บิ๊กป้อม มาเมืองเลย แก้ปัญหาน้ำแล้ง ดัน นวัตกรรมน้ำบาดาล หอถังยักษ์ เพื่อเกษตรกร


เพิ่มเพื่อน    

 

วันนี้ (10 มิถุนายน 2563) พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และนายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เดินทางไปตรวจติดตามโครงการเจาะบ่อน้ำบาดาลเสริมให้กับแหล่งน้ำดิบเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำอุปโภคบริโภค ที่เทศบาลนาโป่ง ตำบลนาโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดเลย และเป็นประธานในพิธีเปิดและส่งมอบบ่อน้ำบาดาล พร้อมระบบกระจายน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรแปลงใหญ่ ที่บ้านสะอาด ตำบลน้ำสวย อำเภอเมือง จังหวัดเลย โดยมีนายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย กล่าวต้อนรับ และนายศักดิ์ดา วิเชียรศิลป์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล กล่าวรายงาน ซึ่งการเดินทางมาจังหวัดเลยของรองนายกรัฐมนตรีครั้งนี้ เพื่อตรวจติดตามการแก้ไขปัญหาน้ำแล้งในพื้นที่ พร้อมผลักดันนวัตกรรมการพัฒนาน้ำบาดาลให้เป็นต้นแบบการนำไปใช้แก้ไขปัญหาภัยแล้ง และการขาดแคลนน้ำในพื้นที่อื่นๆ ให้ได้ประโยชน์สูงสุด

             

สืบเนื่องจากรัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมทรัพยากรน้ำบาดาล บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการบริหารจัดการน้ำของประเทศ เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาภัยแล้งและการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค และน้ำเพื่อการเกษตรให้แก่ประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ กรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้เร่งศึกษาและพัฒนานวัตกรรมด้านน้ำบาดาล เพื่อตอบโจทย์การแก้ไขปัญหาภัยแล้ง และเพิ่มความมั่นคงด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาลได้มากขึ้น โดยพิจารณาจากปริมาณน้ำต้นทุนของน้ำบาดาลในประเทศไทยที่มีอยู่มหาศาลกว่า 1.13 ล้านล้านลูกบาศก์เมตร และแต่ละปีจะมีปริมาณน้ำฝนที่ไหลลงไปเติมในชั้นน้ำบาดาลอีกกว่า 72,000 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่มีการนำน้ำบาดาลมาใช้เพียงปีละ 15,000 ล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้น กรมทรัพยากรน้ำบาดาลจึงมีแนวคิดที่จะต่อยอดการนำน้ำบาดาลมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยศึกษาและพัฒนานวัตกรรมด้านน้ำบาดาล จำนวน 10 โครงการ ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาภัยแล้งให้กับประชาชนในพื้นที่ต่างๆ และเป็นการเพิ่มความมั่นคงด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาลของประเทศ โดยโครงการศึกษาการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรแปลงใหญ่ที่กรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้เริ่มดำเนินการนำร่องใน 6 พื้นที่ ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี ลำพูน เพชรบูรณ์ ยโสธร เลย และสระแก้ว นับเป็น 1 ใน 10 นวัตกรรมด้านน้ำบาดาลที่จะสามารถแก้ไขปัญหาภัยแล้งเร่งด่วนได้ทันต่อสถานการณ์ นอกจากนี้ ยังเป็นการส่งเสริมภาคเกษตรกรรมให้สามารถใช้น้ำบาดาลควบคู่ไปกับการใช้ น้ำผิวดินได้อย่างไม่ขาดแคลน เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และมีน้ำใช้เพื่อการเพาะปลูกได้ตลอดทั้งปี

 

 

พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลมีความห่วงใยประชาชนที่กำลังเผชิญกับสถานการณ์ภัยแล้งอยู่ในขณะนี้ จึงได้เร่งสั่งการให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขและบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำ ไม่ว่าจะเป็นน้ำอุปโภคบริโภค หรือน้ำเพื่อการเกษตร เพื่อให้ทุกคนทุกพื้นที่สามารถผ่านพ้นปัญหาภัยแล้งปีนี้ไปได้ และจะต้องคิดค้นเพื่อหาวิธีกักเก็บน้ำฝนให้ได้มากที่สุด เพื่อรองรับกับฤดูแล้งหน้าที่จะมาเยือนในปีต่อไป สำหรับโครงการน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรแปลงใหญ่ที่กรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้ริเริ่มทำในพื้นที่ 6 จังหวัดนั้น

