นายกฯแถลงเวทีสุดยอดอาเซียนปลุกสมาชิกผนึกกำลังเลี่ยงการถูกบังคับให้เลือกข้างจากมหาอำนาจ


เพิ่มเพื่อน    

 

26 มิ.ย.63 - เมื่อเวลา 10.40 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 36 และการประชุมที่เกี่ยวข้องผ่านระบบประชุมทางไกล โดยนายกรัฐมนตรี กล่าวถ้อยแถลง เพื่อเสนอแนวทางการขับเคลื่อนอาเซียนในยุคหลังโควิด-19 ตอนหนึ่งว่า ขอแสดงความชื่นชมและยินดีกับเวียดนามที่การประชุมสุดยอดอาเซียนและอาเซียนบวกสาม สมัยพิเศษว่าด้วยโควิด-19 เมื่อเดือนเม.ย. ที่ผ่านมาประสบความสำเร็จด้วยดี ซึ่งช่วยเสริมสร้างความร่วมมือของอาเซียน ในการรับมือกับโควิด-19 ให้มีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ในช่วงที่ผ่านมา สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทยดีขึ้นเป็นลำดับ สามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้เป็นอย่างดี รัฐบาลจึงได้เริ่มผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการดำเนินชีวิต แต่ยังคงบังคับใช้มาตรการด้านสุขอนามัย การรักษาระยะห่างทางสังคม และการใช้แอปพลิเคชัน “ไทยชนะ” ป้องกันมิให้เกิดการแพร่ระบาดระลอกสอง ในขณะที่กำลังปรับตัวรับกับวิถีใหม่

นายกฯ กล่าวว่า อีกด้านหนึ่ง ทุกคนก็กำลังรับมือกับสภาพภูมิรัฐศาสตร์ของโลก ที่ผันผวนมากขึ้น เราได้เห็นการเผชิญหน้าระหว่างมหาอำนาจ การเพิ่มขึ้นของกระแสชาตินิยมและต่อต้านโลกาภิวัตน์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อความมั่นคงและเสถียรภาพระหว่างประเทศ และท้าทายระบบพหุภาคีนิยม อาเซียนจึงควรร่วมมือกันต้านกระแสเหล่านี้ เสริมสร้างระบบภูมิภาคนิยมให้เข้มแข็งและส่งเสริมการช่วยเหลือเกื้อกูลระดับโลก ผนึกกำลังในการรักษาความเป็นแกนกลางของอาเซียนในสถาปัตยกรรมภูมิภาค หลีกเลี่ยงการถูกบังคับให้เลือกข้าง และเป็นสะพานเชื่อมโยงมหาอำนาจที่เข้ามามีปฏิสัมพันธ์กับภูมิภาคใช้มุมมองของอาเซียนต่ออินโด-แปซิฟิกให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้อาเซียนสามารถรักษาสันติภาพ เสถียรภาพ /ส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ได้อย่างยั่งยืน
 
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ขอเสนอ 3 แนวทางเพื่อขับเคลื่อน‘อาเซียนในยุคหลังโควิด-19 โดยประการแรก ‘อาเซียนที่เชื่อมโยงกันมากขึ้น ด้วยการเร่งดำเนินการตามแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกัน/และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสีเขียว นอกจากนี้ควรเริ่มพิจารณาแนวทางร่วมกันในการผ่อนคลายมาตรการที่เป็นอุปสรรคต่อการเดินทาง เพื่อช่วยฟื้นฟูธุรกิจและการเดินทาง โดยอาจพิจารณาความเป็นไปได้ในการจัดทำข้อตกลงระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนที่มีความพร้อมก่อน สร้างช่องทางพิเศษสำหรับนักธุรกิจและประชาชน บนพื้นฐานของมาตรการด้านสาธารณสุขที่ยอมรับร่วมกัน
 
