สจล.สร้าง3นวัตกรรมสู้โควิด เครื่องช่วยหายใจพกพา ห้องแยกโรคความดันลบ ประตูสแกนอุณหภูมิ


เพิ่มเพื่อน    

โมเดลเครื่องช่วยหายใจแบบพกพา นำไปใช้ที่บ้านได้

 

3 มี.ค. 63 -สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ได้แถลงข่าวผ่าน Facebook Live Streaming เปิดตัวศูนย์ KMITL GO FIGHT COVID-19 ศูนย์รวมองค์ความรู้ และนวัตกรรมในด้านการควบคุม ป้องกัน และรักษาโรคโควิด-19 ภายใต้โครงการ 60 ปี พระจอมเกล้าลาดกระบัง ไร้ขีดจำกัด โชว์ 3 นวัตกรรมที่มีความพร้อมในการใช้งาน อาทิ ห้องแยกโรคความดันลบ (Negative pressure room)  เครื่องช่วยหายใจ (GO RES) และประตูสแกนอุณหภูมิระบบ AI พร้อมระบบพ่นละอองน้ำยาฆ่าเชื้อ เป็นต้น เพื่อขยายผลไปยังโรงพยาบาลหรือหน่วยงานที่สนใจต่อไป 

 ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า ในสถานการณ์ปัจจบุันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั่วโลกมีผู้ป่วยเกิน 1 ล้านคน และคาดว่าอาจจะเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นสำหรับสถานการณ์ยอดผู้ติดเชื้อในประเทศไทยที่เพิ่มขึ้น อาจส่งผลต่อกำลังของบุคลากรทางการแพทย์ การรองรับของโรงพยาบาล หรือเครื่องมือแพทย์ที่ไม่เพียงพอและมีอย่างจำกัด ในฐานะสถาบันการศึกษาก็ได้มีส่วนยกระดับศักยภาพทางการแพทย์ โดยได้มีการเตรียมความพร้อมเป็นโรงพยาบาลสนาม ในกรณีที่ประชาชนหรือกระทรวงสาธารณสุขต้องการจำนวน 351 ห้อง และในส่วนของอุปกรณ์ทางการแพทย์ อย่าง  เครื่องช่วยหายใจ ซึ่งเป็นโมเดลแรกในประเทศไทย ที่ใช้เวลากว่า 1 เดือนในการคิดค้นและประดิษฐ์  ซึ่งชิ้นส่วน อย่าง กระบอกสูบหรือลูกสูบ ที่ยังต้องนำเข้าจากต่างประเทศ อีกทั้งยังได้จำลองคุณสมบัติของเครื่องช่วยหายใจขนาดใหญ่ในโรงพยาบาล ให้อยู่ในขนาดที่พกพาได้ เพื่อแจกจ่ายให้แก่โรงพยาบาล และผู้ที่มีความจำเป็นในการใช้งาน สามารถนำไปใช้เองได้ที่บ้าน ทั้งนี้ต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 5,000 – 10,000 บาท เพื่อเป็นกำลังในการผลิตให้ได้ปริมาณมากทาง สจล.ได้บริจาคแล้ว 1 ล้านบาท หากประชาชนสนใจร่วมบริจาคได้ที่ 693-031-750-0 สาขา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  ชื่อบัญชี  สจล. นวัตกรรมสู้ COVID-19

โมเดลห้องแยกโรคความดันลบ

 อธิการบดี สจล. กล่าวต่อว่า สำหรับห้องแยกโรคความดันลบ เป็นนวัตกรรมที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้เป็นห้องคัดกรองเชื้อโรค โดยหลักการทำงานจะปรับความดันภายในห้องให้เป็น Negative หรือมีแรงดันต่ำกว่าห้องข้างเคียง เพื่อไม่ให้อากาศซึ่งอาจมีเชื้อโรคปนเปื้อนภายใน ไหลออกมาสู่ห้องภายนอก ในต้นทุนการสร้างเพียงประมาณ 150,000 – 200,000 บาทต่อห้อง โดยติดตั้งแล้วที่ โรงพยาบาลวชิรพยาบาลจำนวน 5 ห้อง และโรงพยาบาลสิรินธรจำนวน 3 ห้อง โดยคาดว่าจะพร้อมใช้งานภายในต้นเดือนเมษายน 2563 และประตูสแกนอุณหภูมิระบบ AI คัดกรองแม่นยำ พร้อมระบบพ่นละอองน้ำยาฆ่าเชื้ออัตโนมัติ เพื่อคัดกรองบุคคลและพ่นละอองน้ำยาฆ่าเชื้อก่อนเข้าหรือออกจากสถานที่ที่มีคนจำนวนมาก เช่น สนามบิน โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น โดยได้นำร่องใช้งานนวัตกรรมดังกล่าวเพื่อคัดกรองบุคคลก่อนเข้าอาคารภานในมหาวิทยาลัย และพร้อมต่อยอดนวัตกรรมดังกล่าวให้เป็นประโยชน์ในวงกว้าง

