออัดในกรุงเทพมหานคร ในระดับสูงไม่เกิน 5 เมตร เมื่อรถวิ่งจะทำให้อากาศปะทะเข้าหน้ารถ และผ่านเข้าเครื่องกรองโดยอัตโนมัติ รวมถึงเป็นการประหยัดพลังงาน เนื่องจากไม่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้าในการดูดลมเข้าเครื่องกรองดังเช่นเครื่องกรองอากาศทั่วไป ในส่วนของไส้กรองอากาศนั้น สามารถกรองฝุ่นระดับ PM 2.5 ได้ มีราคาถูก และสามารถหาซื้อได้ทั่วไป อย่างไรก็ตาม หลักการทำงานของเครื่องต้นแบบดังกล่าว เป็นหลักการเดียวกับการใช้แก้ปัญหาในเมืองเซาแธมป์ตัน ประเทศอังกฤษ

นายสุระชัย กล่าวต่ออีกว่า รถเมล์ ขสมก.ที่ติดตั้งเครื่องกรองอากาศบนหลังคา มีหน้ากว้าง 0.5 ลูกบาศก์เมตร จะสามารถกวาดอากาศเข้าเครื่องกรองได้ 10,000 ลูกบาศก์เมตรต่อการวิ่งรถ 1 เที่ยว (เมื่อรถโดยสารวิ่งด้วยความเร็วเฉลี่ย 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในระยะทางยาว 20 กิโลเมตร) โดยงานวิจัยในต่างประเทศ ระบุว่า ผู้ใหญ่ 1 คน จะสูดอากาศหายใจเฉลี่ย 0.5 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ดังนั้น รถโดยสาร 1 คัน จะสามารถกรองอากาศให้กับประชาชนที่อยู่บนถนนได้ถึง 20,000 คน

อย่างไรก็ตามจากการทดลองนำรถเมล์ ขสมก. สาย 34 ที่ติดตั้งเครื่องกรองอากาศบนหลังคารถมาวิ่งให้บริการประชาชน เมื่อวันที่ 12 ก.พ. 2563 นั้น พบว่า ในขณะที่รถวิ่ง ผลการวัดค่า PM 2.5 อากาศก่อนเข้าเครื่องกรอง มีค่าอยู่ในระดับ 48-52 (คุณภาพอากาศปานกลาง) และเมื่ออากาศที่ผ่านเครื่องกรองออกมาแล้ว มีค่าอยู่ในระดับ 1-5 (คุณภาพอากาศดีมาก)

“การทดลองนี้ เป็นความพยายามในการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนของประชาชน โดยกระทรวงคมนาคม ได้แต่งตั้งคณะทำงานจากหลายหน่วยงาน และ ขสมก. ได้ดำเนินการทดลองนี้ เป็นไปตามนโยบายของกระทรวงคมนาคม ซึ่งหากการทดลองต่อเนื่องได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จึงจะดำเนินการต่อไปให้ถูกต้องตามกฎหมาย ตามหลักเกณฑ์ของสำนักวิศวกรรมยานยนต์ กรมการขนส่งทางบก (ขบ.)” นายสุระชัย กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า “ติดกล่องกรองอากาศบนหลังคารถเมล์ มันก็เรื่องลวงโลก แบบเดียวกับเครื่อง GT200 แหละ... หวังว่านี่ก็ปี 2020 แล้ว ประชาชนคงไม่โดนหลอกกันง่ายๆ อีกนะ”

ซึ่งคำนวณว่า "กล่องกรองอากาศ ด้วยแผ่นฟิลเตอร์" ของ ขสมก. ถ้าทำงานได้ตามที่อ้างไว้ และติดบนรถเมล์จำนวน 500 คัน ไปกรองอากาศเสียในกรุงเทพฯ จะได้ผลเป็นอย่างไร ? คำตอบคือ ได้แค่จุดพิกเซลเดียว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"