คนไทยเลิกโทร หันใช้เน็ตบนมือถือเพิ่มขึ้น 6 เท่าตัว


เพิ่มเพื่อน    

สำนักงาน กสทช. เผยปี 60 คนไทยทั้งประเทศใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือประมาณ 3.3 พันล้านกิกะไบต์ โตกว่า 6 เท่าตัว เมื่อเทียบกับ 4 ปีก่อนหน้า ส่วนการใช้บริการเสียงลดลงต่อเนื่อง

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) เปิดเผยว่า จากรายงานของสำนักงาน กสทช. พบว่า จากการใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ในปี 2560 มีโทรศัพท์เคลื่อนที่ใช้งานอยู่จำนวนทั้งสิ้น 121.53 ล้านเลขหมาย แบ่งเป็น กลุ่มบริษัท AIS จำนวน 53.05 ล้านเลขหมาย คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ร้อยละ 43.65 รองลงมาคือกลุ่มบริษัท TRUE จำนวน 36.05 ล้านเลขหมาย คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 29.66 และกลุ่มบริษัท DTAC จำนวน 30 ล้านเลขหมาย คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 24.69  CAT มีจำนวน 2.32 ล้านเลขหมาย ส่วน TOT มีจำนวนผู้ใช้บริการ 0.11 ล้านเลขหมาย

 

สำหรับข้อมูลปริมาณการใช้บริการเสียงของโอเปอเรเตอร์หลัก 3 ราย คือกลุ่มบริษัท AIS กลุ่มบริษัท TRUE และกลุ่มบริษัท DTAC ระหว่างปี 2557 – 2560 มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2557 ปริมาณการใช้งานบริการเสียงมีจำนวน 70,720.42 ล้านนาที ปี 2528 ลดลงเหลือ 62,851.09 ล้านนาที ปี 2559 ลดลงเหลือ 51,021.48 ล้านนาที และปี 2560 มีปริมาณการใช้งานบริการเสียงจำนวน 43,460.84 ล้านนาที โดยกลุ่มบริษัท AIS มีปริมาณการใช้บริการเสียงสูงสุดในแต่ละปี ตามด้วยกลุ่มบริษัท DTAC และกลุ่มบริษัท TRUE อย่างไรก็ตาม ในปี 2559 และ 2560 กลุ่มบริษัท TRUE มีปริมาณการใช้งานบริการเสียงมากกว่ากลุ่มบริษัท DTAC ทั้งนี้ในปี 2560 คนไทยใช้บริการเสียงผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่เฉลี่ยประมาณ 2 นาที ต่อคนต่อวัน ลดจากเดิมปี 2557 ที่ใช้บริการเสียงเฉลี่ยประมาณ 4 นาที ต่อคนต่อวัน

นายฐากร กล่าวว่า ในส่วนของข้อมูลปริมาณการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ (การใช้บริการดาต้า) ของโอเปอเรเตอร์หลัก 3 ราย พบว่า แนวโน้มปริมาณการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยพบว่า เมื่อสิ้นปี 2560 มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่จากโอเปอเรเตอร์รายใหญ่ 3 กลุ่มบริษัท (กลุ่มบริษัท AIS กลุ่มบริษัท TRUE และกลุ่มบริษัท DTAC) สูงถึง 3,294,325,000 กิกะไบต์ (หรือ 3 ล้านเทราไบต์โดยประมาณ) โดยเติบโตเพิ่มขึ้นจากปี 2557 หรือเพิ่มขึ้นมากกว่า 6 เท่าตัว ภายใน 4 ปี ซึ่งถือว่าเป็นการเติบโตของการใช้งานที่สูงมาก คิดเป็นปริมาณการใช้งานดาต้าโดยเฉลี่ย 4.11 กิกะไบต์ ต่อคนต่อเดือน แสดงให้เห็นว่าในปี 2560 ใน 1 วันแต่ละคนมีการใช้งานดาต้าเฉลี่ย 0.14 กิกะไบต์ หรือ 140 เมกะไบต์

ข้อมูลดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงความต้องการใช้คลื่นความถี่เพื่อการสื่อสารข้อมูลผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่สูงขึ้นอย่างก้าวกระโดดภายหลังจากการประมูลคลื่น 2100 เมกะเฮิรตซ์ ในปี 2555 และ 1800 และ 900 เมกะเฮิรตซ์ ในปี 2558 – 2559 ที่ทำให้มีการให้บริการ 3G/4G อย่างแพร่หลายทั่วประเทศ ทำให้สังคมไทยก้าวสู่สังคมออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบ มีการใช้งานโซเชียลมีเดียสูง เช่น มีผู้ใช้งาน Facebook กว่า 40 ล้านคน และมีผู้ใช้งาน Line กว่า 30 ล้านคน ในประเทศไทย เป็นต้น นอกจากนั้นยังเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลผ่านการทำธุรกรรมออนไลน์ในระบบ Mobile Banking หรือ FinTech ทำให้เกิดระบบการชำระเงินรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า Promptpay ซึ่งมีผู้ใช้งานกว่า 39 ล้านคนในปัจจุบัน ทำให้การซื้อขายสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการสามารถทำได้ง่าย สะดวกสบาย และมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยสามารถดำเนินการได้ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ประชาชนสามารถเข้าถึงสินค้าและบริการได้ทุกที่ ทุกเวลาเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจอีกทางหนึ่ง  


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"