วุฒิสภา-ภาคีเครือข่ายฯ จัดเวทีเสวนาเรื่อง “พลเมืองกัมมันตะกับตำบลเข้มแข็ง” ‘นพ.ประเวศ’ แนะสร้างพลเมืองที่ตื่นรู้เป็นวาระแห่งชาติแก้ปัญหาการเมือง-เศรษฐกิจ


เพิ่มเพื่อน    

 

พอช./ วุฒิสภา-ภาคีเครือข่ายฯ ร่วมจัดเวทีเสวนา ‘พลเมืองกัมมันตะ (Active Citizen-พลเมืองที่มีความตื่นตัวกระตือรือร้น) กับตำบลเข้มแข็ง’  โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี  ชี้แนะการสร้างพลังพลเมืองที่ตื่นรู้และกัมมันตะเป็นวาระแห่งชาติ  เป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้เศรษฐกิจดี  การเมืองดี   โดยมีเป้าหมาย 80,000 ชุมชนทั่วประเทศ   และเป้าหมายตำบล 16 ประการที่จะนำไปสู่ตำบลเข้มแข็ง  ด้าน นพ.อำพล  จินดาวัฒนะ ประธานคณะอนุกรรมาธิการศึกษาฯ วุฒิสภาจะนำผลจากเวทีเสวนาไปขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติให้เป็นไปตามเป้าหมาย “ตำบลเข้มแข็ง  มั่นคง  มั่งคั่ง  ยั่งยืน”  ต่อไป

 

วันนี้ (20 สิงหาคม) เวลา 9.00-14.00  น.  คณะกรรมาธิการการแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ  วุฒิสภา  คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม  และกิจการเด็ก  เยาวชน  สตรี  ผู้สูงอายุ   คนพิการ  และผู้ด้อยโอกาส  วุฒิสภา   สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ  สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ   และกองทุนสานพลังเพื่อสังคมสุขภาวะ    ร่วมกันจัดเวทีเสวนาเรื่อง  ‘พลเมืองกัมมันตะ (Active Citizen-พลเมืองที่มีความตื่นตัวกระตือรือร้น) กับตำบลเข้มแข็ง”  ที่ห้องประชุมสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ  ถนนนวมินทร์  เขตบางกะปิ  กรุงเทพฯ  โดยมีนายไมตรี  อินทุสุต  ประธานกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ กล่าวต้อนรับ  มีวุฒิสมาชิก  ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยว  ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ   เข้าร่วมงานประมาณ 100 คน

 

 (จากซ้ายไปขวา) นายจุติ ไกรฤกษ์  รมว.พม.  ศ.นพ. ประเวศ วะสี  และ นพ.อำพล  จินดาวัฒนะ  

 

ศ.นพ. ประเวศ วะสี  ราษฎรอาวุโส  กล่าวปาฐกถานำเรื่อง  ‘พลเมืองกัมมันตะ (Active Citizen-พลเมืองที่มีความตื่นตัวกระตือรือร้น) กับตำบลเข้มแข็ง” มีใจความว่า การประชุมคราวนี้ที่ตั้งหัวข้อ  “พลังพลเมืองกัมมันตะกับตำบลเข้มแข็ง”  ได้กลั่นกรองมาเป็นอย่างดี  ตรงนี้เป็นกุญแจแก้ความยากจน  ความเหลื่อมล้ำ  ทุกประเทศรวมทั้งประเทศไทยพยายามดิ้นรนที่อยากให้การเมืองดี  เศรษกิจดี  และศีลธรรมดี  พยายามพัฒนาแต่ไม่สำเร็จ 

 

ศ.นพ.ประเวศยกตัวอย่างว่า  การสร้างพระเจดีย์จะต้องสร้างจากฐาน   หากสร้างจากยอดจะพังลงมา  ที่ผ่านมาประเทศไทยทำจากข้างบน  หวังว่าจะทำให้ใหญ่จะได้กระเด็นลงสู่ข้างล่าง  การศึกษาจะทำจากข้างบน  และไปทำอะไรไม่เป็น  ประชาธิปไตยจะต้องสร้างจากฐาน  แต่ประชาธิปไตยสร้างจากข้างบนไม่สำเร็จ

