ถอดรหัสสุดยอดที่ทำงานชั้นนำ ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่


เพิ่มเพื่อน    

สสส. ผนึกสำนักพิมพ์ Bookscape จัดเสวนาเปิดเวทีความสำเร็จ "ถอดรหัสสุดยอดที่ทำงาน: กูเกิล-ดีแทค-ศรีจันทร์" ภายใต้โครงการขับเคลื่อนความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาวะเด็กและครอบครัว และการพัฒนาศักยภาพเยาวชน โดยมีบริษัทชั้นนำในประเทศไทยเข้าร่วม ได้แก่ บริษัท กูเกิล (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ME by TMB Digital Banking ในเครือธนาคารทหารไทย และบริษัท ศรีจันทร์สหโอสถ จำกัด 

 

 

ณัฐยา บุญภักดี ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สสส. เป็นประธานในงานเปิดเวทีสำรวจเคล็ดลับความสำเร็จในการสร้างสถานที่ (น่า) ทำงาน เล่าประสบการณ์ตรงโดยผู้บริหารระดับสูงของสามบริษัทที่โดดเด่นด้านการสร้างที่ทำงานให้เป็นมิตรกับชีวิตพนักงาน และเป็นเลิศด้านธุรกิจ ร่วมสนทนาโดย จิรวัฒน์ ภูมิศรีแก้ว ผู้จัดการฝ่ายนโยบายและความสัมพันธ์ภาครัฐ บริษัท กูเกิล (ประเทศไทย) จำกัด, นาฏฤดี อาจหาญวงศ์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานบริหารทรัพยากรบุคคล บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) (ดีแทค), รวิศ หาญอุตสาหะ ซีอีโอ บริษัท ศรีจันทร์สหโอสถ จำกัด ดำเนินรายการโดย ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย บรรณาธิการสารคดีและบทความ The 101 world เมื่อวันที่ 18 ก.ค.ที่ผ่านมา

         

จิรวัฒน์ ภูมิศรีแก้ว ผู้จัดการฝ่ายนโยบายและความสัมพันธ์ภาครัฐ บริษัท กูเกิล (ประเทศไทย) จำกัด เล่าว่า ที่ทำงานของ บ.กูเกิลเป็นตัวอย่างของคนทั่วโลกที่ให้ความสนใจว่าเป็น The Best Place to Work ไม่ได้มีเพียงคำตอบเดียว แต่เป็นคำตอบที่เชื่อมโยงกับผู้ที่ทำงานร่วมด้วยอย่างเต็มประสิทธิภาพ มีการออกแบบสีสันด้วยมิติการทำงานในออฟฟิศที่อยู่สบาย เป็นตัวของตัวเองเหมือนทำงานอยู่ที่บ้าน การที่เราอยู่บ้านเป็นตัวของตัวเอง 100% แสดงความคิดเป็นของตัวเรา 100% งานกูเกิลใช้ความรอบด้านของทีมในการตอบโจทย์คนทั้งโลก ถ้าคุณมีศักยภาพก็ให้ลงมือลึกลงไป เพื่อสร้างความสำเร็จในการสร้าง product 9 ตัวบนจอ ทุกวันนี้มีคนเข้ามาใช้กูเกิลเป็นจำนวนมาก มากกว่า 18 ประเภทของ Users ด้วยจุดแข็งนี้เองจึงสร้างความสำเร็จให้องค์กร

 

         

มีการแชร์วิดีโอผ่านแพลตฟอร์มซึ่งเป็นที่นิยมของผู้ใช้ เป็นการสร้างสรรค์สิ่งเหล่านี้ให้เกิดขึ้น เป็นบริบทให้คนทำงาน เราต้องการให้คนในองค์กรทำงานอะไรมีลักษณะการทำงานแบบไหน กูเกิลมีคำว่า Why ที่เข้มแข็ง ด้วย vision ขององค์กร เรามีคนทำงานด้วยคำถามว่า ไปทำไม เชื่อมโยงกับสิ่งที่เราทำงานในแต่ละวัน นำมาจัดสรรเพื่อให้เข้าถึงได้ แต่ละทีมที่ทำงานนั้นต้องผ่านการ organized ให้คนใช้ ทุกคนบริหารจัดการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ คนหลายหมื่นคนย่อยลงมาให้เหลือเพียงคนเดียว

