'จิสด้า' เผยภาพถ่ายดาวเทียม ชี้ 'โควิด-19' พลิกโฉมหน้าในยามค่ำคืนของประเทศไทย


เพิ่มเพื่อน    

10 เม.ย.63 - เพจเฟซบุ๊ก "GISTDA สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)" หรือ สทอภ. โพสต์รูปภาพถ่ายดาวเทียมในเวลากลางคืน พร้อมข้อความว่า โควิด-19 ที่มาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงในยามค่ำคืน

หากพูดถึง "Night Light" หรือไฟกลางคืน เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมการใช้พลังงานไฟฟ้าจากทุกภาคส่วนในยามค่ำคืน ทั้งจากการใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน ภาคอุตสาหกรรม การคมนาคม กลุ่มธุรกิจต่างๆ ตลอดจนระบบไฟฟ้าสาธารณะ เมื่อเรามองด้วยตาเปล่าจะสังเกตได้ว่า ไม่ว่าจะหันไปทางไหนก็มีแต่แสงสว่างตลอดในช่วงเวลากลางคืน ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาใดเราจึงไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของแสงไฟกลางคืน

หากมองในทางกลับกัน มีสิ่งหนึ่งที่เฝ้ามองมายังโลกตลอดเวลาพร้อมบันทึกข้อมูลเป็นภาพให้เราได้เห็นกันและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ต่อไปได้ นั่นก็คือ "ดาวเทียม" ภาพถ่ายจากดาวเทียม Suomi Npp ระบบเวียร์ (VIIRS) นอกจากจะใช้ในการอ่านค่าจุดความร้อน hotspot ในช่วงเวลากลางวันแล้ว ยังเป็นระบบดาวเทียมที่สามารถบันทึกภาพเพื่อดูแสงสว่างในช่วงเวลาค่ำคืนได้อีกด้วย

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด -19 ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ประกอบกับช่วงเวลาที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ได้ประกาศใช้ "พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน" มาเป็นระยะ เพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 มาตั้งแต่วันที่ 26 มี.ค.63 เป็นต้นมา รวมทั้ง ได้ขอความร่วมมือทั้งจากทางภาครัฐ ภาคเอกชน ตลอดจนภาคประชาชน งดออกจากเคหะสถานและจัดกิจกรรมงานรื่นเริงต่างๆ รวมถึงสถานบันเทิง ในช่วงเวลา 22.00 น. จนถึง เวลา 04.00 น.

จิสด้า หรือ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม หรือ อว. ได้ติดตามสถานการณ์การให้ความร่วมมือจากหน่วยงานและประชาชน หลังจากมี พรก.ดังกล่าว โดยใช้ภาพถ่ายจากดาวเทียม Suomi Npp ระบบเวียร์ (VIIRS) บันทึกภาพทุกค่ำคืนในช่วงเวลา 01.00 - 02.00 น. เพื่อดูอัตราการใช้ไฟฟ้าในภาพรวมทั้งประเทศ เปรียบเทียบใน 3 ช่วงเวลา ได้แก่ ช่วงก่อนเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด -19 โดยบันทึกภาพวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ.2562 , ช่วงสถานการณ์ที่กำลังแพร่ระบาดก่อนประกาศ พรก. โดยบันทึกภาพวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 และช่วงสุดท้าย เป็นช่วงเวลาหลังจากประกาศ พรก.ดังกล่าว โดยบันทึกภาพวันที่ 9 เมษายน พ.ศ.2563

สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากประกาศ พรก. ฉุกเฉิน หน่วยงานต่างๆและประชาชนได้ให้ความร่วมมือในการลดการแพร่ระบาดฯ สังเกตได้จากภาพวันที่ 9 เม.ย.63 ที่มีจำนวนการใช้ไฟฟ้าลดลง นั่นหมายความว่า พรก.นอกจากจะใช้ในการควบคุมการแพร่ระบาดฯแล้ว ยังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการใช้พลังงานไฟฟ้าในยามค่ำคืนอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการปิดแหล่งท่องเที่ยว และสถานบันเทิงต่างๆ รวมไปถึงการคมนาคมในช่วงเวลาดังกล่าว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"