 

นับว่าเป็นนวัตกรรมด้านการพัฒนาน้ำบาดาลของประเทศไทยที่จะเป็นต้นแบบให้นำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง และการขาดแคลนน้ำกับพื้นที่อื่นๆ ให้ได้ประโยชน์สูงสุด ทั้งในด้านจำนวนของประชาชนหรือเกษตรกรที่ได้รับประโยชน์ พื้นที่ที่ได้รับประโยชน์ รวมถึงปริมาณน้ำบาดาลที่มีให้ใช้อย่างเพียงพอตลอดทั้งปี อย่างไรก็ตาม หลังจากการส่งมอบโครงการให้แก่กลุ่มเกษตรกรไปแล้ว ผู้นำท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็น นายก อบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จะต้องทำความเข้าใจกับประชาชนและกลุ่มเกษตรกรว่า การใช้น้ำบาดาลเพื่อการเกษตรแปลงใหญ่แบบนี้ จะต้องช่วยกันดูแลรักษา และเน้นปลูกพืชใช้น้ำน้อย แต่ขายได้ราคาสูง ดังนั้น เมื่อเกษตรกรมีรายได้มากขึ้น คุณภาพชีวิตก็จะดีขึ้นตามไปด้วย ปัญหาการย้ายถิ่นฐานไปทำงานที่อื่นก็จะน้อยลง ทำให้ครอบครัวมีความสุขและความอบอุ่นเมื่อได้อยู่ร่วมกันอย่างพร้อมหน้า

 

นายศักดิ์ดา วิเชียรศิลป์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล กล่าวว่า โครงการศึกษาการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรแปลงใหญ่ เป็นโครงการที่ส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่มทำการเกษตรแปลงใหญ่ตามนโยบายของรัฐบาล เนื่องจากที่ผ่านมาการบริหารจัดการแบบเดิมที่ต่างคนต่างทำหรือเป็นแบบแยกกลุ่ม ทำให้เกษตรกรขาดอำนาจในการต่อรองทางการตลาด ดังนั้น เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร เพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขัน แก้ไขปัญหาความยากจน และส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกรมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาลอย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพและยั่งยืน ซึ่งปัจจุบันโครงการนำร่องทั้ง 6 พื้นที่ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว พร้อมส่งมอบให้เกษตรกรได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยจะมีผู้ได้รับประโยชน์ไม่น้อยกว่า 500 ครัวเรือน มีพื้นที่ได้รับประโยชน์รวมแล้วกว่า 4,000  ไร่ และมีปริมาณน้ำรวมไม่น้อยกว่า 1.34 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี

 

ทั้งนี้ บ้านสะอาด หมู่ที่ 6 ตำบลน้ำสวย อำเภอเมือง จังหวัดเลย นับเป็นแห่งแรกที่มีพิธีเปิดและส่งมอบโครงการฯ ให้แก่กลุ่มเกษตรกร ซึ่งมีสมาชิกรวมทั้งหมด 99 ครัวเรือน พื้นที่เกษตรแปลงใหญ่รวมทั้งสิ้น 791 ไร่ เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกพืชผักสวนครัวเป็นหลัก อาทิ ผักกาด แตงกวา กะหล่ำ พริก มะเขือ และดอกกุหลาบ โดยนำไปขายตลาดค้าส่งตลอดทั้งปี ที่ตลาดเมืองทองเจริญศรี จังหวัดอุดรธานี ส่วนรูปแบบของโครงการฯ ประกอบด้วย บ่อน้ำบาดาล ขนาด 6 นิ้ว จำนวน 3 บ่อ พร้อมติดตั้งระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ สามารถสูบน้ำได้ 75 ลูกบาศก์เมตร หรือ 75,000 ลิตรต่อชั่วโมง หอถังเหล็กเก็บน้ำ ขนาดความจุ 100,000 ลิตร จำนวน 4 ถัง ปริมาณน้ำรวม 400,000 ลิตร มีการวางท่อกระจายน้ำ ความยาว 3,000 เมตร ครอบคลุมพื้นที่ของกลุ่มเกษตรกร และส่งเสริมให้ปลูกพืชใช้น้ำน้อย แต่สามารถจำหน่ายได้ราคาดี และเป็นที่ต้องการของตลาด เช่น ปลูกผักกาดขาว แตงกวา หรือกะหล่ำ ต้นทุน 60,000 บาทต่อไร่ต่อปี จะทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้นถึง 200,000 บาทต่อไร่ต่อปี


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"