เปลือยธาตุแท้ 'สนช.'จำทนยื่น 'พ.ร.ป.ส.ส.' 


เพิ่มเพื่อน    

         ในที่สุด สนช.ก็ไม่สามารถดันทุรังฟื้นกระแสสังคม จำทนต้องยื่นตีความร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ว่าขัดเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญต่อศาลรัฐธรรมนูญ หลังพยายามบ่ายเบี่ยงมานาน

         ท่ามกลางข้อเรียกร้องก่อนหน้านี้ โดยเฉพาะ "มีชัย ฤชุพันธุ์" ประธาน กรธ. ทำความเห็นเป็นลายลักษณ์อักษร เสนอ "พรเพชร วิชิตชลชัย" ประธาน สนช. ไม่เห็นด้วย 2 ประเด็น และสุ่มเสี่ยงขัดรัฐธรรมนูญ คือ 1.การตัดสิทธิ์เป็นข้าราชการการเมืองหากไม่ไปเลือกตั้ง และ 2.การให้บุคคลอื่นหรือกรรมการประจำหน่วยลงคะแนนแทนผู้พิการ และให้ถือเป็นการออกเสียงโดยตรงและลับ โดย กรธ.กังวลว่าจะไม่เป็นการลงคะแนนโดยลับ 

         พร้อมยกคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 9/2549 ที่ระบุหลักการเลือกตั้งโดยลับ ว่าจะต้องดำเนินการเลือกตั้งโดยไม่ให้ผู้ใดทราบเลยว่าผู้ลงคะแนนตัดสินใจเลือกใคร 

          แต่ข้อเสนอดังกล่าวก็ไม่ได้รับการแยแสไยดี จากประธาน สนช. และ สนช. และยืนยันว่าประเด็นดังกล่าวไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ท่ามกลางข้อสังเกตว่า เป็นการวางกับระเบิดเวลาของ สนช. ต้องการให้มีผู้ใดยื่นเรื่องตีความในประเด็นในช่วงจัดการเลือกตั้ง และอาจส่งผลให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ หรือกฎหมายถึงขั้นมีอันพับไปหรือไม่ รวมทั้งความวุ่นวายต่างๆ

         หลังจากก่อนหน้านี้  “สนช.” ก็เพิ่งหมกเม็ดแสดงอภินิหารทางกฎหมาย ขยายเวลาการบังคับร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.ออกไป 90 วัน หลังประกาศในราชกิจจานุเษกษา ขยับโรดแมปจากเดิมที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เคยประกาศไว้จะมีการเลือกตั้งในช่วงเดือน พ.ย.2561 ขยายออกไปเป็นเดือน ก.พ.2562

         นอกจากนี้ยังมีเหตุผลรองที่ทำให้สถานะ สนช.ต้องการอยู่ในอำนาจ คือท่าทีของนายสมชาย แสวงการ เลขานุการวิป สนช. ที่เชิญชวนให้พรรคการเมืองร่วมลงสัตยาบัน ให้มีการเลื่อนเลือกตั้งออกไปอีก 3 เดือนจากโรดแมป แลกกับกรณี สนช.จะยื่นตีความ พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ต่อศาลรัฐธรรมนูญ

         จนทำให้นักการเมืองแฉกลับอย่างดุเดือด ให้เห็นถึงเจตนาที่แท้จริงว่าต้องการอะไร และทำท่าว่าเผือกร้อนดังกล่าวนี้กำลังจะไปตกที่ตักของนายกฯ อย่างปฏิเสธไม่ได้ ว่าเป็นทฤษฎีสมคบคิด ต้องการลากการเลือกตั้งออกไปหรือไม่

         เรื่องลุกลาม จนกระทั่งประธาน สนช.ส่งร่างกฎหมายดังกล่าวไปถึงนายกฯ เพื่อทูลเกล้าฯ ถวาย พร้อมข้อเรียกร้องจากสังคมให้นายกฯ ยื่นตีความด้วยตัวเอง เพราะหมดความหวังกับ สนช. หลังเปลือยธาตุแท้ไปจนสิ้น เนื่องจากรัฐธรรมนูญเปิดช่องให้ 2 นิติบุคคล คือ สนช. 1 ใน 10 หรือจำนวน 25 คน หรือนายกฯ สามารถยื่นเรื่องตีความได้ 

         นายกฯ ก็รับรู้สถานการณ์กระแสสังคมที่เรียกร้องเป็นอย่างดี โดยเฉพาะจากคนใกล้ชิดอย่างนายมีชัย ประธาน กรธ.และอีกหนึ่งสถานะก็เป็นสมาชิก คสช. ที่คงกระซิบให้เห็นว่า หากปล่อยให้ประเด็น พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.คาราคาซังบานปลายต่อไปจะไม่เป็นผลดีต่อแม่น้ำทุกสาย โดยเฉพาะภาพลักษณ์ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่จะเป็นนายกฯ รอบ 2 หลังการเลือกตั้ง  

