รพ.จิตเวช ปรับรูปแบบบริการยุค New normal รักษาผ่านระบบออนไลน์ และแอพฯ Mental Health Check up 


เพิ่มเพื่อน    

8 มิ.ย.63 - นพ.จุมภฎ พรมสีดา  รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต และนพ.บุรินทร์ สุรอรุณสัมฤทธิ์ ผู้อำนวยการกองบริหารระบบบริการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต แถลงข่าว ระบบบริการสุขภาพจิตแบบ  New normal ในโรงพยาบาลจิตเวช 


นพ.จุมภฎ พรมสีดา  รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต  กล่าวว่า จากที่มีการเคยเผยแพร่เกี่ยวกับกราฟที่บอกถึงผลกระทบระยะยาวจากโควิด-19 แบ่งเป็นคลื่นลูกที่ 1 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการระบาดสูงสุด โรงพยาบาลทุกแห่งรองรับผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 มากขึ้น รวมถึงโรงพยาบาลจิตเวชที่มีการกันหอผู้ป่วยให้กับผู้ป่วยโควิด-19 เมื่อสถานการณ์ดีขึ้น ก็เข้าสู่คลื่นลูกที่ 2 จำนวนคนไข้เร่งด่วน ไม่ใช่ผู้ป่วยโควิด-19 ที่ได้เลื่อนการรักษาได้กลับเข้ามารักษาเพิ่มขึ้น ตามด้วยคลื่นลูกที่ 3 ผู้ป่วยเรื้อรัง ที่ต้องเข้ามาพบแพทย์ติดตามอาการตามนัด และคลื่นลูกที่ 4 ซึ่งเป็นส่วนที่กังวลใจมาก เพราะเป็นประชาชนกลุ่มหนึ่งได้ผลกระทบทางเศรษฐกิจ ในช่วงโควิด-19 นำไปสู่ภาวะเครียด ซึมเศร้า หรือการอยากฆ่าตัวตาย และอีกกลุ่มก็คือ บุคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานอย่างเหนื่อยล้า 


“ซึ่งขณะนี้ประเทศไทยอยู่ในระยะของคลื่นลูกที่ 3 และ 4 หากไม่มีการระบาดในระลอกสอง ที่จะมีการให้บริการผู้ป่วยจิตเวชเพิ่มมากขึ้น เพราะในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน ที่ผ่านมา มีผู้ป่วยนอกลดลง 30% และผู้ป่วยในลดลง 47.6% เนื่องต้องการยืดระยะเวลาการกลับมารักษาที่โรงพยาบาลเพื่อลดความเสี่ยงจากการเดินทาง  ทั้งนี้ในการคาดการณ์จำนวนประชาชนที่จะมารับบริการสุขภาพคาดว่าจะเพิ่มขึ้น เพราะเกิดความเครียด จากปัจจัยต่างๆ และผู้ป่วยนอนรักษาก็อาจจะมากขึ้นด้วย จากการรักษาไม่ต่อเนื่องและขาดยา แต่สิ่งที่ต้องคำนึงในการใช้บริการคือ การให้บริการแบบ New Normal อย่าง โรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์  ที่มีจุดคัดกรองผู้ป่วย การรักษาระยะห่าง ระหว่างรอรับบริการ การรอพบแพทย์ มีการแจ้งเตือนข่าวสารต่างๆ เป็นต้น ซึ่งจะเป็นแนวทางในการปฏิบัติขยายต่อไปในทุกโรงพยาบาลจิตเวช”นพ.จุมภฎ กล่าว 


ด้านนพ.บุรินทร์ สุรอรุณสัมฤทธิ์ ผู้อำนวยการกองบริหารระบบบริการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กล่าวเสริมว่า ในการปรับเปลี่ยนระบบบริการของโรงพยาบาลจิตเวชเป็น New Normal มีการรองรับอยู่ 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยใหม่ เพราะวิกฤตโควิด-19 ยังไม่ยุติ ที่มีผลทั้งทางตรง คือร่างกายได้รับเชื้อไวรัส และทางอ้อม คือวิกฤตเศรษฐกิจ การรักษาระยะห่าง และกลุ่มอื่นๆ อย่าง บุคลากรทางการแพทย์ และกลุ่มติดเชื้อหรือเสี่ยงติดเชื้อ ที่ล้วนมีความเครียด ดังนั้นในการเตรียมรองรับผู้ป่วยสุขภาพจิต อาจไม่สามารถใช้โรงพยาบาลเพียงอย่างเดียวในการดูแล ส่วนที่สำคัญคือประชาชนเอง ต้องมีความรู้ในการดูแลสุขภาพจิต โดยผ่านช่องทางออนไลน์ แอพพลิเคชั่น Mental Health Check up ด้วยการทำแบบประเมินสุขภาพจิต และบริการให้ความรู้ด้านสุขภาพจิต ที่มีสื่อออนไลน์ E-learning สร้างความเข้มแข็งทางจิตใจ ที่สามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ กรมสุขภาพจิต และการใช้สายด่วน 1323 ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาคู่สายเพิ่มขึ้น และมี Chat Bot 1323 ที่จะตอบปัญหาทั่วไปและสุขภาพ 


นพ.บุรินทร์ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้หากมีการประเมินตัวเองแล้วไม่ดีขึ้นอยากมาพบแพทย์ ที่โรงพยาบาล ที่ได้มีการปรับรูปแบบเป็น New Normal ผู้ที่จะเข้ามารักษาก็จะเริ่มต้องตั้งแต่จองคิว/นัดหมายออนไลน์ เพื่อลดจำนวนคนที่เข้ามาในโรงพยาบาล หรือหากใครมีอาการทางเดินหายใจก็จะเข้าตรวจแยกที่คลินิกสังเกตอาการทางเดินหายใจ หรือนัดเหลื่อมเวลา เว้นระยะห่าง รวมไปถึงบริการขนส่งทางไปรษณีย์หรือทางร้านขายยา หรือผ่านระบบ Drive thru รวมไปถึงการบำบัดหรือให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ และให้บริการจิตบำบัดรักษารายบุคคล มากกว่ารายกลุ่มหรืออาจจะลดลงและต้องรักษาระยะห่าง โดยแบ่งกลุ่มบริการออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสีแดง คือคนไข้ใหม่/จำเป็นต้องมาโรงพยาบาล ที่มีอาการรุนแรงต้องทำการเฝ้าระวัง เพื่อให้ลดการอยู่โรงพยาบาลให้น้อยที่สุด ส่วนกลุ่มสีเหลือง คือ คนไข้เห่าจำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อติดตามอาการ หรือบุคคลที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อย ก็จะเข้าสู่การใช้เทคโนโลยีในการเฝ้าระวังและติดตาม และกลุ่มสีเขียว คือผู้ป่วยจิตเวชที่อาการคงที่ ใช้ระบบรับยาทางไปรษณีย์ หรือ Drive thru ต่างๆระบบการติดตาม  ในโปรแกรมโทรถามตามเยี่ยม โดยการโทรถามทางโทรศัพท์ หรือ วิดีโอคอล ส่วนผู้ป่วยต้องรายงานตัวเอง ผ่านแอพพลิเคชั่นและวิดีโอคอล และเยี่ยมบ้าน ในกรณีที่จำเป็น สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาซับซ้อน เป็นต้น
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"