การแบ่งขั้วทางความคิด กับยกเครื่องระบบราชการ


เพิ่มเพื่อน    

      ประเด็นสำคัญๆ ว่าด้วยปัญหาของประเทศวันนี้และเรื่องที่ควรจะต้องวิเคราะห์เพื่อหาทางออกที่  ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประธาน TDRI พูดในวันประชุมวิชาการประจำปีของสถาบันวิจัยแห่งนี้เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาคือ

            "การแบ่งขั้วทางความคิด" ของสังคมไทย

            ซึ่งผมเห็นว่าเป็นการชี้ชัดถึงอุปสรรคแห่งการสร้างชาติสร้างประเทศในขณะนี้ที่น่าสนใจมาก

            แนวทางวิเคราะห์เรื่องนี้ของ ดร.ประสารน่าสนใจ

            บางตอนของข้อคิดของท่านบอกว่า

            การแบ่งขั้วทางความคิดในสังคมชัดเจนขึ้น

            ส่วนหนึ่งมาจากความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจที่มากขึ้น และเป็นลักษณะร่วมของประชาคมโลกขณะนี้ World Inequality Report ปี ค.ศ.2018 ชี้ว่านับตั้งแต่ปี ค.ศ.1980 เป็นต้นมา ปัญหาความเหลื่อมล้ำของโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพียงแต่ระดับการเร่งตัวของปัญหาในแต่ละประเทศต่างกัน การแบ่งขั้วในสังคม (Polarization) จึงชัดเจนมากขึ้น

            ไม่ว่าระหว่างขั้วการเมืองที่ต่างกัน ขวา-ซ้าย

            กลุ่มอนุรักษนิยม-กลุ่มสมัยใหม่ก้าวหน้า

            และเกิดช่องว่างความเข้าใจของคนระหว่าง generation มากขึ้น

            นั่นหมายความว่า บ้านที่เราเคยออกแบบไว้ให้พวกเราได้อยู่ร่วมกัน แต่ความคิดและทัศนคติของคนที่อาศัยอยู่ในบ้านที่จะเป็นคนกลุ่มใหญ่ในอนาคตกลับไม่เหมือนเดิม

            เราจะทำอย่างไร

            อีกด้านหนึ่งคือการปรับบทบาทของรัฐ-ระบบราชการไทยเพื่อตอบโจทย์ความท้าทายข้างหน้า

            หลายท่านในที่นี้คงได้อ่านหนังสือเรื่อง "Why Nations Fail" ของ Daron Acemoglu และ James  Robinson ที่ผนวกองค์ความรู้ด้านเศรษฐกิจและการเมืองเพื่อตอบคำถามว่า

            ทำไมบางประเทศถึงเจริญ ในขณะที่บางประเทศล้มเหลว ข้อสรุปสำคัญคือ ประเทศจะประสบความสำเร็จในการพัฒนาเพียงใดขึ้นกับคุณภาพของ "สถาบันทางการเมืองและเศรษฐกิจ"

            หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ "รัฐ-ระบบราชการ" และ "กลไกตลาด" ได้รับใช้หรือดูแลประชาชนส่วนใหญ่เพียงใด

            และที่สำคัญ การพัฒนาจะยั่งยืนเพียงใดขึ้นกับว่า ระบบสถาบันทั้งสองด้านเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมแค่ไหน (Inclusive Institution)

            ดร.ประสารให้ความสำคัญกับหัวข้อ "รัฐและระบบราชการ" โดยเน้นไปที่เป้าหมาย 5 มิติคือ

            (1) ประสิทธิภาพและความยั่งยืน

            (2) ความโปร่งใส

            (3) ความทั่วถึงและเป็นธรรม

            (4) การร่วมมือกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

            และ (5) การสร้างแรงจูงใจให้ข้าราชการอย่างเหมาะสม

            ระบบราชการไทยมีการปฏิรูปกันอย่างไรบ้าง

            1.การปฏิรูปกฎหมายและกฎระเบียบ ภาครัฐควรปรับบทบาทจาก "ผู้ควบคุม" มาเป็น "ผู้สนับสนุน"  โดยปรับกฎ กติกา ระเบียบต่างๆ ให้ "เอื้อ" ต่อการทำงานของระบบเศรษฐกิจ เพราะการ "ควบคุม" ที่มากเกินไปจะเหนี่ยวรั้งศักยภาพของภาคเอกชนและสร้างต้นทุนให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง

            TDRI พยายามชี้ให้ภาครัฐและสาธารณชนเห็นว่า ประเทศไทยมีกฎหมายและกฎระเบียบรวมกว่า  1 แสนฉบับ ใบอนุญาตอีกกว่า 1,500 ประเภท ก่อให้เกิดต้นทุนประมาณร้อยละ 10-20 ของ GDP

            หลายฝ่ายพยายามเร่งแก้ปัญหานี้อยู่

            แต่ไม่นานมานี้ กลับพบอาการที่สะท้อนว่า ความรุนแรงของปัญหานี้อยู่ในระดับน่ากังวล

            กล่าวคือ ในข้อเสนอของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านต่างๆ 13 คณะ พบว่ามีข้อเสนอเพื่อขอจัดตั้งองค์กรใหม่นอกระบบราชการมากกว่า 200 องค์กร

            ซึ่งมุมหนึ่งสะท้อนว่า กฎระเบียบต่างๆ ไม่เพียงสร้างต้นทุนให้ภาคเอกชน แต่ยังทำให้นักปฏิรูปเริ่มเกิดอาการ "ทนไม่ไหว" แล้ว เพราะกฎระเบียบที่มากเกินไป ทำให้ Speed ในการแก้ไขปัญหายังไม่เร็วพอและยากที่จะรับมือกับ Shocks ต่างๆ ได้ทันท่วงที

            ขณะที่ เครื่องชี้ของ World Bank เรื่องอันดับความยากง่ายในการดำเนินธุรกิจ หรือ Ease of Doing  Business ของไทย ที่เคยตกไปอยู่อันดับที่ 46 หลายปีที่ผ่านมา ผู้เกี่ยวข้องพยายามเร่งแก้ไขปัญหาและมีพัฒนาการดีขึ้นเป็นลำดับ จนปีนี้อยู่ในอันดับที่ 21 จาก 190 ประเทศ

            แต่เมื่อพิจารณาลึกลงไปในองค์ประกอบเครื่องชี้ สิ่งที่ทำให้ผมสะดุดใจที่สุดคือ เครื่องชี้ด้านการจ่ายภาษี (Paying Taxes) กลับเป็นเครื่องชี้ที่แย่สุดอยู่ในอันดับที่ 68

            ทั้งที่กรมสรรพากรทำให้ทุกคนจ่ายภาษีด้วยระบบ Online ได้ สำหรับผมถือว่าดี และหลายท่านในที่นี้คงพอใจ

            นี่เป็นเพียงบางส่วนของบทวิเคราะห์ทิศทางที่ประเทศไทยจะต้องมุ่งมองเพื่อหาทางเอาสังคมออกจาก "กับดักทุกๆ ด้าน" ให้ได้.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"