'หมอมนูญ'แนะคนไทยอย่าเพิ่งฉีดวัคซีนบีซีจีเพื่อลดความรุนแรงโควิด-19 ให้รอผลการศึกษาก่อน


เพิ่มเพื่อน    

14 เม.ย.63- นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ  โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กหมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC  ว่า Gonzalo Otazu ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้าน Biomedical Science ที่ New York Institute of Technology ได้ตั้งข้อสังเกตประเทศญี่ปุ่นมีอัตราตายจากโรคโควิด-19 ต่ำ 0.28 ต่อล้านประชากร อาจเป็นเพราะญี่ปุ่นฉีดวัคซีน BCG ให้เด็กทุกคนตั้งแต่ พ.ศ. 2490 การศึกษา 178 ประเทศ (ซึ่งมี 21 ประเทศไม่ให้วัคซีน BCG) ช่วงระหว่างวันที่ 9-24 มีนาคม สนับสนุนข้อสังเกตนี้ พบอัตราป่วยและเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ของประเทศที่ให้วัคซีน BCG แก่เด็กทุกคนเป็นเวลายาวนาน ต่ำกว่าประเทศที่ไม่ให้วัคซีนบีซีจี เกือบ 10 เท่า อัตราป่วยจาก 358.4 ต่อล้านประชากร ลดลงเหลือ 38.4 ต่อล้านประชากร และอัตราตายจาก 40 ต่อล้านประชากร ลดลงเหลือ 4.28 ต่อล้านประชากร (ดูรูป)

ประเทศสหรัฐอเมริกา อิตาลี สเปนและหลายประเทศในยุโรปตะวันตกเลิกนโยบายฉีดวัคซีน BCG นานแล้ว เพราะอุบัติการณ์วัณโรคต่ำมาก อัตราการป่วยและเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ของประเทศเหล่านี้สูงมาก ที่น่าสังเกตประเทศโปรตุเกส (ซึ่งพรมแดนติดกับประเทศสเปน)ยังฉีดวัคซีน BCG พบอัตราป่วยและเสียชีวิตจากโควิด-19 ของโปรตุเกสต่ำกว่าสเปน 10 เท่า ประเทศส่วนใหญ่ในโลก ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไทย หลายๆประเทศในเอเชีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ยุโรปตะวันออก อเมริกาใต้ แอฟริกา ให้วัคซีนแก่เด็กทุกคน อัตราป่วยและเสียชีวิตของประเทศเหล่านี้ต่ำกว่าสหรัฐอเมริกาและยุโรปตะวันตกมาก ประเทศจีนให้วัคซีน BCG เหมือนกันแต่ช่วงที่มีการปฏิวัติทางวัฒนธรรม พ.ศ. 2509-2519 ไม่ได้ให้ต่อเนื่อง ประเทศไทยให้วัคซีน BCG ต่อเนื่องตั้งแต่พ.ศ.2496 อัตราตายจากโควิด-19 ของไทยต่ำ 0.67 ต่อล้านประชากร

วัคซีนบีซีจีเป็นวัคซีนป้องกันวัณโรค ผลิตจากเชื้อ Mycobacterium bovis ซึ่งได้จากฝีที่เต้านมของวัว ทำให้อ่อนฤทธิ์ลงโดยการเพาะเชื้อในอาหารซึ่งประกอบด้วย กลีเซอรอล มันฝรั่ง น้ำดี ถึง 230 ครั้ง เป็นเชื้อที่มีชีวิต เริ่มใช้ในโลกมา 99 ปีแล้ว ให้ไปแล้ว 3 พันล้านคน ฉีดเข้าผิวหนัง (intradermal) จำนวน 0.1 มล.ให้เด็กแรกเกิดทุกคน วัคซีนจะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันวัณโรคในเด็กโดยเฉพาะวัณโรคเยื่อหุ้มสมอง และวัณโรคแบบกระจายทั่วร่างกาย นอกจากนี้วัคซีนยังอาจช่วยให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันแบบไม่เจาะจง (non-specific immunity) เวลาได้รับเชื้ออื่นๆ รวมถึงเชื้อไวรัสด้วย

ขณะนี้นักวิจัยในประเทศเยอรมนี เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลียเริ่มให้วัคซีน BCG เปรียบเทียบกับยาหลอกในคนกลุ่มเสี่ยงคือ คนสูงอายุ และบุคลากรทางการแพทย์ ศึกษาว่าวัคซีนบีซีจี ช่วยลดความรุนแรงของโรคโควิด-19 ได้หรือไม่เมื่อเทียบกับยาหลอก คาดว่าไม่กี่เดือนจากนี้ จะทราบคำตอบว่าวัคซีนนี้สามารถนำมาใช้ลดความรุนแรงของโรคโควิด-19 ได้หรือไม่

มีคนถามผมว่า คนไทยควรจะฉีดวัคซีนบีซีจีเพื่อลดความรุนแรงของโรคโควิด-19 ตอนนี้เลยไหม วัคซีนบีซีจีนี้เราทราบดีว่า ถึงเคยฉีดแล้วตอนเด็ก ฉีดซ้ำ น่าจะปลอดภัย ผลข้างเคียงน้อย ราคาถูก ผมคิดว่าเราควรรอผลการศึกษา จะดีกว่า.


 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"