ก.อุตฯ ดันตลาดสิ่งทอ-แฟชั่นไทยในชายแดนใต้สู่ตลาดต่างประเทศ


เพิ่มเพื่อน    

 

12 ก.ย. 2563  นางวรวรรณ ชิตอรุณ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของผู้ประกอบการท้องถิ่นของไทยส่วนใหญ่ เป็นการผลิตจำกัดอยู่ในระดับวิสาหกิจชุมชน ทำให้ผลิตได้ในจำนวนน้อย ผู้บริโภคยังไม่นิยมหรือตระหนักในคุณค่าของผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นมากนัก ทำให้มีตลาดจำกัดเฉพาะกลุ่ม และขาดการกระตุ้นความต้องการของตลาดในประเทศ ขณะที่ชุมชนเองก็มักผลิตสินค้ารูปแบบเดิม ขาดการพัฒนาสินค้า ทำให้สินค้าไม่มีความหลากหลายและไม่มีความโดดเด่น ทำให้ส่งผลกระทบต่อการ ประกอบกิจการของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์สิ่งทอและผู้ประกอบการในจังหวัดชายแดนใต้กว่า 500 ราย ซึ่งจากข้อมูลพบว่า 63% เป็นผู้ประกอบการที่ผลิตเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายมุสลิม ส่วนที่เหลืออีก 37% เป็นผู้ประกอบการที่ผลิตผ้าทอพื้นเมือง ผ้าบาติก ผ้ามัดย้อม เคหะสิ่งทอ และสินค้าแปรรูปจากสิ่งทอ

ทั้งนี้จึงได้มอบหมายให้ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ จัดทำโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอและแฟชั่นด้วยการออกแบบเชิงสร้างสรรค์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในพื้นที่ชายแดนใต้ขึ้น โดยวางพื้นที่เป้าหมายของโครงการในพื้นที่จังหวัด ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส มีผู้ประกอบการเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 257 คน ซึ่งผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และการตลาดเพื่อนำความคิดสร้างสรรค์ การออกแบบ ผนวกกับคุณสมบัติพิเศษของวัตถุดิบที่เป็นเป็นเอกลักษณ์ประจำถิ่น การเลือกใช้วัสดุในการออกแบบให้เหมะสมกับการใช้งาน  ตอบสนองประโยชน์การใช้งาน และมีอัตลักษณ์เฉพาะตัว อาทิ การสร้างสรรค์จากวัฒนธรรม หรือผสมผสานรูปแบบที่มีความร่วมสมัย ให้สามารถตอบสนองรูปแบบการใช้ชีวิตในยุคปัจจุบันได้ ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้า และสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบ

ทั้งนี้ ในส่วนของผลสำเร็จที่ได้จากโครงการฯ นอกจากจะเกิดการรวมกลุ่มผู้ประกอบการสิ่งทอ ที่สามารถพัฒนาและต่อยอด สร้างเป็นอาชีพที่มั่นคงได้ ยังเพิ่มโอกาสในการจ้างงานและสร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งจากข้อมูลยอดการจำหน่ายของร้านค้า และรายได้กลุ่มผู้ประกอบการสินค้าผ้าบาติก ผ้าปาเต๊ะ และสินค้าแปรรูปผลิตภัณฑ์ พบว่ามีรายได้เพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่า 20% โดยในปี 2562  ผู้ประกอบการหลังจากเข้าโครงการแล้ว และมียอดรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไม่น้อยกว่า 16,210,000 บาท และในปี 2563 มียอดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นจากเดิม 19,908,000 บาท ซึ่งถือว่าเป็นโครงการที่ยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี  ให้กับประชาชนในพื้นที่ได้อย่างยั่งยืนต่อไป


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"