5 โจทย์ใหญ่ของแบงก์ชาติ ในภาวะวิกฤติโควิด-19


เพิ่มเพื่อน    

    เมื่อวานได้เขียนถึงคำแถลงของ ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนใหม่ ที่ได้วิเคราะห์ทางแก้วิกฤติเศรษฐกิจอันเกิดจากโควิด-19
    บทบาทของแบงก์ชาติอยู่ตรงไหน
    คุณเศรษฐพุฒิบอกว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยอยู่ในระดับต่ำสุดในภูมิภาค และต่ำสุดเป็นประวัติการณ์แล้ว ส่งผลให้ความสามารถในการลดอัตราดอกเบี้ยมีจำกัด 
    ดังนั้น นโยบายการคลังจะต้องมีบทบาทเป็นพระเอก ขณะที่นโยบายการเงินจะต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
    "สิ่งที่กังวลและต้องทำให้มั่นใจ โจทย์ของเราคือว่า จะทำอย่างไรให้เรื่องการเงิน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องดอกเบี้ย เรื่องสภาพคล่องโดยรวม เรื่องสภาวะตลาดเงินโดยรวม ไม่เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ เพราะถ้าจะให้การเงินเป็นตัวขับเคลื่อน เป็นตัวไดร์ฟ (เศรษฐกิจ) ในความเป็นจริงเป็นไปไม่ได้ เพราะปัญหาของเราคือ การช็อก เอาง่ายๆ เลยการท่องเที่ยวเราหายไป 30 กว่าล้านคน นั่นคือดีมานด์หรืออุปสงค์ที่หายไปของประเทศไทย"
    ดังนั้น การจะให้ฝั่งนโยบายการเงินออกดีมานด์มาทดแทน คงไม่ใช่ 
    แต่ต้องอาศัยเครื่องมืออื่นๆ เช่น นโยบายการคลัง 
    แต่ฝั่งของนโยบายการเงินต้องเป็นตัวที่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวอะไรต่างๆ 
    "สำหรับผม หากเทียบกับทีมบอล นโยบายการเงินโดยธรรมชาติของมันนั้นไม่ใช่กองหน้า แต่เป็นกองหลัง ซึ่งกองหลังสำคัญมาก แต่มีข้อกำจัด เหมือนกับทีมบอลถ้ากองหลังไม่แข็ง เตะเก่งอย่างไรก็แพ้  เราต้องทำให้มั่นใจว่าเสถียรภาพมีครบ" คุณเศรษฐพุฒิบอก
    "เรื่องอัตราแลกเปลี่ยนในแง่ของภาพรวม บางอย่างเรา Influence (มีอิทธิพล) ได้ บางอย่างเราก็ Influence ไม่ได้ ดังนั้นการออกข้อนโยบายต่างๆ เราชั่งน้ำหนัก และเรื่องค่าเงิน fact (ข้อเท็จจริง) คือ การเคลื่อนไหวของค่าเงิน หลักๆ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเรา แต่ขึ้นอยู่กับเรื่องต่างประเทศ โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของเงินสกุลหลัก คือดอลลาร์สหรัฐฯ และการเคลื่อนไหวของเงินในภูมิภาค แล้วถึงจะมาขึ้นอยู่กับเรา"


    ห้าปีที่ผ่านมา ประมาณ 85% ของการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท มีเงินดอลลาร์สหรัฐฯ และค่าเงินในภูมิภาค มีแค่ 15% เป็นปัจจัยที่เกี่ยวกับไทย
    "ตรงนี้ก็สะท้อนว่าความสามารถของเราที่จะไป Influence มันมีจำกัด แต่ส่วนที่กระทบเราและต้องขึ้นอยู่กับเรา คือเราเป็นประเทศที่เกินดุลการค้ามหาศาลมานานมากแล้ว เราเกินดุล 30 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นหรืออ่อนน้อยกว่าชาวบ้านในสภาวะต่างๆ"
    การชุมนุมทางการเมืองมีผลหรือไม่
    คุณเศรษฐพุฒิบอกว่าเป็นเรื่องที่ ธปท.ติดตามอย่างใกล้ชิด
    ผลจะเป็นอย่างไรก็ต้องติดตามว่าจะลากยาวหรือไม่ 
    และแน่นอนว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่น การบริโภค การลงทุน และการท่องเที่ยว รวมถึงกระทบต่อการจัดการ 
    แต่หากเทียบกับประเทศอื่นๆ แล้ว ไทยมีความสามารถในการรับมือกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่มากระทบได้
    "บ้านเราชอบพูดเรื่องนโยบายเยอะ พูดเรื่องมาตรการเยอะ แต่โจทย์ที่เราเจอบ่อยๆ คือเรื่องการจัดการ เพราะเมื่อมีเหตุการณ์สไตล์นี้ พบว่าจะกระทบความสามารถในการจัดการ และด้วยความไม่แน่นอนต่างๆ เหล่านี้ สิ่งที่เราอาจใช้เป็นที่พึ่งทางใจได้ก็คือ ความสามารถของเราในการรับมือช็อกต่างๆ เมื่อเทียบกับที่อื่น ของเรามีสูง ไม่ว่ามิติเสถียรภาพต่างประเทศ มิติการเงินต่างๆ แต่เราก็ต้องติดตามใกล้ชิด" คุณเศรษฐพุฒิบอก
    ธปท.มองว่ามี 5 โจทย์ใหญ่ที่จะต้องดำเนินการในช่วงเวลาต่อจากนี้ ได้แก่ 
    1.แก้วิกฤติหนี้อย่างยั่งยืน เพื่อให้ภาคครัวเรือนและธุรกิจผ่านพ้นวิกฤติโควิด-19 และฟื้นตัวได้ 
    2.รักษาเสถียรภาพระบบการเงิน เพื่อทำหน้าที่สนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ 
    3.รักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจมหภาค ให้โครงสร้างเศรษฐกิจการเงินไทยสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงภายใต้สถานการณ์โควิด-19 และระยะต่อไปได้ดี
    4.สร้างความเชื่อมั่นของสาธารณชน ให้ ธปท.เป็นหนึ่งในองค์กรที่ประชาชนเชื่อมั่นที่สุด 
    และ 5.พัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงาน ให้ ธปท.เป็นองค์กรที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ และสร้างความยั่งยืนให้เศรษฐกิจและสังคมไทย
    เห็นภาพอย่างนี้แล้ว งานใหม่นี้น่าจะเป็นภารกิจท้าทายที่สุดในชีวิตของ ดร.เศรษฐพุฒิค่อนข้างจะแน่นอน.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"