สองล้อเดินหน้าเก็บตัวนักปั่นทีมชาติ ร่วมมือ มช. ใช้วิทยาศาสตร์การกีฬามาช่วย


เพิ่มเพื่อน    

"สองล้อ” เดินหน้าให้นักปั่นทีมชาติไทยเข้าแคมป์เก็บตัวฝึกซ้อมอย่างเต็มรูปแบบ ที่จังหวัดเชียงใหม่ นำโดย “บีซ” จุฑาธิป มณีพันธุ์ นักปั่นชุดโอลิมปิกเกมส์ 2020 ที่กรุงโตเกียว พร้อมด้วยนักปั่นชุดซีเกมส์ ทีมอาชีพ และชุดเยาวชนอายุไม่เกิน 23 ปี ด้าน “พลเอกเดชา” เผย สมาคมกีฬาจักรยานฯ ร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำวิทยาศาสตร์การกีฬามาใช้ในการพัฒนาขีดความสามารถในการฝึกซ้อมและแข่งขันอย่างเต็มที่

        “เสธ.หมึก” พลเอกเดชา เหมกระศรี นายกสมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยว่า สมาคมกีฬาจักรยานฯ ได้เดินหน้าให้นักปั่นทีมชาติไทยเข้าแคมป์เก็บตัวฝึกซ้อมแบบเต็มรูปแบบเรียบร้อยแล้ว โดยนักกีฬาเริ่มเข้ารายงานตัวกับสตาฟฟ์โค้ช ที่จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ประเดิมด้วยน่องเหล็กทีมชาติไทยชุดถนนหญิง ที่เตรียมสู้ศึกโอลิมปิกเกมส์ 2020 ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ในปีหน้า นำโดย “หมวดบีซ” ร้อยโทหญิง จุฑาธิป มณีพันธุ์ ต่อเนื่องด้วยชุดเตรียมเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 31 ที่ประเทศเวียดนาม ในช่วงปลายปี 2564 พร้อมทั้งทีมถนนชายทั้งรุ่นใหญ่, ทีมอาชีพ “ไทยแลนด์ คอนติเนนตัล ทีม” และทีมเยาวชนดาวรุ่ง U-23

        พลเอกเดชา กล่าวว่า ทีมชาติไทยชุดแรกที่เข้าแคมป์เก็บตัวหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จะเป็นชุดที่นำเอาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา มาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการฝึกซ้อมและแข่งขันอย่างเต็มที่ โดยทีมชาติไทยชุดถนนดังกล่าว ได้ทำการทดสอบครั้งแรกเมื่อวันที่ 2-3 สิงหาคม ด้วยการทดสอบ “แลคเตท” เพื่อตรวจหาปริมาณกรดแลคติกในกล้ามเนื้อของนักปั่นทุกคน ภายหลังจากการฝึกซ้อมและหาอัตราการสลายกรดแลคติกในกล้ามเนื้อ ซึ่งจะมี มร.ปีเตอร์ พูลลี่ อดีตนักปั่นอาชีพชาวฝรั่งเศสเข้ามาช่วยตรวจวิเคราะห์ด้วย

        นายกสองล้อไทย กล่าวต่อไปว่า วันที่ 4-5 สิงหาคม ทีมชาติไทยเข้ารับการเจาะเลือดตรวจคุณสมบัติทั้งปริมาณฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) ความหนาแน่นของเม็ดเลือดแดง รวมถึงค่าสำคัญต่าง ๆ ซึ่งใช้เป็นฐานในการวิเคราะห์สำหรับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเพื่อแนะแนวทางในการฝึกซ้อมเฉพาะด้านของนักปั่นแต่ละคน จากนั้นผู้ฝึกสอนจะนำไปปรับใช้ในการฝึกซ้อมเพื่อให้นักปั่นแต่ละคนสามารถดึงเอาศักยภาพของตัวเองนำมาใช้ในการแข่งขันได้อย่างเต็มที่ โดยระหว่างที่นักกีฬาทีมชาติทำการตรวจร่างกายนั้นมีนักกีฬาและผู้ฝึกสอนจากโครงการพัฒนากีฬาเพื่อความเป็นเลิศ (Sports Hero) ของการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ร่วมชมด้วย เพื่อเป็นแนวทางในการเก็บตัวฝึกซ้อมต่อไป

        “สำหรับการตรวจทั้งสองแบบนั้น สมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทยฯ ได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายวิทยาศาสตร์การกีฬา และคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) อย่างเต็มที่ ในการจัดหาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเข้ามาเป็นผู้ดำเนินการและเป็นที่ปรึกษาให้กับผู้ฝึกสอนทีมชาติไทย ซึ่งการตรวจแลคเตทและตรวจเลือดดังกล่าว นักปั่นทีมชาติไทยจะต้องเข้ารับการตรวจเป็นระยะ ๆ เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการในแต่ละช่วง นอกเหนือจากการทดสอบความฟิตทางร่างกายที่ดำเนินการเป็นปกติทุกช่วงเวลาอยู่แล้ว” พลเอกเดชา กล่าว

        พลเอกเดชา กล่าวเพิ่มเติมว่า การนำระบบการตรวจแลคเตทและตรวจเลือดมาใช้กับทีมชาติไทยชุดถนน เป็นส่วนหนึ่งในโครงการการประยุกต์องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา หรือที่เรียกรวม ๆ ว่า สหวิทยาการ มาใช้กับทีมจักรยานไทย เพื่อเสริมกับวิทยาการด้านต่าง ๆ ที่ใช้อยู่กับนักปั่นไทยในปัจจุบัน ซึ่งในโครงการถัดไป ก็จะเป็นการนำเอาระบบการตรวจกล้ามเนื้อนักปั่นไทยในระดับยุวชนและเยาวชน เพื่อชี้ชัดว่านักกีฬาแต่ละคนมีธรรมชาติกล้ามเนื้อแบบใด เหมาะสมกับการเป็นนักกีฬาในแบบสปรินเตอร์ หรือแบบทางไกล รวมไปถึงการนำเอาระบบชีวกลศาสตร์นำมาใช้กับการปรับแต่งตำแหน่งการขี่และการปรับแต่งรถที่ใช้แข่งขัน เพื่อให้ร่างกายและกล้ามเนื้อทำงานได้เต็มความสามารถในการฝึกซ้อมและแข่งขัน


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"