กฟผ. จับมือ มูลนิธิกฤษณา ไกรสินธุ์ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ส่งเสริมการปลูกสมุนไพรอินทรีย์ ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้และพื้นที่ใกล้เคียง


เพิ่มเพื่อน    

 

กฟผ. ร่วมกับ มูลนิธิกฤษณา ไกรสินธุ์ และคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ลงนาม MOU โครงการความร่วมมือการส่งเสริมการปลูกสมุนไพรอินทรีย์ ณ พื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ พื้นที่ใกล้เคียง และพื้นที่ชุมชนที่ กฟผ. ให้การสนับสนุนโครงการ มุ่งสร้างงานและคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับเกษตรกรและชุมชน

 

ศาสตราจารย์ ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ ประธานมูลนิธิกฤษณา ไกรสินธุ์ พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และนายพัฒนา แสงศรีโรจน์ รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) โครงการความร่วมมือการส่งเสริมการปลูกสมุนไพรอินทรีย์ ณ พื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ พื้นที่ใกล้เคียง และพื้นที่ชุมชนที่ กฟผ. ให้การสนับสนุนโครงการ ณ ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. สำนักงานกลาง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี

ศาสตราจารย์ ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ ประธานมูลนิธิกฤษณา ไกรสินธุ์ กล่าวว่า โครงการความร่วมมือการส่งเสริมการปลูกสมุนไพรอินทรีย์ฯ นี้ เกิดจากความตั้งใจและทุ่มเทเพื่อประโยชน์ของประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ ให้มีอาชีพ มีรายได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน โดยได้รับความร่วมมือจากทั้ง กฟผ. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และหน่วยงานอื่น ๆ จนทำให้สามารถดำเนินโครงการได้อย่างครบวงจร โดย กฟผ. ได้สนับสนุนและคัดเลือกชุมชนเพื่อเป็นพื้นที่แปลงปลูกนำร่องในสามจังหวัดชายแดนใต้ ได้แก่ จ.ยะลา จ.ปัตตานี และ จ.นราธิวาส โดยทีมงานได้ติดตามผลการปลูกขมิ้นชันอินทรีย์ของชุมชนอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ ปี 2562 ที่ผ่านมา ซึ่งได้ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจโดยเมื่อนำไปทดสอบสารทางยาพบว่ามีค่าที่สูงมากและได้ตามมาตรฐานสากล รวมถึง กฟผ. ยังได้สนับสนุนงบประมาณเพื่อทำการวิจัยและสนับสนุนรถยนต์สำหรับดัดแปลงเป็นรถตรวจสอบคุณภาพขมิ้นชันเคลื่อนที่คันแรกของโลก ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ อีกทั้งได้รับการสนับสนุนจากบริษัท ทิปโก้ไบโอเท็ค จำกัด ในการรับซื้อสมุนไพรจากชุมชน และบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ที่ให้รถยนต์เพื่อนำมาดัดแปลงเป็นรถแปรรูปสมุนไพรคันแรกของโลกเพื่อใช้ผลิตยาจากขมิ้นชัน นอกจากนี้ยังได้รับความร่วมมือจากโรงพยาบาลเครือข่ายในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ ได้แก่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหา จ.ยะลา โรงพยาบาลจะแนะ จ.นราธิวาส และโรงพยาบาลกะพ้อ จ.ปัตตานี รับซื้อและจำหน่ายยาสมุนไพรคุณภาพสูงจากชุมชนให้กับประชาชนในราคาย่อมเยา อีกด้วย

 

ด้าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า การดำเนินงานโครงการดังกล่าวในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ ทางมหาวิทยาลัยได้มีส่วนร่วมและสนับสนุนทางด้านวิชาการ โดยนำนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ และองค์ความรู้งานวิจัยมาช่วยสนับสนุนโครงการฯ ตั้งแต่กระบวนการปลูก การดูแลเก็บเกี่ยวผลผลิต ไปจนถึงการยกระดับเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพ โดยผ่านการศึกษาทดลองและค้นคว้าวิจัยในพื้นที่ปลูก เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อชุมชน ด้วยการเสริมสร้างแนวคิดการอยู่ร่วมกัน แบ่งปันกัน ช่วยเหลือพึ่งพากัน เพื่อเสริมความเข้มแข็งให้กับชุมชนและกลายเป็นสังคมชุมชนตัวอย่างต่อไป 

 

นายพัฒนา แสงศรีโรจน์ รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ กฟผ. กล่าวว่า กฟผ. ให้ความสำคัญกับการดูแลสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง โดยนับเป็นเวลาครบ 1 ปีแล้วที่ กฟผ. ได้ให้ความร่วมมือกับมูลนิธิกฤษณา ไกรสินธุ์ และคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนโดยนำศาสตร์พระราชามาประยุกต์ใช้กับโครงการวิจัยทางด้านสมุนไพรกับชุมชนในพื้นที่นำร่อง สามจังหวัดชายแดนใต้ดังกล่าว ซึ่งเป็นชุมชนใกล้แนวพื้นที่สายส่งของ กฟผ. เพื่อมุ่งพัฒนาสร้างอาชีพ สร้างรายได้ และสร้างการเรียนรู้ให้กับชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถต่อยอดพัฒนาสู่การพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน และสำหรับความร่วมมือฯ ในครั้งนี้ ซึ่งมีกรอบระยะเวลา 5 ปี กฟผ. คาดหวังว่าในอนาคตจะส่งเสริมเพิ่มพื้นที่ปลูกให้มากขึ้น เพราะนอกจากความสำเร็จที่เกิดขึ้นนี้จะช่วยให้ชุมชนมีรายได้ที่เพิ่มขึ้นแล้ว ยังก่อให้เกิดเครือข่ายชุมชนที่เข้มแข็ง เกิดการบูรณาการทำงานของทุกภาคส่วนโดยมีเป้าหมายร่วมกัน คือ เป็นกำลังสำคัญในการช่วยกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของประเทศไทยและสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับชุมชน


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"