ประการที่สอง ‘อาเซียนที่เข้มแข็งขึ้น’ ด้วยการ ‘สร้างความเข้มแข็งจากภายใน’ ผ่านการขับเคลื่อนการบูรณาการทางเศรษฐกิจ/เร่งลงนาม RCEP ภายในปีนี้ เพื่อช่วยการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว และ 10 ปีข้างหน้า เศรษฐกิจดิจิทัลคือกุญแจสำคัญที่จะเพิ่มมูลค่าจีดีพีของอาเซียนให้สูงขึ้นอีกถึง ๑.๓ ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ /อาศัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสูงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตาม “โมเดลเศรษฐกิจ BCG” และประการที่สาม ‘อาเซียนที่มีภูมิคุ้มกันที่ดีขึ้น’ คือ สร้างภูมิคุ้มกันในระยะยาว ครอบคลุมประเด็นความมั่นคงทางสาธารณสุข โดยเฉพาะหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ส่งเสริมความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาวัคซีนที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ทั้งนี้ ไทยจะร่วมบริจาคเงินจำนวน 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ สนับสนุนกองทุนดังกล่าว เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งความร่วมมือ
 
"สำหรับไทย เราได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง/ มาประยุกต์ใช้ควบคู่ไปกับวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยหลักปรัชญาดังกล่าวสามารถเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยสนับสนุนให้อาเซียนกลับมาเข้มแข็งกว่าที่เคยเป็น ขอขอบคุณเพื่อนประเทศสมาชิกอาเซียนที่ได้ดูแลช่วยเหลือคนไทยในประเทศของท่าน และอำนวยความสะดวกในการส่งคนไทยกลับบ้าน ในขณะเดียวกัน รัฐบาลไทยก็ได้ดูแลให้ความช่วยเหลือพลเมือง ของประเทศสมาชิกอาเซียนที่ได้รับผลกระทบ้อำนวยความสะดวกการเดินทางกลับ รวมจำนวนกว่า 18,000 คน นอกจากนี้ต้องเร่งดำเนินการเชิงรุก โดยการร่วมประชุมหารือทางไกล เพื่อขจัดปัญหาอุปสรรค ความล่าช้า และเตรียมความพร้อมในทุกมิติ เมื่อสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย

ท้ายสุดนี้ ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีร่วมรับรอง‘วิสัยทัศน์ผู้นำอาเซียนว่าด้วยอาเซียนที่แน่นแฟ้นและตอบสนอง’ และขอแสดงความมุ่งมั่นของไทยที่ร่วมกับทุกภาคี เพื่อให้อาเซียนเป็นประชาคมของประชาชน ที่ทุกคนก้าวไปด้วยกัน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

จากนั้นพล.อ.ประยุทธ์ ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ถึงข้อเสนอต่อที่ประชุมเรื่องการจัดทำข้อตกลงร่วมกันด้านสาธารณสุข เพื่อเปิดประเทศหลังสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 คลี่คลาย ว่า เรื่องนี้ต้องหารือกันก่อน ทั้งสถานการณ์ภายนอกและภายในประเทศ เพราะจะต้องมีความพร้อมทั้งเรื่อง เฉพาะกลุ่ม เฉพาะเที่ยวบิน ดังนั้น จะต้องเตรียมควาพร้อมทั้งหมดว่าจะไปที่ไหนอย่างไร ทั้งชุมชน จะต้องดูแลด้วย จะต้องคิดเตรียมการไว้รอบด้าน จะทำผลีผลามไปก็จะเกิดอันตรายได้ ขอให้เห็นใจรัฐบาลด้วย ยอมรับ ผ่อนคลายมาตรการบางอย่างเตรียมไว้อยู่แล้ว แต่เมื่อวานนี้ ก็ยังหารือกันและมีความกังวล เรื่องการป้องกันและดูแลสุขภาพ ที่ยังจะต้องทำอย่างเข้มงวดต่อไป  โดยต้องทำควบคูกันไป ไม่เช่นนั้นก็จะเดินหน้าต่อไปไม่ได้ทั้งหมด ไม่สามารถแก้ไขปัญหาอะไรได้เลย


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"