       จึงเชื่อว่าจะเป็นเหตุผลสำคัญที่นายกฯ เชิญประธาน สนช.มาหารือเมื่อต้นสัปดาห์ พร้อมกับต้องส่งสัญญาณไปที่ สนช.ให้ยื่นเรื่องดังกล่าวไปให้ศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้เรื่องยุติ

          พร้อมกับเลี่ยงกระแส และ พล.อ.ประยุทธ์ ก็ไม่ต้องยื่นเรื่องด้วยตัวเอง เพราะจะได้ไม่ถูกโจมตีจากฝ่ายการเมืองว่าจงใจและประกาศตัวว่าต้องการยื้อเลือกตั้งออกไปหรือไม่ และลดขั้นตอนที่นายกฯ อาจต้องไปชี้แจงในศาลรัฐธรรมนูญ และอาจให้ข้อมูลไม่ครบ เพราะไม่ได้เป็นคนร่างกฎหมายมาตั้งแต่ต้น  

         ที่สำคัญไม่อยากถูกยกเป็นฮีโร่ ให้ฝ่ายการเมืองนำมาหยิบเป็นประเด็นซ้ำเติมขยี้ภาพลักษณ์ของ สนช.ที่หมดความชอบธรรมหมดไปแล้ว    

         ซึ่งล่าสุดขณะนี้ สนช.นำโดย นายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ สมาชิก สนช. ได้ขานรับกับท่าทีนายกฯ และรวบรวมรายชื่อ สนช.ได้ครบแล้ว 25 คน และคาดว่าจะยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย พ.รป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ในวันที่ 2 เม.ย.นี้ โดยเชื่อว่าจะใช้เวลาพิจารณาภายใน 2 เดือน และไม่กระทบต่อโรดแมป 

         ก็หวังว่าหลังจากนั้นเส้นทางการเลือกตั้งจะเดินตามที่นายกฯ ประกาศไว้   โดยไม่เห็นอภินิหารใดๆ ยื้อหรือถ่วงเวลาต่อไปอีก.

 

 

 

 

 

                                  เปลือยธาตุแท้ 'สนช.'

                           จำทนยื่น 'พ.ร.ป.ส.ส.'    

         ในที่สุด สนช.ก็ไม่สามารถดันทุรังฟื้นกระแสสังคม จำทนต้องยื่นตีความร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ว่าขัดเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญต่อศาลรัฐธรรมนูญ หลังพยายามบ่ายเบี่ยงมานาน

         ท่ามกลางข้อเรียกร้องก่อนหน้านี้ โดยเฉพาะ "มีชัย ฤชุพันธุ์" ประธาน กรธ. ทำความเห็นเป็นลายลักษณ์อักษร เสนอ "พรเพชร วิชิตชลชัย" ประธาน สนช. ไม่เห็นด้วย 2 ประเด็น และสุ่มเสี่ยงขัดรัฐธรรมนูญ คือ 1.การตัดสิทธิ์เป็นข้าราชการการเมืองหากไม่ไปเลือกตั้ง และ 2.การให้บุคคลอื่นหรือกรรมการประจำหน่วยลงคะแนนแทนผู้พิการ และให้ถือเป็นการออกเสียงโดยตรงและลับ โดย กรธ.กังวลว่าจะไม่เป็นการลงคะแนนโดยลับ 

         พร้อมยกคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 9/2549 ที่ระบุหลักการเลือกตั้งโดยลับ ว่าจะต้องดำเนินการเลือกตั้งโดยไม่ให้ผู้ใดทราบเลยว่าผู้ลงคะแนนตัดสินใจเลือกใคร 

          แต่ข้อเสนอดังกล่าวก็ไม่ได้รับการแยแสไยดี จากประธาน สนช. และ สนช. และยืนยันว่าประเด็นดังกล่าวไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ท่ามกลางข้อสังเกตว่า เป็นการวางกับระเบิดเวลาของ สนช. ต้องการให้มีผู้ใดยื่นเรื่องตีความในประเด็นในช่วงจัดการเลือกตั้ง และอาจส่งผลให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ หรือกฎหมายถึงขั้นมีอันพับไปหรือไม่ รวมทั้งความวุ่นวายต่างๆ