 

“แต่มีคนจำนวนหนึ่ง  และพระเจ้าอยู่หัวจากรัชกาลที่ 9,   อาจารย์ป๋วย  อึ๊งภากรณ์ นักเศรษฐศาสตร์  ตั้งมูลนิธิขึ้นมา มีอาจารย์ไพบูลย์  วัฒนศิริธรรม  เป็นลูกศิษย์   พอช.เป็นเครื่องมือ  จนกระทั่งบัดนี้ฐานพระเจดีย์  ชุมชนท้องถิ่นมีผู้นำหลายแสนคน  ในอนาคตเพิ่มเป็นล้านคน  ตอนนี้มีหลายแสนคนแล้ว  เพราะฉะนั้นขณะนี้ฐานของประเทศแข็งแรงขึ้นมา  และที่ประเทศไทยไม่พังเพราะ cocid-19  ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสังคมเข้มแข็ง  หากมีแต่เศรษฐกิจ  แต่เศรษฐกิจทั้งโลกพังราบหมด  แต่สังคมเข้มแข็ง  ชุมชนเข้มแข็ง  และยังช่วยควบคุม  covid-19  คนไทยต้องภูมิใจตรงนี้ และพยายามทำให้ดีทุกเรื่อง”        ศ.นพ.ประเวศยกตัวอย่าง

 

ศ.นพ. ประเวศ วะสี 

 

ศ.นพ.ประเวศกล่าวด้วยว่า  การสร้างพลังพลเมืองที่ตื่นรู้และกัมมันตะเป็นวาระแห่งชาติ  เป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้เศรษฐกิจดี  การเมืองดี   โดยมีเป้าหมายประมาณ 800 อำเภอ   ตำบลประมาณ 8,000 ตำบล  ชุมชนหมู่บ้านประมาณ 80,000 ชุมชน   และมีเป้าหมายตำบล 16 ประการที่จะนำไปสู่ตำบลเข้มแข็ง  โดยทุกฝ่ายต้องสร้างเป้าหมายและวิสัยทัศน์ร่วมกันดังนี้

 

1.ทุกตำบลมีองค์กรชุมชนครบทุกชุมชน  2.ได้รับการจัดสรรทรัพยากรอย่างเป็นธรรม  (เรื่องที่ดิน ภาษีอากร)  3.มีความสามารถในการวิเคราะห์รายรับ-รายจ่าย   4.มีเป้าหมายสร้างสัมมาชีพเต็มพื้นที่  5.ผลิตอาหารเพื่อบริโภคอย่างพอเพียง  มีบ้านอยู่  มีข้าวกิน  มีครอบครัวอบอุ่น  มีครอบครัวเข้มแข็ง  พระเจ้าอยู่หัวสอนเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง  6.มีการขุดสระน้ำประจำครอบครัวที่สามารถเก็บน้ำได้ตลอดปี   เมื่อมีสระน้ำสามารถปลดหนี้  ช่วยเก็บน้ำได้ทั้งปี  ช่วยป้องกันน้ำแล้ง 

7.สามารถจัดการวิสาหกิจชุมชน  หากมีข้าวกินแล้ว มีกิจกรรมอย่างอื่นทำอีกก็จะช่วยให้หายจน  8.มีการฝึกอบรมกำลังคนของตำบลอย่างเต็มที่  หากทุกตำบล  มีวิชาช่าง ช่างซ่อม  ช่างถนน  ซ่อมรถยนต์ทุกชนิด จะหายจน  วิทยาลัยช่างมากมาย  ในอนาคตหากถนนใดต้องซ่อมแซม  ต้องให้ตำบลซ่อมแซมเอง   9.มีการจัดการโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ  มีการจัดการเรื่องถนนปลอดภัย

