'นภา-1'ยังทะยานขึ้นอวกาศไม่ได้ สภาพอากาศไม่เป็นใจ'ทอ.'สั่งเลื่อนรอบ 2


เพิ่มเพื่อน    


 28 มิ.ย. เวลา 08.51 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เดิมกองทัพอากาศมีกำหนดยิงนำส่งดาวเทียม "นภา-1" (NAPA-1) ซึ่งเป็นดาวเทียมเพื่อความมั่นคงดวงแรกของกองทัพอากาศขึ้นสู่อวกาศ เมื่อวันที่ 19 มิ.ย.ที่ผ่านมาด้วยจรวด Vega ของบริษัท Arianespace โดยยิงจาก Guiana Space Center ณ เฟรนช์เกียนา ดินแดนของสาธารณรัฐฝรั่งเศส ที่ตั้งอยู่ทางตอนบนของทวีปอเมริกาใต้ แต่ด้วยปัจจัยด้านสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยจึงมีการเลื่อนกำหนดการยิงนำส่งดาวเทียมออกไปก่อน ต่อมาบริษัท Arianespace มีกำหนดการยิงนำส่งดาวเทียมนภา-1 อีกครั้งในวันนี้ ( 28 มิ.ย.) เวลา 08.51 น.ตามเวลาประเทศไทย แต่พอถึงเวลาดังกล่าวมีการแจ้งว่ามีปัญหาทำให้ดำเนินการยิงจรวดไม่ได้

ทั้งนี้พล.อ.ท.พงษ์ศักดิ์ เสมาชัย โฆษกกองทัพอากาศ กล่าวว่า ตามที่กองทัพอากาศ แจ้งยืนยันการยิงนำส่งดาวเทียม “นภา-1” (NAPA-1) ขึ้นสู่อวกาศในวันที่ 28 มิ.ย. 2563 เวลา 08.51 น. ตามเวลาประเทศไทยด้วยจรวด Vega ของบริษัท Arianespace เที่ยวบิน VV16 พร้อมกับดาวเทียมอื่นๆ อีก 52 ดวง รวมเป็น 53 ดวง โดยยิงจากฐานยิงจรวด Guiana Space Center ณ เฟรนช์เกียนา สาธารณรัฐฝรั่งเศส ทั้งนี้ก่อนถึงเวลายิงนำส่งจรวด Vega ได้มีการตรวจสอบครั้งสุดท้าย โดยส่งบอลลูนขึ้นตรวจสภาพอากาศเหนือฐานยิงจรวด พบว่าสภาพอากาศด้านบนมีลมแรงในระดับที่อาจส่งผลกระทบต่อการยิงจรวดนำส่งดาวเทียมในครั้งนี้ ผู้รับผิดชอบจึงตัดสินใจเลื่อนภารกิจออกไปจนกว่าสภาพอากาศจะเอื้ออำนวย โดยจะประสานกับทางกองทัพอากาศอย่างใกล้ชิด

“สำหรับปัจจัยที่มีผลมากที่สุดของการเลื่อนกำหนดการส่ง หรือแม้แต่การยกเลิกกำหนดการส่งของจรวดนำส่งดาวเทียมคือเรื่องของสภาพอากาศ ซึ่งตามมาตรฐานของ NASA การส่งจรวดจะไม่ทำในสภาพอากาศที่มีฝนแม้แต่เล็กน้อย เพดานเมฆต้องไม่ต่ำกว่า 6,000 ฟุต หรือในสภาพที่ลมแรง โดยมีการกำหนดความเร็วของลมไม่ให้เกิน 60 กม.ต่อชั่วโมง รวมทั้งไม่ให้มีอุณหภูมิในระหว่างการส่งที่ต่ำกว่า 9 องศาเซลเซียส เนื่องจากความเย็นจะทำให้เกิดปัญหาในระบบต่างๆ ของจรวด นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่มีข้อกำหนดไว้ เช่น จะไม่มีการส่งจรวดในสภาวะอากาศที่มีฝนฟ้าคะนอง เนื่องจากอาจจะเกิดฟ้าผ่าที่ตัวจรวดขณะนำส่ง ที่อาจส่งผลกระทบต่อระบบต่างๆ ในตัวจรวดทำให้การส่งจรวดไม่ประสบความสำเร็จได้” พล.อ.ท.พงษ์ศักดิ์ กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับดาวเทียมนภา-1 (NAPA-1) เป็นดาวเทียมขนาดเล็ก (Nano Satellite) ซึ่งจะถูกส่งเข้าสู่วงโคจรแบบ Low Earth Orbit ที่ระดับความสูงประมาณ 500 กิโลเมตร มีภารกิจในการลาดตระเวนและเฝ้าตรวจทางอวกาศ อีกทั้งยังสามารถใช้ขีดความสามารถของดาวเทียมในการสนับสนุนงานด้านบรรเทาสาธารณภัยของประเทศ เช่น การสนับสนุนข้อมูลพื้นที่จุดความร้อนเพื่อการดับไฟป่า และการสนับสนุนข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการน้ำแก้ปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้ง ซึ่งเป็นก้าวแรกที่สำคัญในมิติความมั่นคงทางอวกาศเกี่ยวข้องโดยตรงกับความมั่นคงของชาติ


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"