สร้างภูมิคุ้มกันแบบไม่ลดการ์ด หลังปลดล็อคโรคระบาดโควิด


เพิ่มเพื่อน    

              กรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคผิวหนัง แนะนำประชาชนสร้างภูมิคุ้มกันแบบไม่ลดการ์ด สำหรับมาตรฐานใหม่หลังการระบาดโรคโควิด 19 เพื่อทำให้ร่างกายยังคงมีศักยภาพในการ “สวนหมัด” เพื่อต่อสู้กับเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย

              นพ.ณรงค์ อภิกุลวณิช  รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่าโรคโควิด 19 จะอยู่กับสังคมชาวโลกไปเรื่อยๆ อยู่เงียบๆ รอจังหวะ เพราะเรายังไม่สามารถกำจัดเชื้อโรคนี้ให้หมดไปได้  นั่นหมายความว่าเรายังต้องสวมเครื่องป้องกันร่างกายให้เหมาะสม  รักษาระยะห่างทางสังคมไว้และหมั่นล้างมือ  นอกจากนี้การลดความเสี่ยงที่จะติดเชื้อให้น้อยลงและยังช่วยป้องกันตัวเองจากโรคโควิด 19 ได้  คือการสร้างเกราะภายในร่างกายของเราที่เรียกว่า “ระบบภูมิคุ้มกัน”  ให้แข็งแกร่งอยู่ตลอดเวลา

              แพทย์หญิงมิ่งขวัญ  วิชัยดิษฐ  ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์  ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าโดยภาพรวมภูมิคุ้มกันของเราได้รับการออกแบบมายอดเยี่ยมมากในการป้องกันเชื้อโรคและอันตรายจากภายนอก  แต่บางครั้งระบบนี้ก็มีจุดอ่อน เพราะร่างกายไม่มีประสบการณ์เมื่อเจอโรคใหม่ๆ อย่างไรก็ตามระบบภายในร่างกายมนุษย์ยังมีศักยภาพในการ “สวนหมัด” เพื่อสู้กับอะไรก็ตามที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย มาดูกันว่าเราจะสร้างหมัดของเราให้มีประสิทธิภาพ เพื่อเอาตัวรอดได้อย่างไร

              อาหาร : คำว่าถูกหลักโภชนาการ นอกจากอาหารสด สะอาดและมีองค์ประกอบของสารอาหารสำคัญครบถ้วนแล้ว แต่ละมื้อต้องมีผักครึ่งหนึ่งอย่างอื่นครึ่งหนึ่ง รับประทานอาหารร้อนปรุงสุกใหม่ๆ และในยุคโควิด 19 เราต้องใช้ ช้อนกลางส่วนตัว  และยังต้องล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่ หรือ แอลกอฮอล์เจล ทั้งก่อนและหลังรับประทานอาหาร “กองทัพเดินด้วยท้องฉันใด ระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ก็ต้องการอาหารดี มีคุณภาพฉันนั้น  ผู้ที่ขาดสารอาหารจะมีแนวโน้มติดเชื้อโรคได้ง่าย

              การนอนหลับพักผ่อน : ประเด็นนี้มีหลายคนมองข้าม ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ คนนอนน้อยมักติดเชื้อหวัดง่าย การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอเป็นการสร้างภูมิคุ้นกันที่ดีมาก ระหว่างการนอนหลับพักผ่อนเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายมีเวลาซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และจัดการระบบภายในให้เข้าที่ เราควรนอนหลับให้สอดคล้องกับวงโคจรของพระอาทิตย์ การทำเช่นนี้จะช่วยให้ร่างกายไม่ฝืนสภาพการทำงานของระบบภายใน เพราะร่างกายเราถูกสร้างมาให้เดินเครื่องตามพระอาทิตย์ และการหลับในตอนกลางคืน แปลว่าเราจะไม่ไปเที่ยวสถานที่กลางคืน โอกาสติดโรคโควิด 19 ย่อมลดลง

              ออกกำลังกาย : ช่วยควบคุมน้ำหนัก ลดความดันโลหิต ลดความเครียด การออกกำลังกายมีผลดีต่อสุขภาพและระบบภูมิคุ้มกันโดยตรง  ทำให้เกิดระบบไหลเวียนเลือดที่ดี เซลล์และสารต่างๆ ในระบบภูมิคุ้มกันไหลเวียนไปทั่วร่างกาย  แต่ควรเลือกออกกำลังกายในสถานที่เอื้อต่อการรักษาระยะห่างจากผู้อื่น หรือถ้าอยู่ในที่สาธารณะต้องรักษาระยะห่างจากบุคคลอื่น

              สถานที่เหมาะสม : สถานที่ทำงาน สถานที่นอนหลับพักผ่อน ต้องมีอากาศสะอาด สถานที่ใดมีคนหมู่มากมารวมกัน จะมีคนต่างนิสัย ต่างความชอบ ต่างพฤติกรรม และมีปัญหาสุขภาพต่างกัน  โดยภาพรวมคนหมู่มากจะแย่งอาหาร แย่งอากาศดีๆ กัน ทำให้เกิดฝุ่นควัน ละอองฝอย และแพร่เชื้อโรคแก่กันโดยไม่ได้ตั้งใจ  เชื้อโควิดแพร่กระจายได้ง่ายมาก  ดังที่เราทราบกันดีอยู่แล้ว  ดังนั้นการไม่ลดการ์ดก็คือ ยังต้องรักษาระยะห่างทางสังคมไว้  ถ้าเราหลีกเลี่ยงการไปในที่ชุมชน ก่อนจะไปสถานที่ใดพิจารณาว่าสถานที่นั้นๆ จะเอื้อต่อการรักษาระยะห่างระหว่างบุคคลหรือไม่

              เลี่ยงการใช้สารเสพติด : การไม่สูบบุหรี่และไม่ไปรับควันบุหรี่จากบุคคลอื่น เป็นการเตรียมปอดให้แข็งแรงไว้สู้เชื้อโรค   หากใครติดบุหรี่อยู่แล้ว  ให้ถือโอกาสนี้เริ่มถอน  ตั้งใจให้มั่น ค่อยๆ ถอน  เอาโรค   โควิด 19 เป็นเครื่องเตือนใจ  ทุกครั้งที่มองเห็นหน้ากากปิดปากให้ถือเป็นสิ่งเตือนใจว่า “เราต้องงดสิ่งเสพติดให้ได้”

              รักษาจิตใจ : ปัจจุบันพบว่าจิตกับกายมีความสัมพันธ์กันใกล้ชิด  อาการทางกายหลายเรื่องมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอารมณ์เครียด  เช่น  อาการปวดท้อง ลมพิษ หรือโรคหัวใจ โดยภาพรวมความเครียดทำให้ภูมิคุ้มกันโรคลดลง

              ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง ให้ข้อคิดเพิ่มเติมว่า การปฏิบัติตนดังกล่าวจะเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีเพื่อคงสภาพการมีสุขภาพที่ดีให้อยู่ต่อไปเรื่อยๆ และลดความเสี่ยงต่อการติดโรคโควิด 19 ได้


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"