สสส. จับมือ ภาคีป้องกันและตรวจสอบข่าวลวง เปิดตัวเว็บไซต์-Chatbot “โคแฟค” ชวนสังคมค้นหาข่าวจริง ตัดวงจรข่าวลวงที่ระบาดมากับโควิด-19


เพิ่มเพื่อน    

 

ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) แถลงว่า ในสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ได้มาพร้อมกับการระบาดของข้อมูลข่าวสาร ทำให้เกิดข่าวลวงข่าวปลอมแพร่กระจายในสื่อไปทั่วโลก รวมทั้งในไทย สร้างความเข้าใจผิด ๆ ในเรื่องการป้องกันและควบคุมโรคระบาด และความปลอดภัยของประชาชน สสส. ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ChangeFusion Wisesight Open Dream Center for Humanitarian Dialogue (HD) มูลนิธิ Friedrich Naumann Foundation for Freedom (FNF) สำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และภาคีเครือข่ายภาคประชาสังคม ภาควิชาการ และองค์กรวิชาชีพสื่อ นำร่องกลไกภายใต้โครงการโคแฟค (Collaborative Fact Checking : Cofact) เปิดพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงผ่านเว็บไซต์ cofact.org และโปรแกรมการพูดคุยอัตโนมัติ (Chatbot) ไลน์ @cofact เพื่อร่วมตรวจสอบข่าวลวงด้านสุขภาพ โดยเฉพาะประเด็นโควิด-19 เป้าหมายสำคัญ คือ การทำให้ทุกคนเปิดรับสื่ออย่างรู้เท่าทัน ร่วมตรวจสอบข่าว นำมาสู่การเรียนรู้และพัฒนาทักษะเท่าทันสื่อของพลเมืองดิจิทัล ควบคู่ไปกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อร่วมสร้างระบบนิเวศสื่อและสังคมสุขภาวะ

 

 

นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ อดีตกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ผู้ร่วมก่อตั้ง กล่าวว่า โครงการโคแฟค เปิดพื้นที่ให้ช่วยกันค้นหาข้อเท็จจริงกับข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อไม่ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นเพียงผู้รู้จริง เพราะบางครั้งข้อเท็จจริงอาจเปลี่ยนแปลงไปได้ตามกาลเวลาและเหตุปัจจัย ดังนั้นจึงต้องการสร้างพื้นที่กลางในการค้นหาความจริงร่วมกัน โดยผ่านเว็บไซต์ cofact.org เป็นการผสานการผลักดันการใช้เทคโนโลยีของภาคพลเมือง กับงานเชิงข่าวด้านวารสารศาสตร์ มีกองบรรณาธิการร่วมกับอาสาสมัครทำการกรองข่าวที่เกิดขึ้นโดยอิงข้อมูลจากหน่วยงาน หรือผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง

 

 

cofact.org เปิดพื้นที่ให้ทุกคนมาร่วมแลกเปลี่ยนโต้แย้งข้อเท็จจริงและความคิดเห็น นอกจากนี้ Chatbot ไลน์@cofact ยังเปิดให้ส่งข่าวมาให้ทีมกลั่นกรอง ซึ่งจะมีการเผยแพร่ผลการตรวจสอบผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และสื่อมวลชน รวมทั้งพัฒนางานข่าวเชิงลึก บทความที่น่าสนใจจากประเด็นข่าวจริงข่าวลวงที่เป็นกระแสหรือที่มีความสนใจในเชิงนโยบายและประโยชน์สาธารณะ โครงการเชื่อว่าการแก้ปัญหาข่าวลวงในยุคดิจิทัลคือการทำให้ทุกคนกลายเป็นคนตรวจสอบข่าว หรือ/และ สร้างพื้นที่ในการแสวงหาข้อเท็จจริงร่วมกัน โดยเปิดเวทีให้มีตลาดทางความคิดเห็นที่หลากหลาย แยกแยะได้ระหว่างข้อเท็จจริงและความคิดเห็น โดยเชื่อมั่นในวิจารณญาณของสังคม ทั้งนี้โคแฟคได้รวบรวมบทความเป็นฐานข้อมูลไว้จำนวนหนึ่ง เชิญชวนทุกท่านให้มาเป็นชาวชุมชนคนโคแฟคร่วมกันค้นหาความจริง เพื่อร่วมสร้างสุขภาวะของสังคม ที่ cofact.org” นางสาวสุภิญญา กล่าว

 

 

ทั้งนี้ จะเปิดตัวผ่านทางออนไลน์ในงานเสวนานักคิดดิจิทัล Digital Thinkers Forum #8 ว่าด้วยเรื่อง Cofact สู้ Covid19 : Collaborative Fact checking in Infodemic, will we win? และการเสวนา “เราควรรับมือโรคระบาดข้อมูลข่าวสาร (Infodemic) อย่างไรให้สมดุล” ซึ่งจะมีวิทยากรต่างประเทศร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในวันอังคารที่ 14 เมษายน 2563 เวลา 13.00 น. ผ่านระบบออนไลน์ และถ่ายทอดสดผ่าน เฟซบุ๊กแฟนเพจ CofactThailand


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"