         

เราเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง ผลักดันการเปลี่ยนแปลงในการใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาโอกาส ได้รับการสนับสนุนทางเทคโนโลยี การคัดเลือกคนที่เหมาะสมกับการทำงาน นับตั้งแต่การสัมภาษณ์เพื่อเลือกคนทำงานเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าเลือกคนที่ไม่ตรงกับเป้าหมายขององค์กร การแก้ไขปัญหาแต่ละเรื่องจะยากกว่า คนที่จะทำงานในกูเกิลจะต้องเป็นคนใฝ่รู้ เราสร้างสิ่งที่ไม่รู้ได้ ถ้าเราเลือกคนที่มีน้ำเต็มแก้ว เก่งมาก มีความสามารถสร้างสรรค์สิ่งที่ไม่มีใครรู้ได้

         

เราตั้งคำถาม set เดียวถามทุกคนที่สอบสัมภาษณ์ เพื่อวัดในสิ่งเดียวกัน แล้วนำมาเปรียบเทียบกัน ไม่ใช่เป็นการตั้งคำถามถามแบบตามอำเภอใจ ดูว่ามีความสามารถในการทำงานในบริบทโจทย์ที่ข้อมูลไม่ครบ มีท่าทีต่อการบริหารสถานการณ์อย่างไร ดูวิธีการคิด ความรู้ในตำแหน่งงานที่ทำ การให้ความสำคัญกับการใฝ่รู้ GCA เป็นการเรียนรู้จากข้อผิดพลาดในชีวิตโดยเฉพาะองค์กรที่สร้างใหม่ สังเกตความเป็นผู้นำในการแก้ไขสถานการณ์ต่างๆ การทำในสิ่งที่ถูกต้องด้วยการใช้วิจารณญาณ ทำให้เราเห็น เปิดพื้นที่คนทำงานคิดเองว่าอะไรเป็นสิ่งที่ถูกต้อง มีการทำงานเกินกว่าหน้าที่ซึ่งถูกบอกให้ทำ แต่เมื่อทำงานเกินหน้าที่เป็นการ focus อย่างมีเป้าหมาย การเป็นคนถ่อมตน ให้ความสำคัญกับเพื่อนร่วมงาน นิสัยดี มีพื้นฐานการเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ได้เป็นอย่างดี ยอมรับที่จะเรียนรู้อะไรใหม่ๆ เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง เป็นคนสนุกสนาน มีอารมณ์ขัน คิดอะไรได้ดี ไม่มีกรอบมาปิดกั้นความคิด ทำงานได้ดีมีความสุข

         

ออฟฟิศที่นี่มีโซฟานุ่มๆ ให้นั่งสบายๆ ความสุขในออฟฟิศ มีความสะดวกสบาย สิ่งที่เราทำงานเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ คนในออฟฟิศรับผิดชอบตัวเอง เอกสาร ใบรับรองเงินดือน การออกแบบระบบดูแลความเป็นตัวของคุณ วิถีชีวิตในออฟฟิศ การนำอุปกรณ์การทำงานที่มีความจำเป็นต้องใช้ ถ่านไฟฉายไปด้วย วิธีปฏิบัติต่อคนในออฟฟิศ การทำให้มีความสะดวกสบายที่เหนือกว่าความสบายก็ต้องมีทีมทำงาน การชอบวิเคราะห์ให้ได้คำตอบจาก data มี project research การสร้างประสิทธิภาพของทีม

         