10.ทุกตำบลเป็นตำบลปลอดภัย  พอเป็นตำบลปลอดภัยคนจะมาท่องเที่ยว  เป็นสังคมที่คนไทยไม่ทอดทิ้งกัน  11.พัฒนาคุณภาพเด็ก  เยาวชน  และครอบครัว  ดูแลผู้สูงอายุ  คนพิการ  เด็กกำพร้าอย่างทั่วถึง  12.มีระบบสุขภาพตำบลที่ดูแลทุกคนประดุจญาติ  13.ทำศูนย์การเรียนรู้พิเศษ  ใครอยากเรียนอะไรก็มีการจัดทำ  อยากเรียนคอมพิวเตอร์ก็จัดขึ้น 14.ระบบความยุติธรรมชุมชน  15.ระบบสื่อสารชุมชน  และ 16.ทุกตำบลเป็นตำบลทำความดี   และมีธนาคารความดี  ฯลฯ

 

“ควรมีการศึกษาเรื่องพลเมืองตื่นรู้และกัมมันตะ  สื่อสารเรื่องนี้  รวมตัวร่วมคิด  ร่วมทำ  ขับเคลื่อนประเทศ  ผมเรียกว่าเป็น ‘มหาสันติวรบท’   วร คือ  ประเสริฐ   บท คือ หนทาง   คือ ‘หนทางอันประเสริฐใหญ่’  เป็นหนทางแห่งการใช้ปัญญาในการปฏิบัติทั้งหมด  เกิดปัญญาร่วม  ประดุจบรรลุนิพพาน  เพื่อสร้างประเทศไทย  ให้เป็นประเทศที่ทุกคนมีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์  ถูกต้องเป็นธรรม และงดงาม”  ศ.นพ.ประเวศกล่าวในตอนท้าย

 

นายจุติ ไกรฤกษ์  รมว.พม. 

 

นายจุติ  ไกรฤกษ์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)  กล่าวในประเด็น “กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์กับการส่งเสริมบทบาทพลเมืองในการสร้างเสริมตำบลเข้มแข็ง”  มีเนื้อหาตอนหนึ่งว่า  กระทรวง พม. ลงพื้นที่ตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา  เพื่อรับฟังปัญหาทั่วประเทศ เช่น  เรื่องการซ่อมบ้านพอเพียงที่เปลี่ยนจากโครงการบ้านมั่นคงมาเป็นบ้านพอเพียง  เงินแม้จะน้อยกว่า  แต่ใช้คนในชุมชนมาช่วยกัน  การซ่อมแซมบางพื้นที่ต้องใช้ทหารช่างจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมได้อีก  โดยกระทรวง พม.ได้ของบประมาณซ่อมบ้านพอเพียง  จำนวน 40,000 กว่าหลัง   และบ้านพอเพียงจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างแน่นอน  หากสภาพัฒน์สนับสนุนงบประมาณซ่อมบ้านพอเพียงถือเป็นปัจจัยหนึ่งในการสร้างชุมชนเข้มแข็ง

 

“สถานการณ์ Covid-19  ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงาน  ผลของ covid-19 ทำให้ทั้งโลกย้อนหลังไป 30 ปี เรื่องการต่อสู้ความยากจน  หนี้สินมีมากมหาศาล  ในชุมชนทุกคนเริ่มเป็นหนี้กันมากขึ้น  ต้องกลับมาสู่แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง  แต่ต้องแก้ไขปัญหาหนี้สิน  หากทำงานเชื่อมโยง  บูรณาการได้ จะคลี่คลายปัญหาให้หมดไป”  รมว.พม.กล่าว

 

 

นพ.อำพล  จินดาวัฒนะ ประธานคณะอนุกรรมาธิการศึกษา  เสนอแนะ การแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำด้านสังคม  วุฒิสภา  กล่าวว่า  การจัดเวทีเสวนาในวันนี้มีเป้าหมายเพื่อสานพลังหน่วยงานและองค์กรต่างๆ  ในการหนุนเสริมให้เกิดพลังพลเมือง  โดยเฉพาะการเป็นพลเมืองกัมมันตะ หรือ ‘Active  Citizen  ที่มีความตื่นตัว  กระตือรือร้น  รวมตัว  ร่วมคิด  ร่วมทำ’  และเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติให้เป็นไปตามเป้าหมาย “ตำบลเข้มแข็ง  มั่นคง  มั่งคั่ง  ยั่งยืน”  เพื่อเป็นต้นแบบในการขยายผลไปสู่ชุมชนในระดับตำบลต่างๆ ต่อไป


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"