โลกหลังโควิด: ไม่ใช่แค่ Restart แต่ต้องเป็น Reset


เพิ่มเพื่อน    

    "โลกหลังโควิด" เป็นอย่างไร? เป็นหัวข้อที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง...ปัญหาอยู่ที่ว่าเกือบทุกประเทศและทุกสังคมกำลังสาละวนอยู่กับการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ไม่มีเวลาหรือทรัพยากรและสมาธิพอที่จะคิดถึงอนาคตข้างหน้าได้มากมายนัก
    ผมสนใจว่าหลังโควิด "ระเบียบโลกใหม่" จะออกมาในรูปแบบไหน
    น่าคิดต่อว่า "โลกาภิวัตน์" หรือ globalization จะถูกปรับเปลี่ยนไปในรูปแบบใด
    โลกจะแบ่งเป็นสองค่ายเป็นตะวันตกและตะวันออกที่เรียกว่า decoupling จริงหรือไม่
    และหากโลกถูกแบ่งเป็นสองค่ายจริง การเมือง เศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีจะมีรูปร่างหน้าตาต่างกันอย่างไร
    นักวิเคราะห์บางคนบอกว่าหลังโรคระบาดหายไป โลกจะไม่เพียงแต่ต้องเริ่มต้นใหม่ (restart) แต่ยังต้องปรับใหม่หมด (reset) ด้วยซ้ำไป
    หรือโลกจะถูกแบ่งตามกลุ่มก้อนทางเศรษฐกิจ เช่น
    สหรัฐฯ จะนำกลุ่มเศรษฐกิจกับแคนาดาและเม็กซิโก
    ยุโรปจะหันไปสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของตนเองที่แยกตัวจากสหรัฐฯ ที่เคยเป็นแกนนำของโลกตะวันตก
    และเอเชียจะหันมาให้ความสำคัญกับกลุ่มก้อนทางเศรษฐกิจ เช่น RCEP และ CPTPP หรือไม่
    หากเป็นเช่นนั้นจริงเราจะเห็นโลกแบ่งเป็นสามขั้วใหญ่ที่มี สหรัฐฯ, เยอรมนี-ฝรั่งเศส และจีนเป็นหัวหน้ากลุ่มก้อนใหม่
    แทนที่จะเป็น Globalization ก็จะกลายเป็น Regionalization หรือจาก "โลกาภิวัตน์" ก็กลายเป็น  "ภูมิภาคนิยม" ไป
    หรือหากมีการประสานระหว่างเอเชียกับยุโรปและแอฟริกาใกล้ชิดยิ่งขึ้น ก็อาจจะแบ่งเป็น 3 ค่ายที่แบ่งกลุ่มตามผลประโยชน์ร่วมกันทางเศรษฐกิจที่มีชื่อว่า
    North American Free Trade Area
    Eurafrican Economic Union และ
    Eurasian Economic Union
    นั่นย่อมนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงในแนวคิดและวิถีปฏิบัติของประเทศต่างๆ อย่างน่าสนใจยิ่ง
    หลังสงครามโลกครั้งที่สองมีการเปลี่ยนขั้วอำนาจของโลก อเมริกาผงาดเป็นมหาอำนาจขณะที่ยุโรปถูกบดบังด้วยรัศมีของสหรัฐฯ ทั้งด้านเศรษฐกิจและความมั่นคง
    หลังสงครามโลกครั้งที่สองจีนยังอ่อนแอ คอมมิวนิสต์เข้ายึดอำนาจ ญี่ปุ่นกับเยอรมนีแพ้สงคราม ต้องใช้เวลาเลียแผลหลายปี แต่ก็สามารถสร้างตนเองจนเป็นประเทศเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจระดับโลกได้อย่างน่าทึ่ง
    หลัง "สงครามโควิด" ครั้งนี้เราจะเห็นการปรับเปลี่ยนดุลแห่งอำนาจของโลกในอีกรูปแบบหนึ่ง
    จีนจะผงาดมาเคียงบ่าเคียงไหล่สหรัฐฯ ขณะที่ยุโรปถูกเบียดลงไปอยู่อันดับสามของโลกที่ไม่จำเป็นต้องเดินเคียงคู่กับสหรัฐฯ เสมอไป
    ยุโรปอาจปรับระดับความสำคัญ ขยับมาใกล้จีนมากขึ้น และสามารถต่อรองกับสหรัฐฯ ได้มากขึ้นด้วย มีการสร้างความสัมพันธ์ผ่านระบบเศรษฐกิจใหม่กับจีน แอฟริกา และเอเชีย
    ขณะเดียวกันเราจะเห็นญี่ปุ่นและอินเดียปรับบทบาทของตัวเองอย่างแข็งขัน
    ด้านหนึ่งทั้งสองประเทศใหญ่ของเอเชียต้องการจะประสานมือกันเพื่อต้านการขยายอิทธิพลของจีน
    แต่อีกด้านหนึ่งทั้งอินเดียและญี่ปุ่นก็ต้องการจะค้าขายและร่วมลงทุนกับจีน หากสามารถกลบฝังความระหองระแหงในอดีตได้ในระดับที่น่าพอใจ
    จะเห็นว่าอาเซียนที่รวมกัน 10 ประเทศและมีประชากรเกือบ 600 ล้านคนนั้น เป็นกลุ่มก้อนที่มีอำนาจต่อรองไม่น้อย
    จึงเป็นหน้าที่ของไทยเราที่จะต้องผลักดันให้เกิดการ reset ของอาเซียนในด้านเศรษฐกิจ ความมั่นคง และสังคมอย่างเป็นระบบเพื่อเป็นอีก "ขั้ว" หนึ่งในระเบียบโลกใหม่ ที่จะสามารถผลักดันให้มีนโยบายที่เอื้อต่อการสร้างประเทศใหม่หลังโควิด
    ผมได้อ่านบทวิเคราะห์ของ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา  วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในมุมมองที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง "กระบวนทัศน์การพัฒนา" ที่น่าสนใจ เพราะเป็นประเด็นในประเทศที่น่าจะโยงใยถึงการปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ระดับโลกได้
    พรุ่งนี้คุยกันเรื่อง "โลกหลังโควิด" ในมุมมองของ ดร.สุวิทย์ครับ.
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"