เราได้ superstar มารวมกันเป็น Dream Team การเจาะคนเก่งให้มาทำงานร่วมกัน การสร้างทีมที่มีประสิทธิภาพในการทำงาน เริ่มต้นจากคุณต้องสบายใจในการทำงานกับเพื่อนร่วมงาน รู้สึกปลอดภัยว่าเพื่อนร่วมงานดีต่อคุณ มีการเล่นกีฬา ตีปิงปองด้วยกัน กินข้าวด้วยกัน “เพื่อนต้องพึ่งได้ รู้สึกมั่นใจว่าเขาทำงานได้ดี” การประชุมแต่ละครั้งมีประเด็นในการนำเสนอ ทุกคนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา พึ่งพากันได้ มีความชัดเจนในตำแหน่งหน้าที่ว่าใครทำงานอะไร ใช้ความเป็นผู้นำพิจารณาด้วยว่ามีการทำงานที่ซ้ำซ้อนกันหรือไม่ มีการใช้ตัวตนเข้ามาทำงานในออฟฟิศด้วยหรือไม่

         

เราสร้างออฟฟิศให้มีความสบาย มีอาหารให้เลือกรับประทานตามความชอบ แต่ถ้าพนักงานไม่ชอบอาหารบางประเภท แสดงความคิดเห็นได้ มีช่องทางเสนอว่าอยากจะกินอะไร ทุกคนมีอิสระที่จะกำหนดเวลาทำงาน กูเกิลให้พื้นที่ทำงานค่อนข้างมาก ใช้เวลา 20% เพื่อไปทำโปรเจ็กต์ที่อยากจะทำงาน มีความเป็นอิสระในการนัดหมาย การออกแบบเพื่อขับเคลื่อนผลลัพธ์

          จิรวัฒน์เล่าว่า ในช่วงแรกที่เข้าทำงานปรับตัวไม่ได้ เพราะโจทย์ของกูเกิลต้องสเกลไปถึงคนทั้งโลก เราไม่สามารถโค้ชชิ่งทุกคนได้ “ในช่วงแรกที่ทำงานทุกอย่างที่กูเกิลต้องการนั้นไม่มีใครคุยกับผม บอกเพียงแต่ว่าให้ไปไซส์งาน ทำได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องให้ใครมาช่วย ผมยอมรับว่าถ้าผมเลือกเข้ามาทำงานที่นี่ช้ากว่าเมื่อแรกเข้า 10 ปี ผมปรับตัวไม่ได้แน่นอน เพราะต้องปรับตัวตามวัฒนธรรมขององค์กรให้ smooth”

            นาฏฤดี อาจหาญวงศ์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานบริหารทรัพยากรบุคคล บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) (ดีแทค) กล่าวว่า องค์กรต้องเริ่มจากการทำให้พนักงานมีความสุข เพื่อเป็นกำไรต่อเนื่องไปถึงครอบครัว โดยให้สิทธิสวัสดิการ การยืดหยุ่นในการทำงาน เช่น ไม่ให้ความสำคัญกับเวลาเข้าออกที่ทำงาน แต่ไม่ละเลยเป้าหมายและผลลัพธ์ความสำเร็จของงาน การให้สิทธิผู้หญิงสามารถสร้างครอบครัว และมีบุตร โดยไม่ต้องกังวลว่าคนที่มีครอบครัวหรือมีลูกจะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง เราคำนึงถึงเรื่องนี้มาก ดังนั้นพนักงานหญิงที่นี่สามารถลาคลอดได้ 6 เดือน โดยให้เงินเดือนครบทุกเดือน มีห้องนมแม่ที่มีอุปกรณ์พร้อม ศูนย์เด็กเล็ก มีสไลเดอร์ให้ลูกเล่นระหว่างรอแม่ทำงานเสร็จเพื่อกลับบ้าน และสนับสนุนให้สามารถสร้างสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน มีครอบครัวที่มีคุณภาพ พร้อมทำงานอย่างมีความสุข

