นโยบายของเวียดนามต่อทะเลจีนใต้


เพิ่มเพื่อน    

 

     ในบรรดาชาติที่พิพาทกับจีนเรื่องสิทธิ์ในทะเลจีนใต้ เวียดนามพิพาทกับจีนแรงสุด เคยปะทะด้วยกำลังทหารมาแล้ว เผชิญหน้าต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน และน่าจะตึงเครียดมากขึ้น ทั้งคู่มีข้อพิพาทหลายจุดตั้งแต่หมู่เกาะสแปรตลีย์ (Spratly Islands) หมู่เกาะพาราเซล (Paracel) เวียดนามเรียก Hoang Sa ส่วนจีนเรียกหมู่เกาะซีซา (Xisha Islands) และพื้นที่เขตเศรษฐกิจจำเพาะ (EEZ)

                การจะเข้าใจท่าทีจุดยืนเวียดนามต้องเข้าใจเป้าหมายก่อน

                เวียดนามไม่ต่างจากประเทศทั่วไปที่ประกาศต้องการสันติภาพ เสถียรภาพ เพราะสันติภาพเท่านั้นที่ส่งเสริมบรรยากาศการพัฒนาเป็นประโยชน์ทั้งต่อเวียดนาม ภูมิภาคและโลก รัฐบาลเวียดนามเห็นว่าสันติภาพกำลังถูกคุกคามและเป็นอันตรายหากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องไม่ยับยั้งชั่งใจ ต้องแสวงหาความร่วมมือแทนหาเรื่องใส่กัน อีกทั้งดุลอำนาจกำลังเปลี่ยนแปลง (จีนก้าวขึ้นมา) เกิดการเผชิญหน้า แสดงการยั่วยุเสมอ

เหตุที่เวียดนามต้องปกป้องทะเลจีนใต้ :

                ถ้าไม่นับเหตุผลเรื่องปกป้องอธิปไตย ทะเลจีนใต้เป็นแหล่งพลังงานสำคัญที่สุดของเวียดนาม คาดว่าพื้นที่ทับซ้อนมีทรัพยากรมหาศาล นับจากปี 2007 เป็นต้นมา จีนพยายามกดดันบริษัทน้ำมันต่างชาติให้หยุดช่วยเวียดนามสำรวจทรัพยากรน้ำมันกับก๊าซธรรมชาติ แต่เวียดนามยังคงพยายามไม่ลดละ เกิดการตอบโต้ไปมาหลายครั้ง

                และในขณะที่ชาติมหาอำนาจแข่งขันช่วงชิงผลประโยชน์ในย่านนี้ เวียดนามเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  เวียดนามใช้สถานการณ์ดังกล่าวเป็นโอกาสเป็นเครื่องมือต่อรองทางการเมืองระหว่างประเทศเหมือนกัน

ท่าทีเวียดนามต่อทะเลจีนใต้ :

            ประการแรก หมู่เกาะสแปรตลีย์กับพาราเซลเป็นของเวียดนาม

                รัฐบาลเวียดนามเรียกร้องให้จีนยุติการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างบนเกาะแก่งต่างๆ ใน Truong Sa (หมู่เกาะสแปรตลีย์) กับ Hoang Sa (หมู่เกาะพาราเซลตามชื่อเวียดนาม) ย้ำว่าเวียดนามมีทั้งหลักฐานตามกฎหมายและประวัติศาสตร์ที่พิสูจน์ว่าทั้ง 2 เกาะเป็นของเวียดนาม

                การสร้างสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ที่ Chau Vien (Cuarteron Reef) กับ Gac Ma (Johnson South Reef-ทั้ง 2 เป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะสแปรตลีย์) ละเมิดอธิปไตยเวียดนามและ DOC ขอให้ปฏิบัติตาม UNCLOS

                ประการที่ 2 ใช้ทั้งความร่วมมือและดิ้นรนต่อต้าน

                เวียดนามเรียกร้องรักษาสิทธิ อธิปไตยของตน ความสัมพันธ์สองประเทศมีทั้งความร่วมมือคู่ความขัดแย้ง แม้ขัดแย้งแต่ยังเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือทางยุทธศาสตร์ จีนเข้าลงทุนในเวียดนามอย่างต่อเนื่องเป็นผลประโยชน์ร่วม

                ในภาคปฏิบัติสองฝ่ายต่างมีช่องทางการพูดคุยทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ทั้งระดับรัฐ ระดับพรรค ระดับรัฐมนตรี เช่น รัฐมนตรีกลาโหม เป็นกลไกควบคุมความขัดแย้ง

                เวียดนามใช้ความพยายามทั้งระดับพหุภาคีกับทวิภาคี ดังนั้นไม่ว่าจะมีอาเซียนหรือไม่ การเจรจาต่อรองระหว่างสองประเทศดำเนินไปไม่ต้องขึ้นกับอาเซียนเสมอไป

            ประการที่ 3 ยึดกฎหมายระหว่างประเทศเป็นที่ตั้ง

                การแก้ไขข้อพิพาทให้ยึดกฎหมายระหว่างประเทศเป็นที่ตั้ง โดยเฉพาะอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล (United Nations Convention on the Law of the Sea หรือ UNCLOS) ฉบับปี 1982 แนวปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้ (Declaration on the conduct of Parties in the South China Sea : DOC) และแนวปฏิบัติในทะเลจีนใต้ (Code of Conduct on South China Sea : COC) ที่กำลังหารือกันอยู่