         หลังจากก่อนหน้านี้  “สนช.” ก็เพิ่งหมกเม็ดแสดงอภินิหารทางกฎหมาย ขยายเวลาการบังคับร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.ออกไป 90 วัน หลังประกาศในราชกิจจานุเษกษา ขยับโรดแมปจากเดิมที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เคยประกาศไว้จะมีการเลือกตั้งในช่วงเดือน พ.ย.2561 ขยายออกไปเป็นเดือน ก.พ.2562

         นอกจากนี้ยังมีเหตุผลรองที่ทำให้สถานะ สนช.ต้องการอยู่ในอำนาจ คือท่าทีของนายสมชาย แสวงการ เลขานุการวิป สนช. ที่เชิญชวนให้พรรคการเมืองร่วมลงสัตยาบัน ให้มีการเลื่อนเลือกตั้งออกไปอีก 3 เดือนจากโรดแมป แลกกับกรณี สนช.จะยื่นตีความ พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ต่อศาลรัฐธรรมนูญ

         จนทำให้นักการเมืองแฉกลับอย่างดุเดือด ให้เห็นถึงเจตนาที่แท้จริงว่าต้องการอะไร และทำท่าว่าเผือกร้อนดังกล่าวนี้กำลังจะไปตกที่ตักของนายกฯ อย่างปฏิเสธไม่ได้ ว่าเป็นทฤษฎีสมคบคิด ต้องการลากการเลือกตั้งออกไปหรือไม่

         เรื่องลุกลาม จนกระทั่งประธาน สนช.ส่งร่างกฎหมายดังกล่าวไปถึงนายกฯ เพื่อทูลเกล้าฯ ถวาย พร้อมข้อเรียกร้องจากสังคมให้นายกฯ ยื่นตีความด้วยตัวเอง เพราะหมดความหวังกับ สนช. หลังเปลือยธาตุแท้ไปจนสิ้น เนื่องจากรัฐธรรมนูญเปิดช่องให้ 2 นิติบุคคล คือ สนช. 1 ใน 10 หรือจำนวน 25 คน หรือนายกฯ สามารถยื่นเรื่องตีความได้ 

         นายกฯ ก็รับรู้สถานการณ์กระแสสังคมที่เรียกร้องเป็นอย่างดี โดยเฉพาะจากคนใกล้ชิดอย่างนายมีชัย ประธาน กรธ.และอีกหนึ่งสถานะก็เป็นสมาชิก คสช. ที่คงกระซิบให้เห็นว่า หากปล่อยให้ประเด็น พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.คาราคาซังบานปลายต่อไปจะไม่เป็นผลดีต่อแม่น้ำทุกสาย โดยเฉพาะภาพลักษณ์ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่จะเป็นนายกฯ รอบ 2 หลังการเลือกตั้ง  

       จึงเชื่อว่าจะเป็นเหตุผลสำคัญที่นายกฯ เชิญประธาน สนช.มาหารือเมื่อต้นสัปดาห์ พร้อมกับต้องส่งสัญญาณไปที่ สนช.ให้ยื่นเรื่องดังกล่าวไปให้ศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้เรื่องยุติ

          พร้อมกับเลี่ยงกระแส และ พล.อ.ประยุทธ์ ก็ไม่ต้องยื่นเรื่องด้วยตัวเอง เพราะจะได้ไม่ถูกโจมตีจากฝ่ายการเมืองว่าจงใจและประกาศตัวว่าต้องการยื้อเลือกตั้งออกไปหรือไม่ และลดขั้นตอนที่นายกฯ อาจต้องไปชี้แจงในศาลรัฐธรรมนูญ และอาจให้ข้อมูลไม่ครบ เพราะไม่ได้เป็นคนร่างกฎหมายมาตั้งแต่ต้น  

         ที่สำคัญไม่อยากถูกยกเป็นฮีโร่ ให้ฝ่ายการเมืองนำมาหยิบเป็นประเด็นซ้ำเติมขยี้ภาพลักษณ์ของ สนช.ที่หมดความชอบธรรมหมดไปแล้ว    

         ซึ่งล่าสุดขณะนี้ สนช.นำโดย นายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ สมาชิก สนช. ได้ขานรับกับท่าทีนายกฯ และรวบรวมรายชื่อ สนช.ได้ครบแล้ว 25 คน และคาดว่าจะยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย พ.รป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ในวันที่ 2 เม.ย.นี้ โดยเชื่อว่าจะใช้เวลาพิจารณาภายใน 2 เดือน และไม่กระทบต่อโรดแมป 

         ก็หวังว่าหลังจากนั้นเส้นทางการเลือกตั้งจะเดินตามที่นายกฯ ประกาศไว้   โดยไม่เห็นอภินิหารใดๆ ยื้อหรือถ่วงเวลาต่อไปอีก.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"