         

“องค์กร dtac เป็นบริษัทข้ามชาติในเมืองไทย สนับสนุนครอบครัวด้วยความคิดความเชื่อในการดูแลพนักงาน มองเรื่องประสบการณ์ทำงานกับ dtac พนักงาน happy ในเวลาทำงาน แม้จะนอกเวลาทำงานก็ยังดูแลถึงลูกหลานพนักงานด้วย ทุกคนในที่นี้เคยเยี่ยมชมออฟฟิศดีแทค งานบางงานใช้เวลาในออฟฟิศ 10 ชั่วโมง มีห้องประชุมที่มีประสิทธิภาพ มีห้องยิม ห้องวิ่งจ๊อกกิ้ง ห้องชกมวย โต๊ะปิงปอง แต่ในช่วงโควิด ห้องทั้งหมดนี้ไม่ได้ใช้ เพราะทุกคนทำงานที่บ้าน เราต้องปรับเปลี่ยนไม่ยึดติดกับพื้นที่ในเรื่องเดิมๆ อีกต่อไป”

         

ในช่วงโควิดมีการเปลี่ยนแปลงให้พนักงานล็อกดาวน์ทำงานที่บ้าน พนักงานออฟฟิศ dtac เปลี่ยนไปทำงานที่บ้าน 100% แม้แต่ dtac call มีการจัดเตรียมเครื่องมือให้มีความพร้อมที่จะเคลื่อนย้ายไปทำงานที่บ้านได้ มี platform นำเสนอผู้บริหารโดยตรง open talk เหมือนพันทิป หากมีข้อสงสัยสอบถาม CEO ได้โดยตรง เมื่อถึงเวลาที่จะกลับมาทำงานที่ออฟฟิศก็มีความพร้อม สถานการณ์โควิดพิสูจน์ในเรื่องความกังวลใจ ปรากฏว่าทำงานที่บ้านได้ผลงานเยอะกว่าเดิมอีก สิ่งเหล่านี้เราต้องมีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ทั้งการประชุมวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ไม่มีการเบรก เป็นการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันยังรักษาความสมดุลในการใช้ชีวิตได้ด้วย

         

มีการแจกหน้ากากอนามัยเป็นจำนวนแสนอันให้พนักงานปลอดภัย มีแอลกอฮอล์เจลให้ด้วย พนักงานปรับตัวเองให้บ้านกลายเป็นออฟฟิศทำงานได้อย่างสะดวกสบาย ไม่ต้องออกนอกบ้าน ต่อไปนี้การบริหารจัดการออฟฟิศที่ใหญ่โต ให้คนทำงานมานั่งรวมๆ กันจะต้องมีการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้พื้นที่หนาแน่นในการทำงานน้อยลง ในอนาคตเราไม่อยากให้คนจำนวนมากๆ มารวมอยู่ในที่เดียวกันอีกแล้ว เพราะจากสถานการณ์โควิดได้ข้อสรุปว่า พนักงานส่วนหนึ่งทำงานที่บ้านได้ อีกส่วนหนึ่งทำงานที่ออฟฟิศ การประชุมแต่ละครั้งไม่ต้องนั่งประชุมในสถานที่เดียวกันทั้งหมด การออกแบบบริหารพื้นที่ space เน้นในเรื่อง safety การมีจุดสัมผัสตามสถานที่ต่างๆ ให้น้อยลง

         

