ถ้าไบเดนชนะทรัมป์ เอเชียคาดหวังอะไร?


เพิ่มเพื่อน    

          ถ้า "โจ ไบเดน" ชนะเลือกตั้ง นโยบายสหรัฐฯ ต่อเอเชียจะเป็นอย่างไร

            เป็นคำถามที่คนไทยควรจะต้องประเมินอย่างรอบด้าน ขณะที่จะมีการหย่อนบัตรเลือกตั้งที่สหรัฐฯ ในอีกเพียง 5 วัน

            "โดนัลด์ ทรัมป์" เปิดศึกกับจีนและดำเนินนโยบายต่อต้านจีนอย่างเปิดเผย

            ทรัมป์ฟาดฟันกับจีนเรื่องการค้า, ทะเลจีนใต้ และไต้หวัน

            ทรัมป์สร้างความตึงเครียดในความสัมพันธ์กับพันธมิตรเก่าในเอเชีย ด้วยการขู่ว่าจะลดจำนวนทหารอเมริกันในญี่ปุ่นและเกาหลีใต้

            ทรัมป์เปิดสายตรงกับคิม จองอึนแห่งเกาหลีเหนือโดยไม่ปรึกษาหารือกับใครในเอเชีย

            ถามว่าถ้าไบเดนเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนใหม่ เขาจะมีจุดยืนกับจีนและเอเชียอย่างไร

            เริ่มต้น อย่าได้คิดว่าจุดยืนของไบเดนต่อจีนจะ "ผ่อนเบา" ไปกว่าทรัมป์

            เพราะโดยเนื้อหาแห่งนโยบายแล้ว ไม่ว่าผู้นำที่วอชิงตันจะเป็นรีพับลิกันหรือเดโมแครต มหาอำนาจหมายเลขหนึ่งอย่างสหรัฐฯ จะต้องพยายามสกัดการเติบใหญ่ของจีนทุกวิถีทาง

            ระหว่างการหาเสียง ไบเดนก็วิจารณ์จีนอย่างดุเดือดเช่นกัน ในบางจังหวะยังเรียกจีนว่าเป็น "โจร"  ที่ขโมยทรัพย์สินทางปัญญา และพยายามจะกดดันประเทศต่างๆ ในโลกให้ต้องพึ่งพาปักกิ่งให้มากขึ้นด้วยซ้ำไป

            ในคำแถลงนโยบาย ไบเดนยืนยันว่าถ้าเขาชนะเลือกตั้ง เขาจะต้องทำทุกอย่างเพื่อจะต้องเป็นผู้ชนะในการแข่งขันระดับโลกกับจีน

            เป็นการบ่งบอกชัดเจนว่าสหรัฐฯ จะไม่ยอมให้จีนแซงหน้าเป็นเบอร์หนึ่งของโลกเป็นอันขาด

            ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ, การเมือง หรือความมั่นคง

            ไบเดนบอกว่าในช่วงระหว่าง 1991-2016 นั้น รัฐบาลจีนได้เพิ่มงบประมาณการวิจัยและพัฒนา  (R&D) เกือบ 30 เท่า อันเป็นสาเหตุที่ทำให้จีนสามารถก้าวขึ้นมาอย่างโดดเด่นในด้านเทคโนโลยี

            เขาบอกว่าหากเป็นประธานาธิบดี เขาจะทุ่มเทงบประมาณด้านการวิจัยและพัฒนาอย่างจริงจัง

            ไบเดนเสนองบประมาณ 300,000 ล้านเหรียญในการที่จะส่งเสริม R&D ในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น  AI, รถไฟฟ้า, 5G ที่วันนี้ดูเหมือนจีนจะล้ำหน้าสหรัฐฯ ไปในหลายๆ ด้านด้วยซ้ำไป

            แต่พอนักข่าวถามว่าเขาจะยังเดินหน้าหรือยกเลิกมาตรการของทรัมป์ในการเพิ่มภาษี, คว่ำบาตรและสกัดกั้นกิจกรรมทางการค้าและเทคโนโลยีต่อจีนหรือไม่ ไบเดนก็ดูเหมือนจะบ่ายเบี่ยง ไม่ตอบตรง ๆ

            เพราะไบเดนรู้ว่าผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งอเมริกันจำนวนไม่น้อยยังเห็นว่า จุดยืนแข็งกร้าวของทรัมป์ต่อจีนนั้นเป็นการตอกย้ำถึงความ "เด็ดเดี่ยว" ของผู้นำสหรัฐฯ ที่กล้าจะท้าทายจีน

            ไบเดนไม่ต้องการเสียฐานเสียงนั้น

            เพราะรู้ว่าหากเขาแสดงท่าทีที่ถูกมองว่า "ยอมอ่อนข้อ" ต่อปักกิ่ง ก็จะทำให้ทรัมป์มีความได้เปรียบต่อคนอเมริกันจำนวนไม่น้อยที่มองจีนด้วยความระแวงคลางแคลง

            แต่ไบเดนจะกร้าวกับจีนจนกระทบธุรกิจอเมริกันจำนวนไม่น้อยก็ไม่ได้เช่นกัน

            เพราะภายใต้แนวทางกร้าวของทรัมป์ต่อจีนนั้น ธุรกิจจำนวนไม่น้อยก็ตกอยู่ในภาวะที่อึดอัด เพราะจีนเป็นตลาดใหญ่สำหรับการส่งออกและฐานการผลิตของบริษัทอเมริกัน

            การที่ทรัมป์เปิด "สงครามเย็นรอบใหม่" กับจีน ทำให้สหรัฐฯ เสียเปรียบหลายประเทศที่ไม่มีปัญหากับจีน

            ด้วยเหตุผลนี้ไบเดนจึงไม่ออกมาซัดจีนแรงเกินไป แต่ขณะเดียวกันก็แสดงท่าทีที่พร้อมจะเผชิญหน้ากับจีนในหลายๆ เรื่องที่เห็นว่าจะรักษาสถานภาพความเป็น "พี่ใหญ่" ในเอเชีย

            ที่ค่อนข้างจะแน่นอน และมีผลต่อการวางยุทธศาสตร์ของไทยต่อสหรัฐฯ และจีนก็คือ ความคาดหวังที่ว่าหากไบเดนเป็นผู้นำสหรัฐฯ เขาจะกลับมาสนใจการกลับมาร่วม CPTPP อันเป็นกลุ่มเขตการค้าเสรีที่อดีตประธานาธิบดีบารัก โอบามาได้ริเริ่มเอาไว้ในนามของ TPP

            อีกทั้งไบเดนก็จะให้ความสำคัญในการสร้างความใกล้ชิดกับอาเซียน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้ และอินเดีย

            แม้รูปแบบและเนื้อหาของความสัมพันธ์นี้จะมีความแตกต่างไปจากยุคของทรัมป์ก็ตาม.

            พรุ่งนี้: จีนอยากได้ทรัมป์หรือไบเดน?


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"