ทช.นำร่องผุดเสาหลักนำทางยางพาราทั่วประเทศ 7 แสนต้น คาดแล้วเสร็จปี 65


เพิ่มเพื่อน    

20 พ.ค.63-นายปฐม เฉลยวาเรศ อธิบดีกรมทางหลวงชนบท(ทช.)เปิดเผยว่า ทช.ได้ นำยางพารามาเป็นส่วนผสมในอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัย เปลี่ยนเสาหลักนำทางยางธรรมชาติ (Rubber Guide Post) หรือ RGP ทั่วประเทศ ทั้งนี้ เพื่อลดความรุนแรงของอุบัติเหตุจากการหลุดออกนอกทาง ชนกับหลักนำทางและเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง ส่งเสริมการใช้ยางพาราภายในประเทศ ตามนโยบายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

อย่างไรก็ตามจากรายละเอียดพบว่า จากสถิติอุบัติเหตุบนทางหลวงชนบทระหว่างปี 2560 ถึง 2562 หนึ่งในสาเหตุสำคัญของอุบัติเหตุที่พบคือการเสียหลักหลุดออกนอกทางชนกับสิ่งอันตราย และจากการวิเคราะห์ข้อมูลอุบัติเหตุเชิงลึก พบว่าสิ่งอันตรายข้างทางที่ผู้ขับขี่เสียหลักหลุดออกนอกทางไปชนนั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ
1. สิ่งอันตรายที่เป็นสิ่งแวดล้อมข้างทาง ได้แก่ ต้นไม้ รั้วบ้าน คันคลอง เป็นต้น
2. สิ่งอันตรายที่เป็นอุปกรณ์จราจร ได้แก่ หลักนำโค้ง เสาป้ายจราจร เสาไฟฟ้าแสงสว่าง เป็นต้น

ทั้งนี้ จากงานวิจัยของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) (2560) ได้คำนวณมูลค่าความสูญเสียจากการเสียชีวิตและบาดเจ็บสาหัสจากอุบัติเหตุจราจร พบว่า การเสียชีวิตจากอุบัติเหตุมีมูลค่าเท่ากับประมาณ 10 ล้านบาทต่อราย และการบาดเจ็บสาหัสมีมูลค่าเท่ากับประมาณ 3 ล้านบาทต่อราย ในขณะที่หลักนำทางที่ผลิตจากยางพารามีต้นทุนการผลิตพร้อมติดตั้งอยู่ที่ 2,500 บาทต่อหลัก โดยเมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยของทางโค้งบนทางหลวงชนบทที่ติดตั้งหลักนำโค้งโดยส่วนใหญ่จะใช้หลักนำโค้งอยู่ประมาณ 14 หลักต่อโค้ง คิดเป็นมูลค่าเงินที่ใช้เปลี่ยนหลักนำโค้งเป็นยางพาราอยู่ที่ประมาณ 35,000 บาทต่อโค้งเท่านั้น

นายปฐม กล่าวว่าหากมีอุบัติเหตุหลุดโค้งชนกับเสาหลักนำทางคอนกรีตจนทำให้มีผู้ขับขี่เสียชีวิต 1 คนเกิดขึ้น จะคิดเป็นมูลค่าความสูญเสียของชีวิตเท่ากับ 10 ล้านบาท แต่หากโค้งที่เกิดอุบัติเหตุนี้ได้เปลี่ยนไปใช้เสาหลักนำโค้งที่ผลิตจากวัสดุที่มีความยืดหยุ่นสูงอย่างยางพาราแทน ผู้ขับขี่ที่เกิดอุบัติเหตุหลุดโค้งชนกับเสาหลักนำทางยางพารา อาจไม่เป็นอันตรายจนถึงกับเสียชีวิต และเมื่อพิจารณาตามหลักเศรษฐศาสตร์แล้วถือว่าคุ้มค่ากับการลงทุนปรับเปลี่ยนเสาหลักนำทางคอนกรีตไปใช้เสาหลักนำทางยางพารา

อย่างไรก็ตามทช.จึงได้ดำเนินการปรับเปลี่ยนเสาหลักนำทางที่ผลิตจากคอนกรีตเสริมเหล็กไปใช้เสาหลักนำทางที่ผลิตจากวัสดุที่มีความยืดหยุ่นสูงอย่างเสาหลักนำทางยางพาราแทน เพื่อลดความรุนแรงของอุบัติเหตุจากการหลุดออกนอกทางชนกับหลักนำทาง โดยจะดำเนินการปรับเปลี่ยนเสาหลักนำทางทุกหลักทั่วประเทศ จำนวน 705,112 ต้น เป็นเสาหลักนำทางยางพารา ให้แล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ 2565 โดยใช้งบประมาณรวม 1,402.172 ล้านบาท

ทั้งนี้แบ่งเป็น ปี 2563 จำนวน 200,000 ต้น ปี 2564 จำนวน 200,000 ต้น และในปี 2565 อีกจำนวน 305,112 ต้น ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวนอกจากจะช่วยลดความรุนแรงของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ลดความสูญเสียของชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนผู้สัญจรบนทางหลวงชนบทลงได้แล้ว ยังเป็นการผลักดันการใช้ยางพาราภายในประเทศให้เพิ่มมากขึ้น สามารถช่วยเพิ่มเม็ดเงินให้ชาวสวนยางให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงคมนาคมในด้านการส่งเสริมการใช้ยางพาราในหน่วยงานภาครัฐได้อย่างเป็นรูปธรรม


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"