'บิ๊กป้อม' ย้ำจังหวัดจับมือท้องถิ่นคุมเข้มเติมน้ำใต้ดินตามมาตรฐาน แก้ภัยแล้ง-น้ำท่วมยั่งยืน


เพิ่มเพื่อน    

"พล.อ.ประวิตร" ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ เปิดการประชุมเติมน้ำใต้ดิน พร้อมมอบนโยบายให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด รวมถึงหน่วยงานเกี่ยวข้องภารกิจการเติมน้ำใต้ดินอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ และเกิดประสิทธิภาพสูงสุดตามมาตรฐานของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง-น้ำท่วมอย่างยั่งยืน

2 ก.ค.63 - พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเติมน้ำใต้ดิน โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม อาทิ ผู้ว่าราชการจังหวัด ท้องถิ่นจังหวัด หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา และผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อซักซ้อมความเข้าใจในหลักเกณฑ์และแนวทางการเติมน้ำใต้ดินที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และร่วมเสวนาเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านน้ำบาดาลในการปฏิบัติงานเติมน้ำใต้ดินให้เป็นไปตามมาตรฐานของประเทศไทย

พล.อ.ประวิตร ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ได้สั่งการในที่ประชุม เมื่อวันที่ 11 มิถุนายนที่ผ่านมา ให้เร่งพัฒนางานเติมน้ำใต้ดิน โดยมอบหมายให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมทรัพยากรน้ำบาดาล เป็นเจ้าภาพหลัก พร้อมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งจัดทำแผนการพัฒนาบ่อน้ำบาดาลและการเติมน้ำใต้ดินตามหลักเกณฑ์ที่กรมทรัพยากรน้ำบาดาลเสนอ โดยเฉพาะท้องถิ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดพื้นที่ดำเนินการเก็บน้ำใต้ดินให้มากขึ้น

พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ที่ผ่านมามีหลายภาคส่วนและหลายหน่วยงานกล่าวถึงและดำเนินการในเรื่องของการเติมน้ำใต้ดิน ประกอบกับประชาชนเชื่อมั่นว่า การเติมน้ำใต้ดินสามารถแก้ไขปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมได้ จึงนิยมทำระบบเติมน้ำใต้ดินกันอย่างแพร่หลาย และคาดว่าจะสามารถแก้ไขและบรรเทาปัญหาภัยแล้งได้ ดังนั้น จึงขอให้ผู้ว่าฯทุกจังหวัดช่วยกันดูแล และกำชับควบคุมท้องถิ่นที่ดำเนินการเติมน้ำใต้ดินให้ทำอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ที่กรมทรัพยากรน้ำบาดาลกำหนดเป็นมาตรฐานไว้ และจะต้องทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

โดยนำองค์ความรู้เรื่องการเติมน้ำใต้ดินในวันนี้ไปใช้เป็นแนวนโยบายและสร้างการรับรู้ให้ท้องถิ่นได้ทำความเข้าใจ เกิดการยอมรับในหลักเกณฑ์และแนวทางการเติมน้ำใต้ดิน สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ รูปแบบทางวิชาการที่เหมาะสม แหล่งน้ำที่จะใช้เติม และคุณภาพน้ำทั้งก่อนเติมและหลังการเติมน้ำ โดยมีมาตรฐานหรือกลไกการกำกับดูแล รวมทั้งประเมินผลกระทบและการบริหารจัดการในระยะยาวเพื่อให้เกิดความยั่งยืนตลอดไป

ด้านนายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า หลังจากประเทศไทยได้ผ่านพ้นฤดูแล้ง และย่างเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการตามเกณฑ์ทางอุตุนิยมวิทยาแล้ว รัฐบาลได้มอบหมายให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมมาตรการรองรับสถานการณ์น้ำที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างรัดกุม และรอบด้าน รวมทั้งให้มีการเตรียมแผนการบริหารจัดการน้ำสำหรับแก้ไขปัญหาในระยะยาวอย่างยั่งยืน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมทรัพยากรน้ำบาดาล สนับสนุนให้ใช้วิธีการเติมน้ำใต้ดิน โดยนำน้ำที่เหลือใช้ในช่วงน้ำท่วมน้ำหลาก หรือน้ำฝนที่ตกลงมาเติมลงสู่ชั้นน้ำบาดาลด้วยวิธีการที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และนำกลับมาใช้ใหม่ในช่วงเวลาที่ต้องการ เป็นการช่วยธรรมชาติฟื้นฟูชั้นน้ำบาดาล แก้ไขปัญหาการลดระดับลงของชั้นน้ำบาดาลให้กลับคืนสู่สภาพเดิม ช่วยระบายน้ำและลดปริมาณน้ำ ที่สำคัญรูปแบบและวิธีการเติมน้ำใต้ดินที่เหมาะสม จะเพิ่มความคุ้มค่าและประหยัดงบประมาณ

ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2563 มีแผนงานโครงการเติมน้ำใต้ดินรวมทั้งสิ้น 530 แห่ง ในพื้นที่แอ่งน้ำบาดาลเจ้าพระยาตอนบน และจันทบุรี-ตราด ขณะนี้ดำเนินการเสร็จแล้วจำนวน 250 แห่ง และคาดว่าจะแล้วเสร็จทั้งหมดภายในเดือนสิงหาคม 2563 นี้


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"