ห้องแยกโรคความดันลบ ที่สร้างให้รพ.วชิรพยาบาล


  นอกจากนี้ ยังมีประตูสแกนอุณหภูมิระบบ AI คัดกรองแม่นยำ พร้อมระบบพ่นละอองน้ำยาฆ่าเชื้ออัตโนมัติI พร้อมด้วยระบบพ่นละอองน้ำยาฆ่าเชื้ออัตโนมัติ โดย สจล. พัฒนาเครื่องมือดังกล่าวขึ้นเพื่อคัดกรองบุคคลและพ่นละอองน้ำยาฆ่าเชื้อก่อนเข้าหรือออกจากสถานที่ที่มีคนจำนวนมาก เช่น สนามบิน โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น อีกทั้งการคัดกรองด้วยระบบ AI จะช่วยลดความเสี่ยงในการใช้คนตรวจ ซึ่งอาจเกิดการแพร่เชื้อระหว่างผู้ใช้งานและผู้คัดกรองได้ ทั้งนี้ วิทยาลัยอุตสาหกรรมการบิน สจล. ได้นำร่องใช้งานนวัตกรรมดังกล่าวเพื่อคัดกรองบุคคลก่อนเข้าอาคาร และพร้อมต่อยอดนวัตกรรมดังกล่าวให้เป็นประโยชน์ในวงกว้าง


“สำหรับมาตรการในส่วนของนักศึกษา ได้มีการปรับการเรียนการสอนเป็นรูปแบบออนไลน์ทั้งหมด เพื่อสอดรับกับมาตรการลดระยะห่างทางสังคม ได้ดำเนินการติดตามผลการเรียนในรูปแบบออนไลน์ ขยายเวลาเรียนและจ่ายค่าเทอม  และรับฟังปัญหาของนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง และได้ออกมาตรการช่วยเหลือนักศึกษา อาทิ ประกันสุขภาพ ฯลฯ ที่จะทยอยประกาศเพื่อเป็นการช่วยนักศึกษาที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งยังต้องติดตามผลการประชุมจากที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.)”  อธิการบดี สจล. ทิ้งท้าย 

นอกจากนี้ ศูนย์ KMITL GO FIGHT COVID-19 ยังมีนวัตกรรมอื่นๆอีก อาทิ ระบบตรวจจับอุณหภูมิด้วยกล้องถ่ายภาพความร้อนเวอร์ชั่นที่ 1 และ 2, หน้ากากพร้อมการ์ดป้องกัน, อุปกรณ์ในการฆ่าเชื้อเครื่องมือทางการแพทย์, หุ่นยนต์ในการบริหารจัดการยาและเก็บของเสีย, ระบบดูดและกรองอากาศสำหรับชุดป้องกันเชื้อโรค, ระบบควบคุมลิฟต์แบบไม่สัมผัส, หุนย์ฆ่าเชื้อด้วยแสง UV C, ห้องทำความสะอาดและฆ่าเชื้อภาคสนาม และแอพพลิเคชั่นเฝ้าระวังและติดตามตัวผู้ป่วยโควิด-19 เป็นต้น สำหรับโรงพยาบาลและหน่วยงานที่สนใจสามารถติดต่อสอบถาม และรับคำแนะนำด้านการพัฒนานวัตกรรมได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ที่สำนักงานบริหารงานวิจัยและนวัตกรรมพระจอมเกล้าลาดกระบัง (KRIS) โทร. 091-812-0416 หรืออีเมล [email protected]


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"