คมนาคมปัดฝุ่นฟื้นแลนด์บริดจ์ชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง


เพิ่มเพื่อน    

 

14 ก.ย. 2563  แหล่งข่าวจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยถึงผลการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อมโครงการเส้นทางรถไฟชุมพร-ท่าเรือนํ้าลึกระนอง ระยะทาง 120 กิโลเมตร (กม.)ว่า ขณะนี้รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลาง วงเงิน 68 ล้านบาท เพื่อนำมาศึกษาความเหมาะของโครงการดังกล่าว คาดว่าจะใช้เวลาศึกษาประมาณ 8-12 เดือน ตอนนี้อยู่ระหว่างกระบวนการประกาศการจัดซื้อจัดจ้าง (TOR) เพื่อจ้างบริษัทมาศึกษาโครงการ โดยเตรียมประกาศ TOR ภายในสัปดาห์นี้ ในส่วนของรูปแบบการลงทุนก่อสร้างโครงการฯ เบื้องต้นจะเป็นการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP)

ทั้งนี้ จากการพิจารณาด้านกายภาพของเส้นทาง เพื่อดำเนินการก่อสร้างโครงการดังกล่าวนั้น เบื้องต้นอาจต้องมีการเจาะอุโมงค์ แต่อย่างไรก็ตาม จะต้องศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) เพื่อหามาตรการที่เหมาะสม เนื่องจากก่อนหน้านี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้เคยมีการศึกษามาแล้วในอดีต แต่ในขณะนั้นมีจุดประสงค์ เพื่อเป็นเส้นทางรถไฟเชื่อมชุมพร-ระนองเท่านั้น โดยไม่ได้เน้นเรื่องอุตสาหกรรมด้านโลจิสติกส์เข้าไปด้วย แต่เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ที่ต้องการให้ท่าเรือทั้งสองฝั่งเป็นแลนด์บริดจ์ และให้เรือมาขึ้นที่ชุมพร โดยนำเอาตู้คอนเทนเนอร์ขนส่งทางรถไฟมาที่ระนอง จากนั้นนำขึ้นเรือ ก่อนส่งออกไปยังกลุ่ม BIMSTEC ประกอบด้วย 7 ประเทศ ได้แก่ บังคลาเทศ ศรีลังกา อินเดีย ไทย เมียนมา เนปาล และภูฏาน

“เรือที่ขนส่งสินค้าจากจีน เกาหลีใต้ เวียดนาม และญี่ปุ่น จะต้องผ่านแหลมญวนแล้วไปช่องแคบมะละกา ก่อนจะไปยังอินเดีย บังคลาเทศ แอฟริกา และยุโรป หากใช้แหลมญวนเป็นตัวตั้งให้เรือตัดตรงเข้ามาจังหวัดภาคใต้ของไทยบริเวณ จังหวัดชุมพร แล้วสร้างแลนด์บริดจ์เชื่อมไปยัง จังหวัดระนอง แล้วขนส่งสินค้าออกทางทะเลอันดามัน จะลดระยะเวลาในการเดินทางได้ 2 วัน” แหล่งข่าวจาก สนข. กล่าว

แหล่งข่าวจาก สนข. ระบุอีกว่า สำหรับโครงการดังกล่าวที่ก่อนหน้านี้ที่ รฟท. ได้ทำการศึกษาไว้แล้วนั้น จะใช้งบประมาณมูลค่ากว่า 2 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ ล่าสุด คาดว่างบประมาณของโครงการจะเพิ่มขึ้น แต่ประเมินว่า เพิ่มขึ้นไม่มากนัก ในส่วนของประโยชน์ของเส้นทางรถไฟชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนองนั้น จะเชื่อมเส้นทางสายหลักโดยระบบรางมาที่จังหวัดระนอง และเพิ่มทางเลือกการเดินทางให้กับประชาชนทั้ง 2 จังหวัด ขณะเดียวกัน เมื่อมีเส้นทางรถไฟเชื่อมระหว่าง 2 ฝั่งแล้ว จะช่วยลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ได้อีกด้วย รวมถึงยังเป็นการสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมการขนส่ง สามารถจำหน่ายสินค้าระหว่าง 2 จังหวัด ลักษณะคล้ายกับท่าเรือที่ประเทศสิงคโปร์ โดยเรือขนส่งสินค้าจะเข้ามาที่ชุมพร นำคอนเทนเนอร์ขนส่งต่อมาที่ระนอง นอกจากนี้ ในฝั่งทะเลอันดามัน ยังสามารถขนส่งผ่านอ่าวไทยได้ โดยการใช้เส้นทางรถไฟของโครงการดังกล่าว นำไปสู่การเกิดอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องตามมา อาทิ นิคมอุตสาหกรรม ที่จะทำให้คนในสองพื้นที่มีรายได้ขึ้น

“คาดว่าจะมีการตัดผ่านอุโมงค์ 5-6 แห่ง บางจุดก่อสร้างเป็นสะพาน โดยพื้นที่ดังกล่าวเป็นภูเขา  การก่อสร้างก็จะไม่ทำให้ชันมาก เพื่อวิ่งให้เร็วเพื่อเชื่อมต่อท่าเรือให้ได้ การดำเนินโครงการนี้ นายศักดิ์สยาม รมว.คมนาคม ได้ย้ำชัดเจนว่า นโยบายหลักต้องคำนึงถึงคนในพื้นที่ อาทิ ในเรื่องของสุขภาพ แม้ว่าจะมีท่าเรือขนาดใหญ่ มีอุตสาหกรรมตามมา แต่ต้องผสมผสานความเป็นเอกลักษณ์เดิมของคนในพื้นที่จังหวัดระนองไว้ และต้องเน้นเรื่องสุขภาพอนามัยด้วย” แหล่งข่าวจาก สนข.กล่าว
...


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"