รพ.จุฬาฯ ตรวจ"โควิด"ทางน้ำลาย  วางแผนรุกตรวจ ชุมชนรอบโรงพยาบาล


เพิ่มเพื่อน    

 

29เม.ย.63-หลังจากกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ได้เริ่มดำเนินมาตรการเชิงการรุก พยายามตรวจคัดกรองหาผู้ติดเชื้อโควิด-19 ให้มากที่สุด และพัฒนาวิธีการตรวจทางน้ำลาย  มาเป็นอีกทางเลือก เพื่อให้ง่าย สะดวก รวดเร็ว และมีต้นทุนการตรวจที่ต่ำกว่าการตรวจแบบRT-PCR  ซึ่งเป็นการตรวจหาเชื้อหลังโพรงจมูก หรือในลำคอ  ซึ่งการเก็บตัวอย่างและตรวจจากน้ำลาย จะเริ่ม ในพื้นที่ชุมชนต่างๆ ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด   ขณะที่  ทางด้านโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ก็เป็นอีกหนึ่งโรงพยาบาลที่ได้นำวิธีการตรวจทางน้ำลายมาใช้กับคนไข้บางส่วนแล้ว

 

ผศ.ดร.นพ.ปกรัฐ หังสสูต หัวหน้าสาขาไวรัสวิทยา ภาควิชาจุลชีววิทยา ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ทางน้ำลาย  ว่า ทั้งโรคซาร์ส( SARS-CoV-2 )เป็นเชื้อไวรัสที่มาจากทางเดินหายใจ ดังนั้นการเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจหาเชื้อที่ดีที่สุด ก็ต้องส่วนที่เป็นทางเดินหายใจ อย่างที่มีวิธีการตรวจแบบมาตรฐาน RT-PCR ที่ใช้ในปัจจุบัน คือ การตรวจป้ายเข้าไปในคอ(Throat swab) หรือ การตรวจป้ายเข้าไปที่หลังโพรงจมูก (Nasopharyngeal swab)  เป็นวิธีที่ได้ตัวอย่างเชื้อที่ดีที่สุด ในปัจจุบันแต่ปัญหา คือ ต้องทำโดยผู้เชี่ยวชาญ แพทย์ นักเทคนิคการแพทย์ หรือบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับการอบรม

 

ดังนั้นในการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ที่มาจากน้ำลาย แปลว่าถ้าเชื้อไวรัสมีปริมาณมากพอก็อาจจะมีอยู่ในบริเวณช่องปากได้  เพราะปริมาณเชื้อไวรัสในคนที่ติดเชื้อแล้วมีค่อนข้างสูง เป็นไปได้ว่าจะมีเชื้ออยู่ในน้ำลายสูงตามด้วย แต่เมื่อเปรียบเทียบกับการเก็บตัวอย่างเชื้อจากคอหรือที่หลังโพรงจมูก อาจจะมีเชื้อ SARS-CoV-2 น้อยกว่า และความไวจากที่มีข้อมูลออกมาว่าอาจจะลดลงจาก 90% เหลือประมาณ 80% ถือว่าอยู่ในระดับที่พอใช้ได้ ซึ่งการเก็บตัวอย่างเชื้อด้วยวิธีนี้จะเป็นผลดี สำหรับการตรวจในประชากรกลุ่มมากๆ เพราะสามารถเก็บตัวอย่างเองได้ ซึ่งทางจุฬาฯ ได้มีการดำเนินการตรวจหาเชื้อด้วยน้ำลายไปบ้างแล้ว

 

“ในส่วนของวิธีการตรวจในห้องปฏิบัติการใช้หลักการเดียวกับ RT-PCR เพียงเปลี่ยนตัวอย่างเชื้อเท่านั้น คือ 1.ตัวอย่างที่มีเชื้อไวรัส 2.สกัดสารพันธุกรรม (RNA) 3.การเพิ่มจำนวน RNA และตรวจวิเคราะห์ ทั้งนี้มีหลายประเด็นที่มีผลต่อการตรวจ อย่าง น้ำลาย ที่จะเป็นในช่วงเช้า หรือเป็นเสมหะที่ติดคอ หรือการไม่ทานอะไรก่อนเก็บน้ำลายเพื่อให้ปริมาณเชื้อยังเยอะอยู่ หรือบางคนไม่มีเสมหะทุกเช้า อาจจะต้องใช้วิธีการไอเพื่อขับเสมหะที่มาจากคอส่วนในหรือปอดส่วนลึกเพื่อจะเพิ่มคุณภาพของตัวอย่างได้ดีขึ้น  ทั้งนี้ยังต้องทำการศึกษาวิจัยต่อไป นอกจากนี้ยังมีเรื่องของความสกปรกที่อาจจะทำให้สารพันธุกรรมของไวรัสย่อยสลายไป ดังนั้นระยะเวลาในการนำตัวอย่างเชื้อด้วยน้ำลายมาส่งที่ห้องปฏิบัติการต้องเร็ว   และเก็บรักษาในความเย็น ส่วนภาชนะที่ใช้ในการเก็บน้ำลาย อาจจะเป็นกระปุกเล็กๆ ฝาเกียว ใส่ซองพลาสติกอีกหนึ่งชั้น ทำความสะอาดก่อนส่งมายังห้องปฏิบัติการ ส่วนค่าใช้จ่ายในการตรวจด้วยวิธีนี้ที่จุฬาฯ ราคาเท่ากับการตรวจ RT-PCR อยู่ที่ประมาณ 2,000 กว่าบาท” ผศ.ดร.นพ.ปกรัฐ กล่าว 