            ประการที่ 4 ใช้สันติวิธี

                เป้าหมายบางข้อของเวียดนามสร้างความตึงเครียดขัดแย้ง แต่จะยึดแนวทางสันติวิธีตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ พร้อมกับเรียกร้องให้นานาชาติสนับสนุนแนวทางนี้ รัฐบาลเวียดนามคิดเสมอว่าต้องหากลไกควบคุมความขัดแย้งที่มีประสิทธิภาพ ยึดสันติภาพเป็นเป้าหมายไม่ใช่สงคราม

                เวียดนามมักให้อาเซียนเป็นผู้แสดงหลักในการธำรงไว้ซึ่งสันติภาพในภูมิภาค ยึดมั่นสันติวิธี ตามกระบวนการกฎหมายและการทูต

                ประการที่ 5 ขอให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องคำนึงผลประโยชน์ของอีกฝ่าย

            การแก้ไขข้อพิพาทดินแดนไม่ใช่เรื่องง่าย ทุกฝ่ายจำต้องคำนึงผลประโยชน์ของอีกฝ่าย ถ้ายึดผลประโยชน์เป็นที่ตั้งสิ่งที่ได้จากพื้นที่พิพาทเป็นชิ้นเล็กเมื่อเทียบกับผลประโยชน์ระหว่างประเทศโดยรวม โอกาสความร่วมมือต่างๆ การปล่อยให้ผลประโยชน์ชิ้นเล็กทำลายผลประโยชน์ชิ้นใหญ่เป็นเรื่องไร้เหตุผล เพียงแต่เรื่องสูญเสียอธิปไตยบูรณภาพแห่งดินแดนเป็นประเด็นอ่อนไหวที่ต่างยอมให้แก่กันไม่ได้

            ประการที่ 6 รับความช่วยเหลือจากประเทศอื่นๆหลายครั้งที่เมื่อเผชิญหน้าจีนรัฐบาลเวียดนามจะร้องขอให้สหรัฐแสดงบทบาทเข้มแข็งขึ้น กีดกันไม่ให้จีนสร้างสิ่งปลูกสร้างเพิ่มเติม รวมทั้งสิ่งปลูกสร้างทางทหารตามเกาะแก่งต่างๆ  ที่มีปัญหาเรื่องสิทธิ์

                นอกจากขอความช่วยเหลือจากสหรัฐแล้ว เวียดนามขอความช่วยเหลือจากอีกหลายประเทศ เช่น จากญี่ปุ่น ซึ่งพยายามขยายบทบาท ยกตัวอย่างปี 2014 ญี่ปุ่นส่งมอบเรือรบ 6 ลำแก่เวียดนาม เป็นส่วนหนึ่งของความช่วยเหลือมูลค่า 5 ล้านดอลลาร์เพื่อเสริมความเข้มแข็งในการปกป้องน่านน้ำเวียดนาม นาย Fumio Kishida รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศญี่ปุ่นกล่าวว่า “หวังว่าความช่วยเหลือนี้จะช่วยเวียดนามให้สามารถบังคับใช้กฎหมายทะเลได้ดียิ่งขึ้น”

                เป็นประเทศที่ 2 ของอาเซียนที่ได้รับเรือตรวจการณ์จากญี่ปุ่นในช่วงนั้น

                โดยสรุปแล้วนโยบายของเวียดนามคือรักษาสันติภาพความมั่นคงแก่ประเทศกับภูมิภาค ยึดมั่นการเดินเรือเสรีตามกฎหมายระหว่างประเทศ ให้ทุกชาติค้าขายต่อไป ต่อต้านการแก้ปัญหาด้วยการใช้กำลังหรือบั่นทอนทำลาย เป็นแนวทางเดียวกับอาเซียนและมิตรประเทศที่หวังสร้างระเบียบความมั่นคงบนกฎเกณฑ์

 

ทำอย่างไรจึงจะอยู่ร่วมกับมหาอำนาจในระยะยาว :

                เวียดนามกับอาเซียนหวังสร้างระเบียบความมั่นคงที่ทุกชาติต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ แต่จีนซึ่งเป็นสมาชิก UNCLOS วางเงื่อนไขแต่แรกว่าจะปฏิบัติตามข้อตกลงเฉพาะส่วนที่ไม่ขัดกฎหมายจีน ด้านสหรัฐที่เรียกร้องให้ทุกฝ่ายทำตามกฎหมายระหว่างประเทศนั้น ข้อเท็จจริงคือสหรัฐไม่เป็นสมาชิก UNCLOS ไม่มีใครสามารถกล่าวโทษสหรัฐที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศดังกล่าว

                เพียงเท่านี้ก็ทราบเจตจำนงของชาติมหาอำนาจทั้งสอง

            โจทย์ที่เวียดนามคิดถึงเสมอคือทำอย่างไรจะจึงอยู่ร่วมกับมหาอำนาจในระยะยาว เวียดนามไม่อาจห้ามจีนที่ก้าวขึ้นมาเรื่อยๆ แผ่ขยายอิทธิพล เสริมสร้างกองทัพ ในขณะที่สหรัฐเห็นว่าเป็นภัยคุกคามร้ายแรงขึ้นทุกที มีผลประโยชน์มหาศาลที่ต้องรักษา รัฐบาลทรัมป์ประกาศความเป็นปรปักษ์กับจีนอย่างชัดเจน

                เป็นความจริงที่สถานการณ์โดยรวมยังเป็นปกติ เรือสินค้าเครื่องบินโดยสารเดินทางไปมาสะดวก แต่บรรยากาศของ 2 มหาอำนาจตึงเครียดมากขึ้น รัฐบาลสหรัฐเป็นปัจจัยสำคัญเช่นกัน หากรัฐบาลชุดต่อไปเป็นโจ ไบเดน ตัวแทนจากพรรคเดโมแครตน่าติดตามว่าความตึงเครียดจะลดลงหรือไม่

------------------------

ภาพ : แผนที่ทะเลจีนใต้


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"