ส่งออกส.ค.63ฟื้นตัวเหลือติดลบ7.94%มูลค่าทะลุ2หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ


เพิ่มเพื่อน    

 

23 ก.ย.2563 น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า การส่งออกของไทยในเดือนส.ค.2563 มีมูลค่า 20,212.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 7.94% ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่น่าพอใจ ทั้งในแง่มูลค่าที่กลับมาส่งออกเกิน 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐในรอบ 5 เดือนนับจากเดือนเม.ย.2563 และการขยายตัวติดลบน้อยลง จากที่เคยลบสูงสุดถึง 23.17% ในเดือนมิ.ย.2563. ถือว่าพ้นจุดต่ำสุดแล้ว และกำลังจะเป็นขาขึ้นลักษณะเครื่องหมายถูก ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 15,863.0 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 19.68% ทำให้เกิดดุลการค้ามูลค่า 4,349.4 ล้านเหรียญสหรัฐ

สำหรับการส่งออกรวม 8 เดือนของปี 2563 มีมูลค่า 153,374.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 7.75% นำเข้ามูลค่า 134,981.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 15.31% เกินดุลกาค้ามูลค่า 18,393.6 ล้านเหรียญสหรัฐ

ทั้งนี้ ปัจจัยที่ทำให้การส่งออกฟื้นตัวดีขึ้น แม้ว่าจะยังขยายตัวติดลบอยู่ มาจากการฟื้นตัวของภาคการขนส่งและโลจิสิตกส์ที่มีความคล่องตัวมากขึ้น การค้าโลกเริ่มฟื้นตัวอย่างช้าๆ หลายประเทศมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้กำลังซื้อเพิ่มขึ้น แต่ก็เริ่มน่าเป็นห่วง เพราะมีบางประเทศเริ่มที่จะล็อกดาวน์อีก และสินค้าส่งออกสำคัญในกลุ่มเกษตรและอาหาร เช่น ข้าว ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง น้ำมันปาล์ม ทูน่ากระป๋อง เนื้อสุกร สิ่งปรุงรสอาหาร อาหารสัตว์เลี้ยง สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่บ้าน ของใช้ในบ้าน และซ่อมแซมบ้าน เช่น คอมพิวเตอร์ เฟอร์นิเจอร์ ตู้เย็นและตู้แช่แข็ง เครื่องซักผ้า และโซลาร์เซลล์ และสินค้าป้องกันการติดเชื้อ เช่น ถุงมือยาง ส่งออกได้ดีขึ้นตั้งแต่โควิด-19 ระบาด และยังดีจนถึงปัจจุบัน

ส่วนรายละเอียดการส่งออก พบว่า สินค้าอุตสาหกรรมยังคงหดตัว 6.2% โดยอัญมณีและเครื่องประดับ ลด 55.6% สินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ลด 15.7% รถยนต์และส่วนประกอบ ลด 28.7% เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์และส่วนประกอบ ลด 18.3% แต่ถุงมือยาง เพิ่ม 125.9% เครื่องซักผ้าและส่วนประกอบ เพิ่ม 31.3% เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เพิ่ม 35.8% และทองคำ เพิ่ม 71.5%

ขณะที่สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ลด 13.2% โดยน้ำตาลทราย ลด 64.2% ผักผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ลด 28.7% ข้าว ลด 15% แต่น้ำมันปาล์ม เพิ่ม 599.6% สุกรสดแช่เย็นแช่แข็ง เพิ่ม 962.1% อาหารสัตว์เลี้ยง เพิ่ม 22.3% ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เพิ่ม 15.6%

ทางด้านตลาดส่งออก พบว่า หลายๆ ตลาดการส่งออกติดลบน้อยลง บางตลาดเริ่มเป็นเทรนด์ขาขึ้น แต่หางถูกยาว บางตลาดเริ่มเป็นแนวราบ โดยมีรายละเอียดดังนี้ ตลาดหลักลดลง 4.1% โดยสหรัฐฯ ฟื้นตัวดีขึ้นต่อเนื่อง เพิ่มขึ้น 15.2% แต่ญี่ปุ่น ลด 16.6% สหภาพยุโรป 15 ประเทศ ลด 16.9% ตลาดศักยภาพสูง ลด 10.2% เช่น อาเซียน 5 ประเทศ ลด 16.5% CLMV ลด 9.3% อินเดีย ลด 18.8% จีน ลด 4% ตลาดศักยภาพระดับรอง ลด 24.3% เช่น ทวีปออสเตรเลีย ลด 22.5% ตะวันออกกลาง ลด 30.3% ลาตินอเมริกา ลด 34.7% รัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS ลด 43.4% ทวีปแอฟริกา ลด 9.6%

น.ส.พิมพ์ชนกกล่าวว่า  แนวโน้มการส่งออกคาดว่าจะดีขึ้นต่อเนื่อง แม้จะยังมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 และมีข่าวความสำเร็จของการผลิตวัคซีน-19 ในหลายประเทศ ทำให้บรรยากาศการค้ากลับมาคึกคัก แต่ก็ต้องระวังเรื่องการระบาดซ้ำ และบางประเทศเริ่มกลับมาล็อกดาวน์ รวมถึงสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ยังไม่ฟื้นตัว ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐฯ กับจีน ที่จะเป็นตัวกดดันการค้าโลก

“ถ้าไทยยังคงรักษาระดับการส่งออกแต่ละเดือนได้ 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐขึ้นไป ทั้งปีการส่งออก จะไม่ติดลบในระดับ 2 หลักอย่างที่หลายๆ ฝ่ายได้ประเมินเอาไว้ น่าจะติดลบ 5% ถึงลบ 8% โดยการส่งออกลบ 5% ต้องส่งออกให้ได้เดือนละ 20,145 ล้านเหรียญสหรัฐ และลบ 8% ต้องส่งออกให้ได้เดือนละ 18,298 ล้านเหรียญสหรัฐ”น.ส.พิมพ์ชนกกล่าว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"