แนวทางการปฏิรูปกฎหมาย ให้สอดคล้องกับมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย


เพิ่มเพื่อน    

ในปัจจุบันการดำเนินการปฏิรูปประเทศด้านกฎหมายได้มีพัฒนาการและความก้าวหน้าเกิดขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะประเด็นการปฏิรูปเกี่ยวกับการกำหนดกลไกให้มีการตรากฎหมายที่ดีและเท่าที่จำเป็น รวมทั้งมีกลไกในการทบทวนกฎหมายที่มีผลใช้บังคับแล้ว ให้สอดคล้องกับหลักการตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนู­ญแห่งราชอาณาจักรไทย  ในการดำเนินการดังกล่าว คณะกรรมการพัฒนากฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ในฐานะองค์กรหนึ่งของรัฐในการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านกฎหมาย ได้ดำเนินการตรวจสอบบทบั­­ัญญัติของกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน พบว่า มีกฎหมายจำนวนมากที่มีบทบัญญ­­ัติที่ไม่เหมาะสมกับกาลสมัยและไม่สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ อีกทั้งยังเป็นการสร้างภาระและต้นทุนที่ไม่จำเป็นให้เกิดแก่ประชาชน

 

ดังนั้น สมควรที่คณะรัฐมนตรีจะได้วางแนวทางในการร่างกฎหมายให้สอดคล้องกับหลักการตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนู­ญแห่งราชอาณาจักรไทย และเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการมีกฎหมายที่ดีเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชน (Better Regulation for Better Life) ตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน

 

คณะกรรมการพัฒนากฎหมายจึงได้เสนอแนวทางการร่างกฎหมายให้สอดคล้องกับมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ­แห่ง

ราชอาณาจักรไทย ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2563 เห็นชอบกับแนวทางดังกล่าว และให้หน่วยงานของรัฐถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด โดยแนวทางการร่างกฎหมายนี้มีสาระสำคั­7 ประการ ดังนี้

1. ควรกำหนดให้ชัดเจนว่าการอนุมัติ อนุญ­าต ออกใบอนุ­ญาต ใบแทน ใบอนุ­าต ให้กระทำด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์

เป็นหลัก ในกรณีที่ยังไม่สามารถดำเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้หรือระบบอิเล็กทรอนิกส์ขัดข้อง จึงให้มาติดต่อกับเจ้าหน้าที่

2. ไม่ควรกำหนดให้เป็นหน้าที่ของประชาชนที่จะต้องแจ้งข้อมูลต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ หากข้อมูลนั้นเป็นข้อมูลซึ่งอยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐ หรือเป็นข้อมูลซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐทราบอยู่แล้ว และหากจำเป็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องกำหนดเช่นนั้น ก็ไม่ควรใช้โทษอาญ­าแก่ผู้ไม่ปฏิบัติตามบทบั­­ญญัตินั้น

3. ไม่ควรกำหนดให้ผู้รับใบอนุ­ญาตซึ่งไม่ขอรับใบแทนใบอนุ­ญาตที่สู­หาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคั­ญ ต้องรับโทษอา­า เนื่องจากมิใช่ความผิดร้ายแรง

4. ไม่ควรกำหนดให้ผู้รับใบอนุ­ญาตต้องแสดงใบอนุ­าตไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานประกอบการของผู้ได้รับใบ

อนุ­ญาติ เพราะไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ และไม่ควรกำหนดโทษอา­ญาในกรณีที่มีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบท

บั­­ัญญัติดังกล่าว ตรงกันข้าม สมควรที่จะกำหนดกลไกหรือมาตรการอำนวยความสะดวกและลดภาระให้แก่ผู้ประกอบกิจการซึ่งเข้ามาอยู่ในระบบและขออนุ­ญาตอย่างถูกต้องแทน เช่น การแสดงใบอนุ­ญาตในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ทำนองเดียวกับใบอนุ­ญาตขับขี่ตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก

5. ควรใช้มาตรการซึ่งเป็นการจูงใจให้ดำเนินการ แทนมาตรการบังคับลงโทษ เพื่อมิให้กฎหมายสร้างภาระโดยไม่จำเป็นแก่ประชาชน

6. มิให้กำหนดให้การไม่อำนวยความสะดวกให้แก่เจ้าพนักงานหรือพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นความผิดอา­า เนื่องจากไม่มีขอบเขตที่ชัดเจนในการใช้ดุลพินิจ  อีกทั้งมีความผิดฐานขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอา­ญาอยู่แล้ว

7. ควรยกเลิกการใช้โทษอาญ­าในเรื่องที่เป็นเรื่องทางแพ่งโดยแท้ เช่น ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค

 

จากสาระสำคั­ญของแนวทางการร่างกฎหมายข้างต้นย่อมแสดงให้เห็นได้โดยชัดแจ้งว่า ทิศทางการปฏิรูปกฎหมายที่จะ

เกิดขึ้นในอนาคตจากนี้ต่อไป จะเป็นการปฏิรูปกฎหมายทั้งในเชิงกระบวนการตรากฎหมาย การตรวจสอบเนื้อหาของร่างกฎหมาย และการบังคับใช้กฎหมาย ทั้งนี้ เพื่อให้การปฏิรูปกฎหมายของประเทศเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนต่อไป


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"