ชาวชิลีลงมติท่วมท้น หนุนการร่างรธน.ใหม่แทนฉบับเผด็จการ


เพิ่มเพื่อน    

ชาวชิลีลงประชามติเมื่อวันอาทิตย์ เห็นด้วยอย่างท่วมท้นกับการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แทนที่ฉบับเก่าที่ใช้มาตั้งแต่รัฐบาลเผด็จการของนายพลออกุสโต ปิโนเชต์

ชาวชิลีออกมาฉลองที่กรุงซันติอาโกเมื่อวันอาทิตย์ภายหลังผลประชามติสนับสนุนให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

    ผลการลงประชามติของชิลีเรื่องเห็นด้วยกับการร่างรัฐธรรมนูญใหม่หรือไม่เมื่อวันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม 2563  หลังจากนับผู้คะแนนไปแล้วกว่า 99% มีผู้เห็นด้วยกับการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ถึง 78.28% และไม่เห็นด้วย 21.72% คณะกรรมการการเลือกตั้งชิลีเผยว่า มีผู้มาใช้สิทธิ์ลงประชามติเกือบ 7.5 ล้านคน เป็นจำนวนการออกมาใช้สิทธิ์มากที่สุดนับตั้งแต่การเลือกตั้งในปี 2532 ที่ยุติบทบาทของทหารในการเมืองชิลี

    หล้งทราบผลการลงประชามติที่เสียงส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แทนรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ที่ใช้มาตั้งแต่สมัยรัฐบาลเผด็จการภายใต้การนำของนายพลออกุสโต ปิโนเชต์ ที่ปกครองประเทศยาวนานระหว่างปี 2516-2533 ทำให้ประชาชนออกมาฉลองกันอย่างเต็มที่เมื่อคืนวันอาทิตย์ในกรุงซันติอาโกและอีกหลายเมือง

    เดิมนั้นการลงประชามติกำหนดจัดในเดือนเมษายน แต่เลื่อนมาเป็นวันที่ 25 ตุลาคม เนื่องจากการระบาดของโรคโควิด-19 อย่างรุนแรงในชิลี ถึงวันเสาร์ที่ผ่านมามีผู้ป่วยโรคนี้สะสมมากกว่า 500,000 ราย และเสียชีวิตจากโรคนี้ไปแล้วเกือบ 14,000 คน

    การลงประชามติเมื่อวันอาทิตย์ ถามชาวชิลี 2 คำถาม คือ 1.ต้องการรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ และคำถามที่ 2 ถามว่า ต้องการให้สภาร่างรัฐธรรมนูญมาจากการเลือกตั้ง 100% หรือไม่ หรือให้ 50% ของสภาร่างรัฐธรรมนูญมาจากสมาชิกรัฐสภา ซึ่งผลการลงประชามติ 79% ระบุให้สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญมาจากการเลือกตั้ง 100%

    ขั้นตอนต่อไป ชาวชิลีจะต้องมาเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ 155 คน ในวันที่ 11 เมษายน 2564 โดยกำหนดร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จภายในเวลา 9 เดือน แต่ถ้าร่างไม่เสร็จให้ขยายเวลาได้ 1 ครั้ง เป็นเวลา 3 เดือน จากนั้นจะให้ชาวชิลีลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในปี 2565

    ประธานาธิบดีเซบัสเตียน ปิญเญรา ของชิลี กล่าวเรียกร้องภายหลังทราบผลการลงประชามติ ขอให้ทั้งชาติทำงานร่วมกันเพื่อรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ การลงประชามติครั้งนี้ไม่ใช่การสิ้นสุด แต่เป็นการเริ่มต้นของหนทางที่เราต้องเดินไปด้วยกันเพื่อให้มีรัฐธรรมนูญฉบับของชิลี ที่ผ่านมารัฐธรรมนูญทำให้เราแตกแยกกัน แต่จากวันนี้เราทุกคนต้องทำงานร่วมกัน เพื่อให้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่เป็นโครงร่างของเอกภาพ, เสถียรภาพและอนาคตของประเทศ

    ด้าน มาร์เซลโล เมยา อาจารย์รัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยซันติอาโก เห็นว่า ผลการลงประชามติที่ออกมาเหมือนเป็นการตบหน้านักการเมือง เนื่องจากประชาชนไม่ต้องการให้พรรคการเมืองเข้ามาเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ

    เสียงเรียกร้องให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในชิลีเกิดขึ้นเมื่อ 1 ปีที่ผ่านมา เริ่มจากการชุมนุมประท้วงการขึ้นค่าโดยสารขนส่งสาธารณะ จากนั้นขยายเป็นการประท้วงความไม่เท่าเทียมทางสังคมและเศรษฐกิจ รวมถึงปัญหาด้านสาธารณสุข, การศึกษา, ที่อยู่อาศัยและเงินบำนาญ ที่มีผลจากการปกครองในสมัยของรัฐบาลปิเนโชต์ ฝ่ายสนับสนุนให้มีรัฐธรรมนูญใหม่เห็นว่ารัฐธรรมนูญที่มีอยู่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิรูปทางสังคม แต่ฝ่ายอนุรักษนิยมเห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันทำให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตและสร้างเสถียรภาพ.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"