ก่อนโควิดมีห้องที่เป็นศูนย์ดูแลเด็กเล็ก ได้รับเสียงชื่นชมจากบรรดาแม่ๆ ทั้งหลายที่เพิ่งสร้างครอบครัว มีลูกเล็ก เมื่อกลับจาก รร. เด็กๆ เล่นในห้อง play room ในขณะที่แม่ยังมีงานยุ่ง ด้วยนโยบายของ dtac ให้พนักงานลางานได้ 6 เดือนเพื่อคลอดและเลี้ยงลูกได้รับเงินเดือนเป็นบริษัทแรกในเมืองไทย ช่วยสนับสนุนให้ผู้หญิงมีเวลาอย่างมีคุณภาพในการเลี้ยงดูให้นมลูก มีสถิติพนักงานท้องกว่า 100 คน และยังมีการเชิญหมอมาให้ความรู้ในการเลี้ยงลูก และทำงานควบคู่กันไปด้วย เป็นการเลี้ยงเด็กอย่างมีคุณภาพ สร้างความเข้าใจและทำตามความต้องการของพนักงาน สร้างประสบการณ์ที่ดีและยังช่วยแก้ไขปัญหา มีการยืดหยุ่นให้พนักงาน dtac เข้าออฟฟิศ เพื่อให้ทุกคนบริหารจัดการเวลาของตัวเองได้และทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีร้านกาแฟดอยตุง เป็นการร่วมมือกันให้พนักงานดื่มกาแฟฟรีในระหว่างที่เข้ามาคุยงาน เป็นการสร้างเสริมประสบการณ์ที่ดี

         

ความซื่อสัตย์และความจริงใจเป็นหัวใจสำคัญขององค์กร ตัวบริษัทต้องมีความจริงใจกับลูกค้าและพนักงานในการสื่อสาร เมื่อมีข่าวดีข่าวร้ายต้องบอกตามตรง ขณะเดียวกันพนักงานก็ต้องมีความซื่อสัตย์ด้วย การฟีดแบ็ก องค์กรจะมีประสิทธิภาพได้ต้องสร้างความแตกต่างในเรื่องการตลาด จึงจะชนะคู่แข่งได้

         

เราต้องพัฒนาจุดแข็งให้มีประสิทธิภาพ การพัฒนาคนต้องทำให้พนักงานแต่ละคนอยากเรียนรู้ในเรื่องที่แตกต่างกันไป ทุกคนต้องตัดสินใจว่าฉันอยากจะ investment ตัวเองในเรื่องอะไร dtac พร้อมจะสนับสนุนให้พนักงานเรียนออนไลน์ปีละ 40 ชั่วโมง แต่ถ้าพนักงานจะเรียนเป็น 90 ชั่วโมงก็ไม่ได้บังคับ ให้พนักงานเขียนงานทางออนไลน์ได้ ให้เขารู้ว่าทำแล้วจะเป็นประโยชน์ต่อตัวเขาเองด้วย การเรียนรู้เป็นเรื่องที่เขาจะต้องร่วมลงทุนด้วย

         

เรื่องการทำงานแล้วมีความขัดแย้งเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้น ต้องมีการปรับความเข้าใจและพูดคุยกัน คนทำงานร่วมกันได้ด้วยงาน มีการตั้งเป้าหมายในการทำงาน แต่ถ้ามีความต่างในเรื่องการใช้ชีวิตส่วนตัวเป็นสิ่งที่กระทำได้

         

รวิศ หาญอุตสาหะ ซีอีโอบริษัท ศรีจันทร์สหโอสถ จำกัด เล่าถึงการนำผลิตภัณฑ์แป้งผงหอมมารีแบรนดิ้งสินค้าใหม่ เปลี่ยนภาพลักษณ์องค์กรที่ดีของคนรุ่นใหม่ ตั้งแต่เรื่องวิธีคิด การทำงาน เนื่องจากพนักงานมาจากหลายองค์กร ก็ต้องมีการปรับตัว ถ้าปัญหาเกิดขึ้นจากคนทำความผิดก็ต้องแก้ไขตัวบุคคล จะเห็นได้จากการทดสอบสัมภาษณ์ การเล่าเรื่อง เป็นการดูวิธีคิด เพื่อให้แนวคิดสอดคล้องต้องกันด้วย สิ่งที่สนใจคือ performance ในการสร้าง culture มีการเปรียบเทียบการทำงาน ปลานีโน่เป็นปลาที่ทำงานได้ดี ปลาทอง เป็นคน performance แย่ แต่นิสัยดี ปลาปิรันย่า performance ดี แต่นิสัยแย่ มีวิธีการวัดผลจากหัวหน้าซึ่งต้องใช้วิธีการพูดคุยตลอดเวลา แต่ดีที่สุดคือปลาโลมา