สำหรับมาตรการเชิงรุกในการตรวจหาเชื้อด้วยน้ำลายในชุมชนของรัฐบาลนั้น ผศ.ดร.นพ.ปกรัฐ กล่าวเสริมว่า ในเชิงระบาดวิทยานับว่าเป็นวิธีการที่ดีและมีประโยชน์ เพราะทำให้เกิดการค้นหากลุ่มเสี่ยงที่กว้างขึ้น โดยเป็นคนไข้ก่อนมีอาการ ที่ท้ายที่สุดต้องมีอาการ และคนกลุ่มที่ไม่มีอาการ ที่ได้รับเชื้อแต่ไม่แสดงอาการ เพราะทั้งสองกลุ่มนี้มีโอกาสที่จะแพร่เชื้อได้ทั้งสิ้น ซึ่งอาจจะเน้นในพื้นที่ที่กลุ่มเสี่ยงมาก่อน และในกลุ่มคนที่คิดว่ามีความเสี่ยงมาตรวจ เพราะต้องคำนวนถึงน้ำยาที่ใช้ในการตรวจเชื้อ เพื่อไม่ให้ขาดแคลน ดังนั้นต้องให้ความรู้ว่ามีอาการอย่างไรถึงมาสามารถเข้ามารับการตรวจได้ อย่างในต่างประเทศแม้มีทรัพยากรเพียงพอ แต่ก็ใช้วิธีการตรวจนี้มุ่งไปที่กลุ่มเป้าหมายที่ความเสี่ยงมาก่อนด้วยเช่นกัน ในส่วนของทางโรงพยาบาลจุฬาฯ ในการดำเนินงานมาตรการเชิงรุกนี้ก็เป็นแผนที่จะนำเสนอต่อผู้บริหาร ของโรงพยาบาล ในการตรวจผู้ที่อยู่อาศัยพื้นที่โดยรอบโรงพยาบาล 


“สถานการณ์ในปัจจุบันที่ไทยพบผู้ติดเชื้อลดลง อาจจะด้วยมาตรการล็อคดาวน์ และประชาชนที่เก่งในเรื่องของการป้องกันตัว และการมีสาธารณสุขที่ดี มีการบริหารจัดการที่ไว ดังนั้นหากจะยืดหรือปลดล็อคดาวน์  ภาครัฐก็จะต้องมีมาตรการรองรับ โดยอาศัยจากปัจจัยและความเหมาะสมเป็นรายจังหวัด เพื่อป้องกันการระบาดอีกครั้ง เพราะเชื้อไวรัสโควิด-19 นี้ไม่มีใครทราบว่าจะอยู่กับเราไปกี่ปี  

 ปกติไวรัสที่ระบาดจากสัตว์เข้าสู่คนจะระบาดอยู่ได้นานไหมขึ้นกับคุณสมบัติหลายประการ เช่น 1.ความสามารถการปรับตัวในมนุษย์ ถ้าติดเชื้อในคนแล้วปรับตัวได้ไม่ดี พอติดเชื้อต่อไปเรื่อยๆมันจะหายไปเอง 2.ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นในประชากร (herd immunity) ว่าเกิดขึ้นและมีคุณภาพมากน้อยเพียงใด ถ้ามีภูมิคุ้มกันในประชากรที่มีคุณภาพเกิดขึ้นเป็นสัดส่วนที่มากพอควรในหมู่ประชากร เช่น มีประชากรติดเชื้อ และมีภูมิคุ้มกันที่มีคุณภาพ 70% ไวรัสก็จะแพร่เชื้อจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งได้น้อยลง 3. ช่องทางในการระบาด เช่น การแพร่ทางระบบทางเดินหายใจทำให้เกิดการระบาดได้เร็วและกว้างขวางกว่าวิธีอื่น 4.การมีวัคซีน หรือยาที่มีประสิทธิภาพ ตัวอย่างทั้ง 4 ปัจจัยที่ยกมาทำให้เชื่อได้ว่า COVID-19 คงอยู่กับเราไปอีกสักพักหนึ่ง แต่นานเท่าไร คิดว่าคงไม่สามารถระบุได้” ผศ.ดร.นพ.ปกรัฐ ทิ้งท้าย 
 

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"