กรมหม่อนไหมอนุรักษ์และฟื้นฟูภูมิปัญญางานหม่อนไหมชุมชนกระเหรี่ยงโปว์ บ้านสองพี่น้อง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี


เพิ่มเพื่อน    

กรมหม่อนไหมร่วมกับมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พัฒนางานพระราชดำริเชิงรุก เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์กระเหรี่ยงโปว์ เกี่ยวกับการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ทอผ้า สร้างงานสร้างอาชีพให้กับเกษตรกร ภายใต้กิจกรรมอนุรักษ์และฟื้นฟูวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์กระเหรี่ยงโปว์ ตำบลสองพี่น้อง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี

นายวสันต์ นุ้ยภิรมย์ อธิบดีกรมหม่อนไหม เปิดเผยว่าชุมชนกระเหรี่ยงโปว์เป็นชุมชนที่มีเอกลักษณ์ของการแต่งกายด้วยชุดชนเผ่าที่มีคุณค่าควรแก่การอนุรักษณ์ภูมิปัญญาโดยท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ทีขะระราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงได้น้อมนำพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงในการอนุรักษ์และฟื้นฟูภูมิปัญญาชุมชนกระเหรี่ยงโปว์ไว้ โดยชุมชนนี้พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จประพาสเยี่ยมราษฎรชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงโปว์(พล่ง, โผล่ง, โผล่ว) บ้านสองพี่น้อง ตำบลสองพี่น้อง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 3 ครั้งเมื่อวันเสาร์ที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๒ครั้งที่ ๒ เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๖  เมษายน  พ.ศ. ๒๕๑๑ และครั้งที่ ๓ เมื่อวันอังคารที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๔

กรมหม่อนไหมร่วมกับมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เข้าไปดำเนินการโครงการพัฒนางานพระราชดำริเชิงรุก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์กระเหรี่ยงโปว์ในการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ทอผ้า เป็นการสร้างงานสร้างอาชีพให้กับเกษตรกรและนักเรียนโรงเรียนบ้านสองพี่น้อง ภายใต้กิจกรรมอนุรักษ์และฟื้นฟูวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์กระเหรี่ยงโปว์ ตำบลสองพี่น้อง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี โดยดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2560 – 2563 ซึ่งเป็นการจัดกิจกรรมฝึกอบรมให้กับเกษตรกรที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์กระเหรี่ยงโปว์จำนวน 41 รายใน 7 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรเทคนิคการทอผ้าพื้นกะเหรี่ยงโปว์ หลักสูตรเทคนิคการทอจกกะเหรี่ยงโปว์ หลักสูตรการมัดหมี่ผ้ากะเหรี่ยงโปว์ หลักสูตรการปักผ้ากะเหรี่ยงโปว์ หลักสูตรการย้อมสีจากครามหลักสูตรการย้อมสีจากพืชธรรมชาติในท้องถิ่น และหลักสูตรสนับสนุนการใช้เส้นไหมทดแทนฝ้ายตามพระราชดำริในการผลิตผ้ากะเหรี่ยงโปว์ให้ได้มาตรฐานตรานกยูงพระราชทานสีเขียว และในปี พ.ศ.2563 ได้เข้าไปอบรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ นำผ้าทอกระเหรี่ยงโปว์มาแปรรูปผลิตภัณฑ์เป็นกระเป๋า เพื่อเพิ่มมูลค่า และได้นำดีไซน์เนอร์เข้าไปช่วยออกแบบชุดจากผ้าทอกระเหรี่ยงโปว์ให้มีความหลากหลายและทันสมัยด้วย

ปัจจุบันกลุ่มทอผ้ากระเหรี่ยงโปว์ สามารถผลิตผ้าตรานกยูงพระราชทานสีเขียว และนำผลิตภัณฑ์แปรรูปกระเป๋าและหมวก จำหน่ายในงานต่างๆ ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้บริโภค ทำให้กลุ่มเกษตรกรเป็นที่รู้จัก และมีรายได้เพิ่มมากขึ้น.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"