         

เมื่อรับพนักงานใหม่เข้ามาทำงาน หัวหน้างานจะพูดคุยกับเด็กใหม่เพื่อซักซ้อมให้เข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ของเขาในการทำงานในองค์กร มีการวัดผลงานอย่างไร work from anywhere แต่ละทีมจะมีการออกแบบการทำงานว่าจะเข้าออฟฟิศสัปดาห์ละกี่วัน วัดผลงานอย่างไร เป็นการวัดวิธีคิด งานอะไรที่ควรจะเข้ามาทำงานในออฟฟิศ แต่บางไอเดียคิดที่บ้าน ไม่ต้องออกมารวมหัวกันคิด สิ่งเหล่านี้ก็ต้องผ่านการสื่อสาร ขณะเดียวกันก็ต้องรู้งานของตัวเองและแผนกอื่นด้วย

         

การซักซ้อมทำความเข้าใจกับพนักงานว่าทำงานชิ้นนี้เพื่ออะไร มีการให้รางวัลกับเพื่อนร่วมงานที่ทำดี ทำให้การทำงานไม่น่าเบื่อหน่าย ปลาปิรัญย่ามีผลงานดีมากแต่มีซากปรักหักพังตลอดเส้นทาง ก็ต้องให้มีการแก้ไขปรับปรุงตัวเองใหม่ในเวลา 3 เดือน ปลาทองไม่ปรากฏผลงานชัดเจน ก็ต้องให้เวลาปรับตัวเอง 3-6 เดือน พนักงานจะได้รับเสียงฟีดแบ็กตลอดเวลา

         

การดูแลความสุข สวัสดิการให้พนักงานเป็นเรื่องต้องทำให้ดีที่สุด การสกรีนงานบางอย่างที่ทำในออฟฟิศ งานที่ค่อนข้างซ้ำซ้อนไม่มีความจำเป็นต้องทำก็ต้องเคลียร์ออกให้เร็วที่สุด ที่นี่ไม่ต้องมี record เข้าทำงานกี่โมง ไม่มีวันลา อยากไปไหนก็ได้ พักร้อน 1 เดือน ตราบใดที่บริหารจัดการงานได้ เรา Balance การทำงาน ทำอย่างไรให้การลางานค่อยๆ หายไป การบริหารจัดการงานทุกอย่างมีจุดยืน โปร่งใส ยุติธรรม ขณะเดียวกันก็ต้องไม่กลัวความล้มเหลว

         

การพูดคุยและสื่อสารกันเองของมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญ แม้วันนี้เราจะมีงานออโตเมด ทำให้งานเสร็จเร็วขึ้น แต่คนก็ต้องพูดจากันให้เยอะขึ้นด้วย การที่หัวหน้าล็อกตัวเองทำงานอยู่ในห้องแต่เพียงผู้เดียว สิ่งเหล่านี้ต้องเปลี่ยนแปลง ครึ่งวันต้องคุยกับพนักงาน เพื่อแมเนจองค์กร เทคโนโลยี การตลาด ไม่มีทางที่คนจะทำงานแข่งกับคอมพิวเตอร์ได้ แต่ทำอย่างไรให้คนทำงานอย่างมีพลังงาน CT Scan AI อ่านข้อมูลโรคมะเร็งของคนไข้เก่งกว่าคนเพราะ AI อ่านข้อมูลเป็นล้านๆ คน ในขณะที่หมอต้องพูดคุยกับคนไข้กว่าจะบอกผลการตรวจคนไข้


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"