จุฬาฯเผยงานวิจัย"ยาภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง"คืบกำลังก้าวสู่ Phase 3 "ผลิตยาต้นแบบ "เพื่้อทดลองในสัตว์


เพิ่มเพื่อน    

8ก.ค.63-คณะทีมวิจัย ยาภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้รายงานความคืบหน้าว่าในขณะนี้กระบวนการพัฒนายาภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็งของคนไทยมีความคืบหน้าไปมาก เนื่องจากทางทีมวิจัยได้ค้นพบยาแอนติบอดีต้นแบบ 2 ตัว ที่ได้จากเซลล์เม็ดเลือดขาวของหนู ซึ่งมีฤทธิ์ในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีใกล้เคียงกับยาที่ผลิตได้ในต่างประเทศ 

ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ทางทีมวิจัยได้นำยาแอนติบอดีต้นแบบทั้ง 2 ตัว ที่ได้จากหนูไปปรับปรุงให้มีความเข้ากันได้ดีกับร่างกายของมนุษย์ และได้ทำการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของยาให้ดียิ่งขึ้นไปอีก ซึ่งนี่ถือเป็นความสำเร็จอีกขั้นหนึ่งในการพัฒนายาภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็งของคนไทย

การเดินหน้าต่อจากนี้ทางทีมวิจัยจะนำยาต้นแบบที่ปรับปรุงได้เข้าโรงงานผลิตยา เพื่อทำการผลิตในปริมาณมาก และเพื่อให้ยามีคุณภาพความปลอดภัยตรงตามมาตรฐานสากล ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาอีกประมาณ 18 - 24 เดือน กว่าจะแล้วเสร็จ หลังจากนั้นจึงจะนำยาที่ผลิตได้ไปทดสอบในสัตว์ทดลองเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนที่จะทำการทดสอบในมนุษย์ต่อไป

สำหรับกระบวนการพัฒนายาแอนติบอดี้นั้นแบ่งออกเป็นระยะต่าง ๆ ได้ 5 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1 ผลิตยาแอนติบอดี้ต้นแบบจากหนู โดยคัดเลือกและทดสอบยาต้นแบบที่ได้จากเซลล์เม็ดเลือดขาวของหนูกว่าหนึ่งแสนแบบ ซึ่งทางทีมวิจัยประสบความสำเร็จในการค้นพบยาต้นแบบที่มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับยาที่ผลิตในต่างประเทศเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ระยะที่ 2 ปรับปรุงยาแอนติบอดี้ต้นแบบที่ได้จากเซลล์เม็ดเลือดขาวของหนูให้มีความเข้ากันได้กับร่างกายของมนุษย์ และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของยาให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งในขณะนี้ทางทีมวิจัยก็ประสบความสำเร็จในการพัฒนายาในขั้นตอนนี้เป็นที่เรียบร้อยแล้วเช่นกัน

ระยะที่ 3 ผลิตยาปริมาณมากในโรงงาน เมื่อเราได้ยาต้นแบบที่มีประสิทธิภาพดีและสามารถเข้ากันได้กับร่างกายของมนุษย์แล้ว จึงทำการผลิตยาในปริมาณมากจากในโรงงาน ซึ่งต้องมีการควบคุมคุณภาพให้มีมาตรฐานและความปลอดภัยสูงสุด ซึ่งในปัจจุบันงานวิจัยกำลังดำเนินการเข้าสู่ขั้นตอนนี้ ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาอีกประมาณ 18 - 24 เดือน

ระยะที่ 4 ทดสอบยาที่ผลิตได้จากโรงงานในสัตว์ทดลอง ได้แก่ หนู และ ลิง เพื่อทดสอบคุณภาพและความปลอดภัยของยาก่อนที่จะนำมาทดสอบในมนุษย์ต่อไป ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 20 - 24 เดือน

ระยะที่ 5 ทดสอบยาที่ผลิตได้ในมนุษย์ในแง่มุมต่าง ๆ เช่น ปริมาณการให้ยา ประสิทธิภาพในการรักษา และผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น เป็นต้น ซึ่งจะทำการทดสอบในผู้ป่วยมะเร็งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย คาดว่าจะใช้ระยะเวลาประมาณ 48 - 60 เดือน

จะเห็นได้ว่ากว่าจะมาเป็นยาภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็งตัวแรกที่ผลิตได้โดยประเทศไทยนั้น ต้องมีกระบวนการพัฒนาที่ซับซ้อนหลายขั้นตอน อีกทั้งยังต้องใช้ระยะเวลาและงบประมาณในการผลิตที่สูงมาก 

เพื่อที่จะทำให้ยานี้เป็นจริงได้จึงต้องอาศัยพลังน้ำใจจากคนไทยทุกคน มาช่วยกันสนับสนุนให้ยาตัวนี้ประสบความสำเร็จโดยเร็วที่สุด เพื่อเป็นความหวังใหม่ในการรักษามะเร็งให้กับคนไทยทุก ๆ คนต่อไป 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"