คนไทยเตรียมรับ'เกมส์ยาว'หรือยัง'พี่เอ้'ลำดับกระบวนการต่อสู้กับไวรัสโควิด-19มั่นใจเราจะชนะ


เพิ่มเพื่อน    


17 เม.ย.63 -ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เรื่อง  คนไทยเตรียมรับ "เกมส์ยาว" หรือยัง? มีเนื้อหาดังนี้

การต่อสู้ไวรัสโควิด-19 ของแต่ละประเทศได้เข้าสู่ระบบ หรือตรรกะความคิดเดียวกัน แทบทุกประเทศแล้ว...
เพราะทุกคนได้เห็นประสบการณ์ การต่อสู้ทั้งของคนอื่น และทั้งของตนเอง ลองผิดลองถูก อย่างไม่เจตนา เพราะไม่เคยมีใครเจออภิมหาไวรัสแบบนี้มาก่อนในช่วงชีวิต

ทั้งยังมียอดผู้ติดเชื้อเกินสองล้านคนไปแล้ว ทำให้มีกรณีศึกษาจำนวนมากมหาศาล ได้รู้ ได้เห็น ข้อถูก ข้อผิด ไม่น้อย
พี่เอ้ขอลำดับ กระบวนการต่อสู้ของมนุษย์โลกกับไวรัสโควิด-19 ที่เรียนรู้กันมาต่อเนื่อง ดังนี้

1. รู้ว่า...โควิดติดต่อจากคน-สู่-คน ได้รวดเร็ว ทางการสัมผัส ใกล้ชิด จึงต้องสู้โดย "Social Distancing" ไม่ให้เจอกัน ไม่อยู่ใกล้กัน ปิดห้างร้านที่มีคนจอแจ ปิดที่ทำงาน ให้คนทำงานที่บ้าน "Work from Home" เมื่อคนไม่เจอคน ความเสี่ยงลด อัตราการติดเชื้อก็น่าจะลด... ใช่ครับ

2.รู้ว่า...โควิดเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ ทำลายปอด ยิ่งคนติดเชื้อมาก ป่วยมาก เครื่องมือดูแลช่วยชีวิต เช่น เครื่องช่วยหายใจ ในยามฉุกเฉิน หากคนป่วยมากเกินกำลัง โดยเฉพาะในต่างจังหวัด จึงต้องสู้โดย "ยกระดับศักยภาพทางการแพทย์" จึงมีนวัตกรรมเครื่องช่วยหายใจฉุกเฉินขนาดเล็ก ใช้ยามฉุกเฉิน เมื่อมีความจำเป็น โดยมันสมองคนไทย ที่คนไทยสนับสนุน เพื่อช่วยชีวิตคนไทย... ใช่ครับ

3. รู้ว่า...บุคลากรทางการแพทย์ นักรบแนวหน้า เสี่ยง หากเป็นอะไรไป ขาดกำลังพล ยิ่งยุ่ง จึงต้องสู้โดย "มีอุปกรณ์ป้องกันให้ครบ" ทั้งหน้ากากอนามัย ทั้งหน้ากาก N95 ทั้งชุดป้องกัน PPE หรือ Personel Protective Equipment ทุกคนช่วยกันจัดหาสนับสนุน... ใช่ครับ

4. รู้ว่า...ผู้ติดเชื้อจำนวนไม่น้อย ไม่แสดงอาการป่วย หรือกว่าจะแสดงอาการ ก็ผ่านไปหลายวัน ยุ่งละสิ เพราะไม่รู้ว่าเอาเชื้อ ไปติดใครบ้าง ไปทำงาน ก็แพร่ที่ทำงาน ยิ่งอยู่บ้าน ก็ติดคนในครอบครัว แบบนี้ Social Distancing หรือ Work from Home ก็ไม่ได้ผลกับกลุ่มนี้ ก็ต้องสู้โดย "การตรวจเชื้อ" ให้มากที่สุดในกลุ่มเสี่ยง แต่เดี๋ยวนี้ก็แทบไม่รู้แล้ว ว่าคือใครคือกลุ่มเสี่ยง? จึงต้องมีชุดตรวจออกมาให้มาก มีแล็ปตรวจให้เยอะ ช่วยได้ ...ใช่ครับ

5. รู้ว่า... การตรวจคนจำนวนมาก บุคคลากรทางการแพทย์ ก็เสี่ยงมาก จึงต้องมีระบบป้องกันที่สมบูรณ์ ชุดปกติมันป้องกันไม่เพียงพอ ขาดแคลนด้วย จึงต้องสู้ โดยสร้าง "ห้องความดันบวก" ครอบคนตรวจ เชื้อไม่เข้ามา เวลาตรวจโรคในพื้นที่นอกอาคาร ที่โล่งแจ้ง คนตรวจปลอดภัย
และสร้าง "ห้องความดันลบ" กรณีพื้นที่ปิดในโรงพยาบาล ครอบผู้มีความเสี่ยง กักเชื้อไม่ให้ออกมา แล้วทำลายเชื้อ คนตรวจก็ปลอดภัย... ใช่ครับ

6. รู้(แล้ว)ว่า....ไม่กล้าพูด ไวรัสโควิด-19 ไม่จบง่ายๆ ตราบใดที่ยังไม่มี "วัคซีน" และการทำวัคซีนที่ได้ผลจริงๆ อาจใช้เวลาเป็นสิบปีก็ได้ แม้จะลดขั้นตอน ช่วยกันทำงานแบบขนาน แบ่งงานกัน ไม่มีใครกั๊กความรู้ ไม่มีใครเห็นแก่ตัว  ไม่เก็บไว้ทำคนเดียว ก็ยังต้องใช้เวลาร่วมปี.... ใช่ครับ

ดังนั้น ข้อ 1 ถึง 5 เราคนไทยช่วยกันทำแล้วครับ ทำเต็มที่ด้วย เช่น ที่ศูนย์นวัตกรรมสู้โควิด-19 พระจอมเกล้าลาดกระบัง ภายใต้การสนับสนุนจากพี่น้องประชาชน ก็ทำเต็มที่ สุดๆ

แต่...ข้อ 6 เพื่อนพี่เอ้ที่ฮาร์วาร์ด และ MIT ที่กำลังร่วมกันทำวัคซีน ป้องกันโควิด กระซิบมาว่า "ไม่ง่าย" "ไม่เร็ว"
แบบนี้ เกมส์ยาว สิครับ ห้ามประมาท ห้ามเบื่อ ห้ามท้อ ห้ามเลิก ต้องช่วยกัน ต่อเนื่องนะครับ

พี่เอ้มั่นใจ เราจะชนะเกมส์ยาวนี้ ต้องอดทนสู้ แล้วรอดไปด้วยกันครับ

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"